ศธ. เตรียมโควตา 2 พันทุนให้เด็กอาชีวะเรียนทั้งใน - ต่างประเทศ จัดโปรแกรมทุนระยะสั้น - กลาง - ยาว ยันไม่ได้ให้ฟรี โดยเฉพาะระยะยาวประมาณ 300 ทุน ตั้งเป้าส่งเด็กเรียนสูงถึง ป.โท เพื่อกลับมาเป็นครูสอนในวิทยาลัยอาชีวะ ส่วนวงเงินทุนขึ้นอยู่กับค่าครองชีพแต่ละประเทศเฉลี่ย 5 แสน - 1.5 ล้านบาท ระบุต้องถกอีกรอบ 9 ก.พ. นี้ ก่อนเสนอที่ประชุมองค์กรหลักเห็นชอบ และเสนอ ครม. ต่อไป
วันนี้ (2 ก.พ.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมระหว่างผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดสรรทุนสำหรับผู้เรียนสายอาชีวศึกษา โดยมี นายกฤษณพงศ์ กีรติกรรมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานนั้น ที่ประชุมมีมติใช้ชื่อโครงการ ว่า “โครงการช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ” เป็นโครงการ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2558 - 2572 โดยให้ทุนเด็กทั้งหมด 5 รุ่น รวม 2,000 ทุน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ทุนระยะสั้น ใช้เวลาเรียน 6 เดือน - 2 ปี จำแนกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. ให้ทุนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 ปี จำนวน 500 คน เน้นการผลิตช่างเทคนิคแบบพิเศษ เพื่อไปเรียนในต่างประเทศ 2. ให้ทุน ปวส. อบรมระยะสั้น 6 เดือน 400 คน เพื่อต่อยอดเป็นช่างเทคนิคที่ตรงกับความต้องการของประเทศ 3. ให้ทุน ปวส. 2 ปี เพื่อเรียนปริญญาตรีเป็นนักเทคโนโลยี จำนวน 100 คน 4. ให้ทุนปริญญาตรี อบรมระยะสั้น 6 เดือน ต่อยอดวิชาชีพเฉพาะบางอย่าง เพื่อเป็นครูเฉพาะทาง จำนวน 100 คน และ 5. ให้ทุนเรียนปริญญาโท 2 ปีที่ต่างประเทศ เพื่อกลับมาเป็นครูอาชีวศึกษา จำนวน 150 คน
ทุนระยะกลาง แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ให้ทุน ปวช.3 หรือ ม.6 มาเรียนปริญญาตรี 4 ปี แบ่งเป็น ปวส. 2 ปี และปริญญาตรี 2 ปี จำนวน 400 คน เรียนในประเทศ 200 คน และต่างประเทศ 200 คน และ 2. ให้ทุน ปวส. มาเรียนปริญญาตรี 2 ปี และปริญญาโท 2 ปี รวมเป็น 4 ปี โดยเรียนต่างประเทศทั้งหมด 100 คน จบมาเป็นครูอาชีวศึกษา และ ทุนระยะยาว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ให้ทุน ม.3 มาเรียน ปวช., ปวส., ปริญญาตรี รวม 7 ปี จำนวน 200 คน เรียนในประเทศ 100 คน และต่างประเทศ 100 คน และ 2.ให้ทุน ม.3 เรียนปวช.,ปวส., ปริญญาตรี และปริญญาโท รวม 9 ปี จำนวน 50 คน เรียนต่างประเทศทั้งหมดจบมาเป็นครูอาชีวศึกษา
นายชัยพฤกษ์ กล่าวด้วยว่า ผู้ที่ได้รีบทุนนั้น จะได้รับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน ค่าหนังสือ อุปกรณ์การเรียน ค่าประกันสุขภาพ ค่าเล่าเรียน และเรียนปรับพื้นฐานในภาษา และวิชาการต่างๆ รวมถึงค่าฝึกพัฒนาทักษะวิชาชีพ ซึ่งวงเงินทุนการศึกษาจะขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของแต่ละประเทศ เฉลี่ย 500,000 - 1,500,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ ผู้ที่รับทุนเรียนระยะยาวจะเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงสาขาที่เรียนได้ โดยมีคณะกรรมการดูแลเรื่องการปรับเปลี่ยนสาขาขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อร่วมพิจารณา ขณะเดียวกัน ที่ประชุมเห็นว่าในการดำเนินโครงการจะต้องมีสำนักงานบริหารโครงการฯ เพื่อดูและในภาพรวมของโครงการทั้งหมดทั้งหลักสูตร การดูแลประสานงานช่วยเหลือเด็ก รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรองรับเด็กเข้าทำงานหลังเรียนจบ เนื่องจากไม่ใช่ทุนให้เปล่าแต่มีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาทำงานภายในประเทศ และมีเพียง 300 ทุนที่จบระดับปริญญาโทเท่านั้นที่จะต้องมาเป็นครูอาชีวะ สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นเงินจากโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนที่ยังเหลืออยู่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการหารืออีกครั้งในวันที่ 9 ก.