โดย...นิมิตร์ เทียนอุดม
เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 31 ม.ค. 58 ผมนั่งดูรายการ “สามัญชนคนไทย” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่มี คุณมาโนช พุฒตาล เป็นคนเดินเรื่อง รายการคืนนั้นชวนให้คนดูคิดว่า ถ้าเราแต่ละคนมีอายุถึงวัยที่ต้องเกษียณ ต้องออกจากงาน คำถามใหญ่ๆ คือ จะอยู่อย่างไร จะมีกิน มีใช้ไหม และ จะเอาเงินจากไหนมาเลี้ยงดูตัวเอง จากนั้นก็ไปตามสัมภาษณ์ ผู้คนต่างๆ พบว่า คนส่วนใหญ่ชีวิตการงานในปัจจุบัน เงินที่หามาได้ เกือบจะไม่พอใช้จ่าย ที่จะเหลือหรือคิดจะแบ่งเก็บสะสมเพื่อดูแลตนเองในยามสูงวัยเป็นสิ่งที่ทำ “ไม่ได้” แล้วสังคมไทยจะทำอย่างไร กับสถานการณ์ที่ผู้คนมีอายุยืนขึ้น มีคนสูงอายุมากขึ้นทุกปี จนเกิน 10% ของจำนวนประชากรแล้ว
เสียงส่วนใหญ่ของนักการเมือง นักวิชาการ และ “คนดีๆ” ? อีกหลายคนที่เข้าไปเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รวมถึงเสียงส่วนใหญ่ ในคณะร่างรัฐธรรมนูญ มีทัศนะว่าประชาชนต้องช่วยตัวเอง ต้องบริหารชีวิตของแต่ละคนให้ได้ ต้องพยายามวางแผนเก็บออม ผมฟังแล้วคิดว่าพวกเขาน่าจะเป็นคนที่มีประสบการณ์และมีความสามารถในการเก็บออมกันมาอย่างดี เพราะหลายๆ คนเป็นข้าราชการ บางคนเป็นผู้ประกอบการอิสระ แต่เมื่อต้องเปิดเผยทรัพย์สิน พวกเขาเหล่านั้นล้วนเป็นคนมีอันจะเหลือกินเหลือใช้มากมายแบบที่ไม่น่าเชื่อกับรายได้และเงินเดือนที่ได้รับ พวกเขาเหล่านั้นจึงมองเรื่องนี้ว่า รัฐไม่ควรต้องทำอะไรในเรื่องของการจัดสวัสดิการหลักประกันด้านรายได้ ให้กับประชาชนที่มีอายุเกิน 60 ปี ถ้าต้องระบุให้รัฐต้องจัดสวัสดิการด้านรายได้นี้ ไว้จะเป็นภาระด้านงบประมาณจำนวนมาก
ในขณะที่ นักวิชาการภาคประชาชน ได้แสดงตัวเลขว่า ปัจจุบันรัฐได้ใช้จ่ายเงินเป็นเบี้ยยังชีพ จำนวน 40,000 ล้านบาทอยู่แล้ว และถ้ารัฐมีระบบการจัดสรรเงินที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบภาษีเพิ่มเติม ในเรื่องของภาษีที่ดิน ภาษีมรดก รัฐบาลจะมีความสามารถที่จะสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
โจทย์ข้อนี้ผมคิดว่า กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สนช. สปช. ต้องเริ่มจากฐานวิธีคิดที่เห็นหัวประชาชน และมองว่าสิ่งนี้เป็นสิทธิของคนทุกคนที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมเมื่อสูงวัย แล้วจึงค่อยคิดว่าจะทำอย่างไร จะบริหารจัดการกับงบประมาณแผ่นดิน ที่ได้มาจากหยาดเหงื่อ แรงงานของพวกเขา ในยามที่เขาทำงานได้ ถ้ามัวแต่มองว่าเรื่องนี้จะเป็นภาระของรัฐในระยะยาว ผมเสนอว่าพวกท่านลาออกเถอะครับ เพราะการปฏิวัติ ยึดอำนาจแล้วบอกว่าจะปฏิรูป กลับไม่ทำใน สิ่งที่สำคัญขนาดนี้ แล้วจะอยู่ต่อไปทำไม สู้จัดการจัดเลือกตั้ง แล้วให้ประชาชนนำเสนอเรื่องนี้กับพรรคการเมืองและให้ประชาชนตัดสินใจกำหนดชีวิตเรื่องนี้ด้วยการเลือกตั้งจะดีกว่า ยังพอมีเวลาทบทวนและเอาเรื่องนี้เข้าไปใส่ไว้ใน หมวดสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ครับท่านกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทุกท่าน อย่าให้เสียคำพูดที่รัฐบาลกล่าวไว้และใส่เสียงเพลงให้เราได้ยินกันทุกวันว่า “ขอคืนความสุขให้เธอ...ประชาชนชน” เพราะผู้สูงวัยก็คือประชาชน และเป็นประชาชนที่มีคุณค่าที่ได้สร้างรากฐานทางเศรษฐกิจจนไทยอยู่ได้มาถึงทุกวันนี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 31 ม.