สพฐ.ใช้วิธีควบรวม แก้ปัญหา ร.ร.เล็ก จัดกลุ่ม 3-4 ร้อยกลุ่มทั่วประเทศ และคัด ร.ร.ศูนย์กลางเพื่อให้มาเรียนรวมกัน ยันไม่มีการยุบ ร.ร.เล็ก
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้หารือกับนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถึงการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กซึ่ง สนช.กำหนดให้มีแผนแก้ไขเร่งด่วน โดยหลักการ สนช.และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีทิศทางตรงกันว่าไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็กแน่นอน เพราะต้องการรักษาโรงเรียนเหล่านี้ไว้ให้แก่เด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล แต่ สพฐ.จะปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนสอนโดยใช้วิธีการควบรวมเต็มตัว เช่น ควบรวมชั้นเรียนโรงเรียนเดียวกัน ควบรวมบางวิชา หรือหากโรงเรียนมีเด็กน้อยกว่า 60 คนก็จะจัดการสอนแบบควบรวม เป็นต้น เพื่อโรงเรียนจัดการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
“การควบรวมเป็นทางเลือกหนทางหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า สพฐ.จะควบรวมเพื่อยุบโรงเรียนขนาดเล็ก แต่เราควบรวมเต็มตัวชั่วคราวเพื่อพัฒนาการสอนของโรงเรียนขนาดเล็กมีประสิทธิภาพ เมื่อโรงเรียนได้รับการพัฒนา มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับก็อาจจะส่งผลให้มีผู้เรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้น”เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นายกมลกล่าวต่อว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้จัดกลุ่มโรงเรียน 300-400 กลุ่มทั่วประเทศเพื่อจัดการสอนแบบควบรวม โดยได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) คัดเลือกโรงเรียนที่จะเป็นศูนย์กลางจัดการสอนในแต่ละจุด ส่วนทรัพยากร อุปกรณ์การสอนให้นำมาใช้ร่วมกันไม่ได้จัดซื้อใหม่ ส่วนการเดินทางมาเรียนจะหารือกับองค์กรปกครองส่วนถิ่น (อปท.) ช่วยดูแลการรับ-ส่งเด็กจากโรงเรียนเดิมมายังโรงเรียนศูนย์กลาง ซึ่งหาก อปท.ดูแลตรงนี้จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กมาก ทั้งนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนและเงินเดือนครู สพฐ.จะจัดสรรให้ติดตามตัวเด็กและครู ขณะที่ ผู้บริหารโรงเรียนเบื้องต้นให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางทำหน้าที่บริหาร ไปก่อนซึ่งจะได้มีการหารือและกำหนดหลักเกณฑ์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้หารือกับนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถึงการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กซึ่ง สนช.กำหนดให้มีแผนแก้ไขเร่งด่วน โดยหลักการ สนช.และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีทิศทางตรงกันว่าไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็กแน่นอน เพราะต้องการรักษาโรงเรียนเหล่านี้ไว้ให้แก่เด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล แต่ สพฐ.จะปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนสอนโดยใช้วิธีการควบรวมเต็มตัว เช่น ควบรวมชั้นเรียนโรงเรียนเดียวกัน ควบรวมบางวิชา หรือหากโรงเรียนมีเด็กน้อยกว่า 60 คนก็จะจัดการสอนแบบควบรวม เป็นต้น เพื่อโรงเรียนจัดการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
“การควบรวมเป็นทางเลือกหนทางหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า สพฐ.จะควบรวมเพื่อยุบโรงเรียนขนาดเล็ก แต่เราควบรวมเต็มตัวชั่วคราวเพื่อพัฒนาการสอนของโรงเรียนขนาดเล็กมีประสิทธิภาพ เมื่อโรงเรียนได้รับการพัฒนา มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับก็อาจจะส่งผลให้มีผู้เรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้น”เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นายกมลกล่าวต่อว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้จัดกลุ่มโรงเรียน 300-400 กลุ่มทั่วประเทศเพื่อจัดการสอนแบบควบรวม โดยได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) คัดเลือกโรงเรียนที่จะเป็นศูนย์กลางจัดการสอนในแต่ละจุด ส่วนทรัพยากร อุปกรณ์การสอนให้นำมาใช้ร่วมกันไม่ได้จัดซื้อใหม่ ส่วนการเดินทางมาเรียนจะหารือกับองค์กรปกครองส่วนถิ่น (อปท.) ช่วยดูแลการรับ-ส่งเด็กจากโรงเรียนเดิมมายังโรงเรียนศูนย์กลาง ซึ่งหาก อปท.ดูแลตรงนี้จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กมาก ทั้งนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนและเงินเดือนครู สพฐ.จะจัดสรรให้ติดตามตัวเด็กและครู ขณะที่ ผู้บริหารโรงเรียนเบื้องต้นให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางทำหน้าที่บริหาร ไปก่อนซึ่งจะได้มีการหารือและกำหนดหลักเกณฑ์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่