สปสช. หวั่นคนป่วยมะเร็งเพิ่ม แม้เข้าถึงการรักษา แต่เป้นภาระค่าใช้จ่ายให้ รพ. มาก เผยบอร์ด สปสช. อนุมัติปรับหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินผู้ป่วยมะเร็ง กรณีการให้ยาเคมีบำบัด เป็นบริการรักษากรณีเฉพาะผู้ป่วยใน กันงบดำเนินการ 31.33 บาทต่อคน หวังลดภาระเบิกจ่าย รพ.
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาผู้ป่วยโรคมะเร็งมีปัญหาการเข้าถึงการรักษา เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้เสียชีวิตเร็ว บอร์ด สปสช. จึงอนุมัติสิทธิประโยชน์การรักษาให้ครอบคลุมทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และการให้เคมีบำบัด ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งในระบบหลักประกันฯเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการหยุดยั้ง หรือชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จากร้อยละ 27.14 ในปี 2548 เป็น ร้อยละ 36.94 ในปี 2555
“แม้จำนวนผู้ป่วยจะเข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดทั้งหน่วยบริการและบุคลากร สปสช.จึงสนับสนุนพัฒนาเครือข่ายบริการ โดยในปี 2553 ได้เริ่มพัฒนาเครือข่ายโรคมะเร็งให้ครอบคลุมการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายด้วย ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้ารับบริการโรคมะเร็งในทุกจังหวัดอย่างทั่วถึง ปัจจุบันมีหน่วยบริการที่เข้าร่วมเครือข่ายบริการเคมีบำบัดทั้งสิ้น 690 แห่ง ในจำนวนนี่เป็นบริการแม่ข่าย 25 แห่ง และหน่วยบริการลูกข่าย 665 แห่ง” ประธานบอร์ด สปสช. กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่การให้เคมีบำบัดมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เป็นภาระต่อหน่วยบริการอย่างมาก โดยเฉพาะหน่วยบริการที่มีผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับการรักษาจำนวนมาก ในปีงบประมาณ 2558 บอร์ด สปสช. จึงอนุมัติให้มีการปรับหลักเกณฑ์การบริหารกรณีผู้ป่วยมะเร็ง โดยจะย้ายค่ายาเคมีบำบัดไปรวมไว้ที่รายการย่อยบริการกรณีเฉพาะ โดยจะมีการบริหารการจ่ายรวมกับค่าเคมีบำบัด การฉายรังสี และการจ่ายค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไปกรณีผู้ป่วยมะเร็งที่มีการรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยจะมีการกันงบ 31.33 บาทต่อคน เพื่อดำเนินการนี้
“ที่ผ่านมา โรงพยาบาลให้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งมีความยุ่งยากในการเบิกจ่าย ด้วยเหตุนี้ บอร์ด สปสช. จึงเห็นควรให้มีการปรับการจัดสรรงบกรณีการให้ยาเคมีบำบัดมาไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งนอกจากลดภาระการเบิกจ่ายของโรงพยาบาลแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาผู้ป่วยโรคมะเร็งมีปัญหาการเข้าถึงการรักษา เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้เสียชีวิตเร็ว บอร์ด สปสช. จึงอนุมัติสิทธิประโยชน์การรักษาให้ครอบคลุมทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และการให้เคมีบำบัด ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งในระบบหลักประกันฯเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการหยุดยั้ง หรือชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จากร้อยละ 27.14 ในปี 2548 เป็น ร้อยละ 36.94 ในปี 2555
“แม้จำนวนผู้ป่วยจะเข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดทั้งหน่วยบริการและบุคลากร สปสช.จึงสนับสนุนพัฒนาเครือข่ายบริการ โดยในปี 2553 ได้เริ่มพัฒนาเครือข่ายโรคมะเร็งให้ครอบคลุมการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายด้วย ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้ารับบริการโรคมะเร็งในทุกจังหวัดอย่างทั่วถึง ปัจจุบันมีหน่วยบริการที่เข้าร่วมเครือข่ายบริการเคมีบำบัดทั้งสิ้น 690 แห่ง ในจำนวนนี่เป็นบริการแม่ข่าย 25 แห่ง และหน่วยบริการลูกข่าย 665 แห่ง” ประธานบอร์ด สปสช. กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่การให้เคมีบำบัดมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เป็นภาระต่อหน่วยบริการอย่างมาก โดยเฉพาะหน่วยบริการที่มีผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับการรักษาจำนวนมาก ในปีงบประมาณ 2558 บอร์ด สปสช. จึงอนุมัติให้มีการปรับหลักเกณฑ์การบริหารกรณีผู้ป่วยมะเร็ง โดยจะย้ายค่ายาเคมีบำบัดไปรวมไว้ที่รายการย่อยบริการกรณีเฉพาะ โดยจะมีการบริหารการจ่ายรวมกับค่าเคมีบำบัด การฉายรังสี และการจ่ายค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไปกรณีผู้ป่วยมะเร็งที่มีการรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยจะมีการกันงบ 31.33 บาทต่อคน เพื่อดำเนินการนี้
“ที่ผ่านมา โรงพยาบาลให้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งมีความยุ่งยากในการเบิกจ่าย ด้วยเหตุนี้ บอร์ด สปสช. จึงเห็นควรให้มีการปรับการจัดสรรงบกรณีการให้ยาเคมีบำบัดมาไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งนอกจากลดภาระการเบิกจ่ายของโรงพยาบาลแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่