ค. 58 ผมนั่งดูรายการ “สามัญชนคนไทย” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่มี คุณมาโนช พุฒตาล เป็นคนเดินเรื่อง รายการคืนนั้นชวนให้คนดูคิดว่า ถ้าเราแต่ละคนมีอายุถึงวัยที่ต้องเกษียณ ต้องออกจากงาน คำถามใหญ่ๆ คือ จะอยู่อย่างไร จะมีกิน มีใช้ไหม และ จะเอาเงินจากไหนมาเลี้ยงดูตัวเอง จากนั้นก็ไปตามสัมภาษณ์ ผู้คนต่างๆ พบว่า คนส่วนใหญ่ชีวิตการงานในปัจจุบัน เงินที่หามาได้ เกือบจะไม่พอใช้จ่าย ที่จะเหลือหรือคิดจะแบ่งเก็บสะสมเพื่อดูแลตนเองในยามสูงวัยเป็นสิ่งที่ทำ “ไม่ได้” แล้วสังคมไทยจะทำอย่างไร กับสถานการณ์ที่ผู้คนมีอายุยืนขึ้น มีคนสูงอายุมากขึ้นทุกปี จนเกิน 10% ของจำนวนประชากรแล้ว
เสียงส่วนใหญ่ของนักการเมือง นักวิชาการ และ “คนดีๆ” ? อีกหลายคนที่เข้าไปเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รวมถึงเสียงส่วนใหญ่ ในคณะร่างรัฐธรรมนูญ มีทัศนะว่าประชาชนต้องช่วยตัวเอง ต้องบริหารชีวิตของแต่ละคนให้ได้ ต้องพยายามวางแผนเก็บออม ผมฟังแล้วคิดว่าพวกเขาน่าจะเป็นคนที่มีประสบการณ์และมีความสามารถในการเก็บออมกันมาอย่างดี เพราะหลายๆ คนเป็นข้าราชการ บางคนเป็นผู้ประกอบการอิสระ แต่เมื่อต้องเปิดเผยทรัพย์สิน พวกเขาเหล่านั้นล้วนเป็นคนมีอันจะเหลือกินเหลือใช้มากมายแบบที่ไม่น่าเชื่อกับรายได้และเงินเดือนที่ได้รับ พวกเขาเหล่านั้นจึงมองเรื่องนี้ว่า รัฐไม่ควรต้องทำอะไรในเรื่องของการจัดสวัสดิการหลักประกันด้านรายได้ ให้กับประชาชนที่มีอายุเกิน 60 ปี ถ้าต้องระบุให้รัฐต้องจัดสวัสดิการด้านรายได้นี้ ไว้จะเป็นภาระด้านงบประมาณจำนวนมาก
ในขณะที่ นักวิชาการภาคประชาชน ได้แสดงตัวเลขว่า ปัจจุบันรัฐได้ใช้จ่ายเงินเป็นเบี้ยยังชีพ จำนวน 40,000 ล้านบาทอยู่แล้ว และถ้ารัฐมีระบบการจัดสรรเงินที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบภาษีเพิ่มเติม ในเรื่องของภาษีที่ดิน ภาษีมรดก รัฐบาลจะมีความสามารถที่จะสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
โจทย์ข้อนี้ผมคิดว่า กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สนช. สปช. ต้องเริ่มจากฐานวิธีคิดที่เห็นหัวประชาชน และมองว่าสิ่งนี้เป็นสิทธิของคนทุกคนที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมเมื่อสูงวัย แล้วจึงค่อยคิดว่าจะทำอย่างไร จะบริหารจัดการกับงบประมาณแผ่นดิน ที่ได้มาจากหยาดเหงื่อ แรงงานของพวกเขา ในยามที่เขาทำงานได้ ถ้ามัวแต่มองว่าเรื่องนี้จะเป็นภาระของรัฐในระยะยาว ผมเสนอว่าพวกท่านลาออกเถอะครับ เพราะการปฏิวัติ ยึดอำนาจแล้วบอกว่าจะปฏิรูป กลับไม่ทำใน สิ่งที่สำคัญขนาดนี้ แล้วจะอยู่ต่อไปทำไม สู้จัดการจัดเลือกตั้ง แล้วให้ประชาชนนำเสนอเรื่องนี้กับพรรคการเมืองและให้ประชาชนตัดสินใจกำหนดชีวิตเรื่องนี้ด้วยการเลือกตั้งจะดีกว่า ยังพอมีเวลาทบทวนและเอาเรื่องนี้เข้าไปใส่ไว้ใน หมวดสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ครับท่านกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทุกท่าน อย่าให้เสียคำพูดที่รัฐบาลกล่าวไว้และใส่เสียงเพลงให้เราได้ยินกันทุกวันว่า “ขอคืนความสุขให้เธอ...ประชาชนชน” เพราะผู้สูงวัยก็คือประชาชน และเป็นประชาชนที่มีคุณค่าที่ได้สร้างรากฐานทางเศรษฐกิจจนไทยอยู่ได้มาถึงทุกวันนี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่