xs
xsm
sm
md
lg

เมล็ดพันธุ์ มทร.ธัญบุรี ชูเทคโนโลยี อนุรักษ์พลังงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


แม้ว่างานฉลองครบรอบ 40 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งในงานได้มีผลงานของนักศึกษาหลายชิ้นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องที่คิดค้นเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - พลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

เริ่มจาก ศิวะนนท์ มั่นทอง หรือ เทอร์โบ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในโครงการวิจัยชุด “การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานของระบบไฟถนนและไฟสาธารณะ” ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า คนรุ่นใหม่โชคดีมีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถนำความรู้และเทคโนโลยีมาประยุกต์ พัฒนา จัดระบบเรื่องการจัดการพลังงานให้สอดรับกับสภาพสังคม ปัจจุบันพลังงานมีจำกัด เพียงแต่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว จึงไม่ได้ใส่ใจและอีกปัจจัยคนไม่ประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะการใช้พลังงานไฟฟ้าของสาธารณะ ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายสาธารณะ ก็คือ เงินจากภาษี ส่วนตัวมองว่าที่ใช้กันอย่างฟุ่มเฟือยเพราะไม่มีระบบวัดหรือควบคุมสถานะ ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะวิศวกรรม คิดระบบการจัดการไฟสาธารณะขึ้นมา ใช้สำหรับถนนของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ภายใต้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรายงานผลการใช้ไฟ ทั้งนี้ จะได้ควบคุมระบบได้ถูกว่า ไฟจุดใดควรหรี่ ควรดับ หรือควรเพิ่มความสว่าง

“ระบบดังกล่าวทดลองใช้ที่ปราจีนบุรี ราชบุรี และ สมุทรสาคร สามารถตรวจสอบหลอดติด - ดับเป็นรายโคม รวมถึงควบคุมการเปิดปิดทั้งวงจร โดยมีกล่องควบคุมโคมไฟตามโครงการต้นแบบ 160 ชุด ตู้ควบคุมต้นวงจร 10 ตู้ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย 1 เครื่อง กล่องควบคุมที่โคมไฟซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ตรวจสอบสถานะซึ่งช่วยให้การจัดการระบบไฟนั้นดีขึ้น จากผลการทดลอง กฟภ. ได้ประเมินแล้วพบว่าระบบดังกล่าวช่วยเตือนให้ กฟภ. ดับไฟและหรี่ไฟได้อย่างเหมาะสม ทำให้ประหยัดไฟได้ 5 หมื่นบาทต่อเดือน” ศิวะนนท์ อธิบาย

ไม่เพียงแค่ระบบการจัดการด้านพลังงานเท่านั้น มทร.ธัญบุรีนำผลงานนักศึกษา “รถไฟฟ้าประหยัดพลังงาน” ที่ครองรางวัลชนะเลิศการประกวด “Eco Challenge 2014-2015” ถึง 2 สมัยซ้อน

บุญมา มียวน หรือ หมอก นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้คิดค้น เล่าว่า คนนิยมใช้รถใช้ถนนมากขึ้น มลพิษก็เพิ่มตามมาด้วย ที่สำคัญ ยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายน้ำมัน ด้วยเหตุนี้ ทีมจึงได้ออกแบบรถไฟฟ้าที่มีตัวโครงรถแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด และออกแบบให้รถมีน้ำหนักรวมลดลง วางจุดศูนย์ถ่วงรถอย่างเหมาะสม เพิ่มตัวกันโครงรักษาสมดุลขณะเลี้ยวรถในทางโค้ง เปลี่ยนระบบรองรับน้ำหนักและกันสะเทือน ออกแบบชุดห้ามล้อให้มีความปลอดภัย และออกแบบชุดเกียร์ส่งกำลังใหม่เพื่อเพิ่มสมรรถนะการส่งกำลัง โดยสามารถใช้โดยสารได้ในพื้นที่ภายในสนามหรือใช้ในกิจการพิเศษทั่วไป

“นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าประหยัดพลังงานนี้ ชาร์ตไฟหนึ่งครั้ง มีค่าใช้จ่ายไฟฟ้าประมาณ 5 บาท ใช้เวลาชาร์ตไม่เกิน 2 ชั่วโมง ซึ่งมีระยะทางการวิ่งอยู่ที่ 30 กิโลเมตร จึงมีความเหมาะสมในยุคของพลังงานมีราคาแพง แม้จะยังไม่ได้พัฒนาถึงขั้นวิ่งในทางหลักเพื่อใช้ในชีวิตรายวัน แต่เป็นการเริ่มต้นรถใช้ระหว่างอาคารได้ดี” บุญมา กล่าว

ขณะที่พิเชษฐ์ เทพประสิทธิ หรือ เชษฐ์ เล่าถึงแนวคิดในการปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อการประหยัดพลังงานว่า เมื่อใดก็ตามที่เราละเลยเรื่องพลังงาน เท่ากับเรากำลังมองข้ามการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผมมองว่าในวัยเรียนมีโอกาสแชร์ความคิดร่วมกับเพื่อนๆ ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานโดยลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้ประโยชน์ ประหยัด และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

กำลังโหลด

เครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น

ดูบน Instagram







กำลังโหลดความคิดเห็น