พ. นี้ จากนั้นจะสรุปเสนอที่ประชุมองค์กรหลัก ศธ. พิจารณาและนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (2 ก.พ.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมระหว่างผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดสรรทุนสำหรับผู้เรียนสายอาชีวศึกษา โดยมี นายกฤษณพงศ์ กีรติกรรมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานนั้น ที่ประชุมมีมติใช้ชื่อโครงการ ว่า “โครงการช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ” เป็นโครงการ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2558 - 2572 โดยให้ทุนเด็กทั้งหมด 5 รุ่น รวม 2,000 ทุน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ทุนระยะสั้น ใช้เวลาเรียน 6 เดือน - 2 ปี จำแนกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. ให้ทุนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 ปี จำนวน 500 คน เน้นการผลิตช่างเทคนิคแบบพิเศษ เพื่อไปเรียนในต่างประเทศ 2. ให้ทุน ปวส. อบรมระยะสั้น 6 เดือน 400 คน เพื่อต่อยอดเป็นช่างเทคนิคที่ตรงกับความต้องการของประเทศ 3. ให้ทุน ปวส. 2 ปี เพื่อเรียนปริญญาตรีเป็นนักเทคโนโลยี จำนวน 100 คน 4. ให้ทุนปริญญาตรี อบรมระยะสั้น 6 เดือน ต่อยอดวิชาชีพเฉพาะบางอย่าง เพื่อเป็นครูเฉพาะทาง จำนวน 100 คน และ 5. ให้ทุนเรียนปริญญาโท 2 ปีที่ต่างประเทศ เพื่อกลับมาเป็นครูอาชีวศึกษา จำนวน 150 คน
ทุนระยะกลาง แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ให้ทุน ปวช.3 หรือ ม.6 มาเรียนปริญญาตรี 4 ปี แบ่งเป็น ปวส. 2 ปี และปริญญาตรี 2 ปี จำนวน 400 คน เรียนในประเทศ 200 คน และต่างประเทศ 200 คน และ 2. ให้ทุน ปวส. มาเรียนปริญญาตรี 2 ปี และปริญญาโท 2 ปี รวมเป็น 4 ปี โดยเรียนต่างประเทศทั้งหมด 100 คน จบมาเป็นครูอาชีวศึกษา และ ทุนระยะยาว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ให้ทุน ม.3 มาเรียน ปวช., ปวส., ปริญญาตรี รวม 7 ปี จำนวน 200 คน เรียนในประเทศ 100 คน และต่างประเทศ 100 คน และ 2.ให้ทุน ม.3 เรียนปวช.,ปวส., ปริญญาตรี และปริญญาโท รวม 9 ปี จำนวน 50 คน เรียนต่างประเทศทั้งหมดจบมาเป็นครูอาชีวศึกษา
นายชัยพฤกษ์ กล่าวด้วยว่า ผู้ที่ได้รีบทุนนั้น จะได้รับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน ค่าหนังสือ อุปกรณ์การเรียน ค่าประกันสุขภาพ ค่าเล่าเรียน และเรียนปรับพื้นฐานในภาษา และวิชาการต่างๆ รวมถึงค่าฝึกพัฒนาทักษะวิชาชีพ ซึ่งวงเงินทุนการศึกษาจะขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของแต่ละประเทศ เฉลี่ย 500,000 - 1,500,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ ผู้ที่รับทุนเรียนระยะยาวจะเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงสาขาที่เรียนได้ โดยมีคณะกรรมการดูแลเรื่องการปรับเปลี่ยนสาขาขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อร่วมพิจารณา ขณะเดียวกัน ที่ประชุมเห็นว่าในการดำเนินโครงการจะต้องมีสำนักงานบริหารโครงการฯ เพื่อดูและในภาพรวมของโครงการทั้งหมดทั้งหลักสูตร การดูแลประสานงานช่วยเหลือเด็ก รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรองรับเด็กเข้าทำงานหลังเรียนจบ เนื่องจากไม่ใช่ทุนให้เปล่าแต่มีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาทำงานภายในประเทศ และมีเพียง 300 ทุนที่จบระดับปริญญาโทเท่านั้นที่จะต้องมาเป็นครูอาชีวะ สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นเงินจากโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนที่ยังเหลืออยู่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการหารืออีกครั้งในวันที่ 9 ก.พ. นี้ จากนั้นจะสรุปเสนอที่ประชุมองค์กรหลัก ศธ. พิจารณาและนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่