ผุดกลุ่มประชาคม สธ. เกาะติดการปฏิรูประบบบริหาร คุณธรรม ธรรมาภิบาลภายในกระทรวงหมอ ชี้ปีที่ผ่านมาคนมองภาพขัดแย้งโดยเฉพาะการจัดสรรเงิน
ทพ.สมชาย กิจสนาโยธิน ประธานชมรมแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ในฐานประธานคณะทำงานด้านวิชาการการพัฒนาเครือข่ายบุคลากรด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ประชาคมสาธารณสุข เปิดเผยว่า การที่สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ความสนใจต่อความคิดและความเห็นต่อผู้รับบริการ “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” นับเป็นเรื่องดีและปีนี้ให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการรับฟังจากหน่วยบริการของภาครัฐ ที่เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดมีความจำเป็นมากและตนได้ให้ความเห็นทำนองนี้มาตลอด แต่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทั้งนี้ ในรอบปีที่ผ่านมานั้นคนมองว่าเป็นความขัดแย้งเรื่องอำนาจในการจัดสรรเงิน แต่ส่วนตัวมองว่าป็นการบริหารกองทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ มีคำถามเรื่องความโปร่งใส จึงไม่อยากให้สังคมหลงประเด็น ซึ่งการประชาพิจารณ์สองครั้งที่ผ่านมาต่างพุ่งเป้าไปที่สองประเด็นนี้
“สปสช. ต้องตอบคำถามได้ว่าเรื่องการโอนเงินไปมาให้หน่วยบริการแบบน่าสงสัย โดยเฉพาะการชี้แจงว่าเป็นการโอนล่วงหน้า ฟังไม่ได้เลยเพราะหลักฐานการโอนชัดเจนว่าเป็นในหมวดค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งต้องจัดสรรตามผลงานไม่สามารถโอนล่วงหน้าได้ ซึ่งมองยังไงก็ไม่พ้นการแต่งบัญชี เพราะมีเงินค้างในระบบมากและไม่เพียงทำให้ สปสช.มีฌบนัสจากการบริหารบัญชี แต่ทางกลับกันยังมีเงินค้างท้อมาก ซึ่งหมายถึงการที่หน่อยบริการได้รับค่าหัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังประโยชน์ทับซ้อนของใครกรรมการบอร์ดบางคน ที่เวลานี้ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆ ให้กระจ่างชุดต่อสังคม” ทพ.สมชาย กล่าวและว่า เพราะฉะนั้น จากปัญหาเหล่านี้จึงได้จัดตั้งประชาคมสาธารณสุข ขึ้น วัตถุประสงค์ในการติดตามการปฏิรูประบบบริหารราชการพิทักษ์ ปกป้อง ระบบคุณธรรม และธรรมาภิบาลภายในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิดต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทพ.สมชาย กิจสนาโยธิน ประธานชมรมแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ในฐานประธานคณะทำงานด้านวิชาการการพัฒนาเครือข่ายบุคลากรด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ประชาคมสาธารณสุข เปิดเผยว่า การที่สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ความสนใจต่อความคิดและความเห็นต่อผู้รับบริการ “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” นับเป็นเรื่องดีและปีนี้ให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการรับฟังจากหน่วยบริการของภาครัฐ ที่เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดมีความจำเป็นมากและตนได้ให้ความเห็นทำนองนี้มาตลอด แต่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทั้งนี้ ในรอบปีที่ผ่านมานั้นคนมองว่าเป็นความขัดแย้งเรื่องอำนาจในการจัดสรรเงิน แต่ส่วนตัวมองว่าป็นการบริหารกองทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ มีคำถามเรื่องความโปร่งใส จึงไม่อยากให้สังคมหลงประเด็น ซึ่งการประชาพิจารณ์สองครั้งที่ผ่านมาต่างพุ่งเป้าไปที่สองประเด็นนี้
“สปสช. ต้องตอบคำถามได้ว่าเรื่องการโอนเงินไปมาให้หน่วยบริการแบบน่าสงสัย โดยเฉพาะการชี้แจงว่าเป็นการโอนล่วงหน้า ฟังไม่ได้เลยเพราะหลักฐานการโอนชัดเจนว่าเป็นในหมวดค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งต้องจัดสรรตามผลงานไม่สามารถโอนล่วงหน้าได้ ซึ่งมองยังไงก็ไม่พ้นการแต่งบัญชี เพราะมีเงินค้างในระบบมากและไม่เพียงทำให้ สปสช.มีฌบนัสจากการบริหารบัญชี แต่ทางกลับกันยังมีเงินค้างท้อมาก ซึ่งหมายถึงการที่หน่อยบริการได้รับค่าหัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังประโยชน์ทับซ้อนของใครกรรมการบอร์ดบางคน ที่เวลานี้ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆ ให้กระจ่างชุดต่อสังคม” ทพ.สมชาย กล่าวและว่า เพราะฉะนั้น จากปัญหาเหล่านี้จึงได้จัดตั้งประชาคมสาธารณสุข ขึ้น วัตถุประสงค์ในการติดตามการปฏิรูประบบบริหารราชการพิทักษ์ ปกป้อง ระบบคุณธรรม และธรรมาภิบาลภายในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิดต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่