ผลวิจัยแพทย์แผนไทย พบใช้ใบยอ ย่างไฟ ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคเกาต์ เผยได้ผลร้อยละ 90 ส่วนผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อจากการใช้แรงเกินกำลัง ได้ผลร้อยละ 84 ชี้ใช้ง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย ไร้ผลข้างเคียง
น.ส.ณัฏฐณิชา ธรรมวัตร แพทย์แผนไทยประจำโรงพยาบาลศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ได้ศึกษาวิจัยการบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาการอักเสบจากโรคเกาต์ โดยการใช้ใบยอ ย่างไฟ เนื่องจากวิธีเดิมในการบรรเทารักษาอาการปวดกล้ามเนื้อและอักเสบจากโรคเกาต์ ผู้ใช้แรงงาน ออกแรงกล้ามเนื้อเกินกำลังหรือออกติดต่อกันเป็นเวลานาน จะใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นประคบบริเวณที่มีการอักเสบภายใน 24 ชั่วโมง และอาจใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน โดยที่โรงพยาบาลศิลาลาด มีผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้บริการเฉลี่ยเดือนละ 160 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงาน อายุ 35 - 60 ปี เข้ารักษาเฉลี่ยปีละ 6 ครั้งต่อคน ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดกล้ามเนื้อมากต้องใช้บริการถึงเดือนละ 2 ครั้ง จึงได้คิดค้นวิธีการบรรเทาอาการปวดโดยใบยอ ที่ใช้ทำห่อหมก ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านสามารถปลูกไว้ที่บ้านและหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการรักษา เนื่องจากใบยอมีสรรพคุณแก้ไข้ ลดปวด ลดบวม อาการเคล็ดขัดยอก อาการปวดในข้อ กล้ามเนื้อแพลง แก้โรคเกาต์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือได้
“วิธีการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อนั้น จะนำใบยอ 5 - 10 ใบ มาล้างให้สะอาด แล้วนำไปย่างบนเตาถ่านด้วยไฟอ่อนประมาณ 1 นาที พร้อมโรยเกลือเล็กน้อยให้ทั่วใบยอ เพื่อเพิ่มการดูดซึมของสารในใบยอ ให้มากขึ้น หลังจากนั้นนำผ้าสะอาดมาวางบริเวณที่มีอาการปวดหรืออักเสบ และวางใบยอที่ย่างไฟแล้ววางทับผ้าตาม เพื่อป้องกันความร้อนจากใบยอถ่ายเทลงผิวหนังมากเกินไป ทับนานครั้งละ 15 - 20 นาที วันละ 2 - 3 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 5 - 7 วัน หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น” ผู้วิจัย กล่าว
น.ส.ณัฏฐณิชา กล่าวอีกว่า จากการติดตามผลการทดสอบใช้ใบยอย่างไฟใช้กับผู้ป่วยโรคเกาต์ 11 ราย ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบวมและอักเสบ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 - มิถุนายน 2557 พบว่า อาการปวดและอักเสบกล้ามเนื้อของกลุ่มผู้ป่วยโรคเกาต์ทั้ง 11 ราย ลดลงถึง 10 รายที่มีอาการบวมตามข้อต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 99 ส่วนกลุ่มผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ได้ใช้ใบยอ ย่างไฟ รักษา 57 ราย พบว่า 48 ราย มีอาการปวดลดลง รู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คิดเป็นร้อยละ 84 โดยผู้ที่อาการปวดไม่ลดลง พบว่า ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่มีเวลา ไม่มีคนดูแลและไม่มีคนช่วยหาวัสดุ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.ณัฏฐณิชา ธรรมวัตร แพทย์แผนไทยประจำโรงพยาบาลศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ได้ศึกษาวิจัยการบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาการอักเสบจากโรคเกาต์ โดยการใช้ใบยอ ย่างไฟ เนื่องจากวิธีเดิมในการบรรเทารักษาอาการปวดกล้ามเนื้อและอักเสบจากโรคเกาต์ ผู้ใช้แรงงาน ออกแรงกล้ามเนื้อเกินกำลังหรือออกติดต่อกันเป็นเวลานาน จะใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นประคบบริเวณที่มีการอักเสบภายใน 24 ชั่วโมง และอาจใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน โดยที่โรงพยาบาลศิลาลาด มีผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้บริการเฉลี่ยเดือนละ 160 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงาน อายุ 35 - 60 ปี เข้ารักษาเฉลี่ยปีละ 6 ครั้งต่อคน ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดกล้ามเนื้อมากต้องใช้บริการถึงเดือนละ 2 ครั้ง จึงได้คิดค้นวิธีการบรรเทาอาการปวดโดยใบยอ ที่ใช้ทำห่อหมก ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านสามารถปลูกไว้ที่บ้านและหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการรักษา เนื่องจากใบยอมีสรรพคุณแก้ไข้ ลดปวด ลดบวม อาการเคล็ดขัดยอก อาการปวดในข้อ กล้ามเนื้อแพลง แก้โรคเกาต์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือได้
“วิธีการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อนั้น จะนำใบยอ 5 - 10 ใบ มาล้างให้สะอาด แล้วนำไปย่างบนเตาถ่านด้วยไฟอ่อนประมาณ 1 นาที พร้อมโรยเกลือเล็กน้อยให้ทั่วใบยอ เพื่อเพิ่มการดูดซึมของสารในใบยอ ให้มากขึ้น หลังจากนั้นนำผ้าสะอาดมาวางบริเวณที่มีอาการปวดหรืออักเสบ และวางใบยอที่ย่างไฟแล้ววางทับผ้าตาม เพื่อป้องกันความร้อนจากใบยอถ่ายเทลงผิวหนังมากเกินไป ทับนานครั้งละ 15 - 20 นาที วันละ 2 - 3 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 5 - 7 วัน หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น” ผู้วิจัย กล่าว
น.ส.ณัฏฐณิชา กล่าวอีกว่า จากการติดตามผลการทดสอบใช้ใบยอย่างไฟใช้กับผู้ป่วยโรคเกาต์ 11 ราย ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบวมและอักเสบ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 - มิถุนายน 2557 พบว่า อาการปวดและอักเสบกล้ามเนื้อของกลุ่มผู้ป่วยโรคเกาต์ทั้ง 11 ราย ลดลงถึง 10 รายที่มีอาการบวมตามข้อต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 99 ส่วนกลุ่มผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ได้ใช้ใบยอ ย่างไฟ รักษา 57 ราย พบว่า 48 ราย มีอาการปวดลดลง รู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คิดเป็นร้อยละ 84 โดยผู้ที่อาการปวดไม่ลดลง พบว่า ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่มีเวลา ไม่มีคนดูแลและไม่มีคนช่วยหาวัสดุ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่