กสร. ชี้เปิดเออีซี การแข่งขันสูงขึ้น - ตลาดกว้าง กลุ่มแรงงานฝีมือรับค่าตอบแทนสูง ขณะที่แรงงานไทยยังเสียเปรียบด้านภาษา แนะเรียนภาษาอื่นบ้านเพิ่ม ไม่เฉพาะ อังกฤษ เพิ่มโอกาสเลือกงาน
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นการเปิดประตูสู่อาเซียนอย่างเป็นทางการ จะส่งผลด้านทางบวกต่อแรงงานไทย เช่น การเพิ่มโอกาสในการพัฒนาความรู้ และมาตรฐานฝีมือแรงงานให้เท่าเทียมสากล ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกอาเซียนมีบทบาท เข้ามาแข่งขันและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยก็สามารถเข้าไปลงทุนและสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นรวมทั้ง เป็นการขยายตลาดให้กับแรงงานไทยไปสู่ประเทศอาเซียน รับค่าตอบแทนของแรงงานที่สูงขึ้นในกลุ่มแรงงานฝีมือ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงานที่สะดวกขึ้นและเพื่อส่งเสริม/รักษาแรงงานที่มีฝีมือไว้ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เนื่องจากมีแรงงานทดแทนในตำแหน่งที่ขาดแคลน และทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านแรงงานของแต่ละประเทศสมาชิกในอาเซียน อย่างไรก็ตาม ทางด้านลบ แรงงานไทยอาจเสียเปรียบด้านภาษา หากไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อม
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า แรงงานไทยจึงจำเป็นต้องฝึกฝนเพิ่มเติม ด้านความรู้ ความชำนาญในวิชาชีพของตนอย่างแท้จริง พัฒนาตนให้มีศักยภาพมากขึ้นตามที่อาเซียนได้กำหนด และควรจะพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ไม่เฉพาะแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ควรจะพัฒนาภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมโดยเฉพาะภาษาในประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เพื่อเป็นตัวเลือกงานที่กว้างขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นการเปิดประตูสู่อาเซียนอย่างเป็นทางการ จะส่งผลด้านทางบวกต่อแรงงานไทย เช่น การเพิ่มโอกาสในการพัฒนาความรู้ และมาตรฐานฝีมือแรงงานให้เท่าเทียมสากล ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกอาเซียนมีบทบาท เข้ามาแข่งขันและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยก็สามารถเข้าไปลงทุนและสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นรวมทั้ง เป็นการขยายตลาดให้กับแรงงานไทยไปสู่ประเทศอาเซียน รับค่าตอบแทนของแรงงานที่สูงขึ้นในกลุ่มแรงงานฝีมือ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงานที่สะดวกขึ้นและเพื่อส่งเสริม/รักษาแรงงานที่มีฝีมือไว้ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เนื่องจากมีแรงงานทดแทนในตำแหน่งที่ขาดแคลน และทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านแรงงานของแต่ละประเทศสมาชิกในอาเซียน อย่างไรก็ตาม ทางด้านลบ แรงงานไทยอาจเสียเปรียบด้านภาษา หากไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อม
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า แรงงานไทยจึงจำเป็นต้องฝึกฝนเพิ่มเติม ด้านความรู้ ความชำนาญในวิชาชีพของตนอย่างแท้จริง พัฒนาตนให้มีศักยภาพมากขึ้นตามที่อาเซียนได้กำหนด และควรจะพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ไม่เฉพาะแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ควรจะพัฒนาภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมโดยเฉพาะภาษาในประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เพื่อเป็นตัวเลือกงานที่กว้างขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่