“ประสาท” ชี้มหา’ลัยออกนอกระบบ กับกรณี สจล.เงินหาย ไม่เกี่ยวกัน พร้อมแจงรัฐไม่ได้ลอยแพแต่อุดหนุนงบให้ทั้งมหา’รัฐ-มหา’ลัยนอกระบบ ต่างที่ มหา’ลัยนอกระบบ มีอิสระบริหารการเงินหากเหลือไม่ต้องส่งคืนคลัง แต่ก็มีระบบติดตามตรวจสอบและประเมินผลทั้งภายใน-ภายนอก หวังกรณี สจล.เป็นบทเรียนที่ไม่เกิดซ้ำกับแห่งอื่น พร้อมเตรียมหารือกันใน ทปอ.สร้างความมั่นใจในการออกนอกระบบ ให้แก่มหา’ลัย อื่น ๆ ที่เตรียมออกนอกระบบ
วันนี้ (9 ม.ค.) ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในฐานะที่ มทส.เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ม.นอกระบบ แห่งแรกของประเทศ มองว่า กรณีการยักยอกเงินของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งมีอดีตผู้บริหารบางคนระบุว่า การออกนอกระบบทำให้สถาบันต้องหาเงิน โดยโอนย้ายเงินไปในบัญชีธนาคารที่ให้ดอกผลที่ดี เป็นเหตุให้ถูกมิจฉาชีพหลอกนั้น ขอชี้แจงว่า เงินหายกับการออกนอกระบบเป็นคนละเรื่องกัน ที่สำคัญมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ทั้งมหาวิทยาลัยที่เป็นของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ หรือ ม.นอกระบบ จะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลที่เพียงพอต่อการดำเนินพันธกิจ 4 ด้าน คือ การสอน วิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งรัฐไม่ได้ปล่อยให้มหาวิทยาลัยกัดก้อนเกลือกิน
ประธาน ทปอ.กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ม.นอกระบบ นั้นมีอิสระในการบริหารการเงิน โดยเงินที่เหลือในแต่ละปี ไม่ต้องส่งคืนคลัง แต่สามารถเก็บไว้เองได้ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยก็ต้องตั้งคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สินขึ้นมาบริหารจัดการ ขณะเดียวกัน ก็มีคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล กำกับและตรวจสอบการเงินและบัญชีอีกขั้นตอนหนึ่ง ทั้งยังมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอก ตรวจสอบอีกครั้ง เป็นการวางระบบการตรวจสอบเงินและบัญชีที่ละเอียดและเป็นระบบที่เข้มแข็ง หากผู้บริหารไม่ชะล่าใจ ก็คงไม่เกิดปัญหาขึ้น และกรณีที่เกิดกับสจล.ก็ถือเป็นบทเรียนซึ่งคาดหวังว่าจะไม่เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นกับมหาวิทยาลัยอื่นๆอีก
“หากผู้บริหารเห็นว่ากลไกที่มหาวิทยาลัยวางไว้ยังไม่เข้มแข็งพอ อธิการบดีก็สามารถจ้างองค์กรภายนอกเข้ามาสุ่มตรวจการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยได้ โดยเป็นตรวจสอบที่ไม่แจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า ก็จะเห็นตัวเลขการเงินและบัญชีที่แท้จริง หากผิดปกติก็จะทราบได้ทันที” ศ.ดร.ประสาท กล่าวและว่า ในฐานะ ประธาน ทปอ.ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยนอกระบบประสบปัญหาถึง 2 แห่ง อาจทำให้มหาวิทยาลัยของรัฐที่กำลังนำเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัย พ.ศ. เพื่อออกนอกระบบเกิดความไม่มั่นใจ หรือมีข้อสงสัย อาทิ ม.ธรรมศาสตร์,ม.เกษตรศาสตร์,ม.ขอนแก่น,ม.สงขลานครินทร์,มรภ.สวนดุสิต ก็น่าจะได้มีการหารือกัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการออกนอกระบบ โดยตนจะนำเข้าหารือในการประชุม ทปอ.ครั้งหน้า เดือน ก.พ.นี้ ที่ มทส.
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 ม.ค.) ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในฐานะที่ มทส.เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ม.นอกระบบ แห่งแรกของประเทศ มองว่า กรณีการยักยอกเงินของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งมีอดีตผู้บริหารบางคนระบุว่า การออกนอกระบบทำให้สถาบันต้องหาเงิน โดยโอนย้ายเงินไปในบัญชีธนาคารที่ให้ดอกผลที่ดี เป็นเหตุให้ถูกมิจฉาชีพหลอกนั้น ขอชี้แจงว่า เงินหายกับการออกนอกระบบเป็นคนละเรื่องกัน ที่สำคัญมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ทั้งมหาวิทยาลัยที่เป็นของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ หรือ ม.นอกระบบ จะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลที่เพียงพอต่อการดำเนินพันธกิจ 4 ด้าน คือ การสอน วิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งรัฐไม่ได้ปล่อยให้มหาวิทยาลัยกัดก้อนเกลือกิน
ประธาน ทปอ.กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ม.นอกระบบ นั้นมีอิสระในการบริหารการเงิน โดยเงินที่เหลือในแต่ละปี ไม่ต้องส่งคืนคลัง แต่สามารถเก็บไว้เองได้ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยก็ต้องตั้งคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สินขึ้นมาบริหารจัดการ ขณะเดียวกัน ก็มีคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล กำกับและตรวจสอบการเงินและบัญชีอีกขั้นตอนหนึ่ง ทั้งยังมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอก ตรวจสอบอีกครั้ง เป็นการวางระบบการตรวจสอบเงินและบัญชีที่ละเอียดและเป็นระบบที่เข้มแข็ง หากผู้บริหารไม่ชะล่าใจ ก็คงไม่เกิดปัญหาขึ้น และกรณีที่เกิดกับสจล.ก็ถือเป็นบทเรียนซึ่งคาดหวังว่าจะไม่เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นกับมหาวิทยาลัยอื่นๆอีก
“หากผู้บริหารเห็นว่ากลไกที่มหาวิทยาลัยวางไว้ยังไม่เข้มแข็งพอ อธิการบดีก็สามารถจ้างองค์กรภายนอกเข้ามาสุ่มตรวจการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยได้ โดยเป็นตรวจสอบที่ไม่แจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า ก็จะเห็นตัวเลขการเงินและบัญชีที่แท้จริง หากผิดปกติก็จะทราบได้ทันที” ศ.ดร.ประสาท กล่าวและว่า ในฐานะ ประธาน ทปอ.ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยนอกระบบประสบปัญหาถึง 2 แห่ง อาจทำให้มหาวิทยาลัยของรัฐที่กำลังนำเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัย พ.ศ. เพื่อออกนอกระบบเกิดความไม่มั่นใจ หรือมีข้อสงสัย อาทิ ม.ธรรมศาสตร์,ม.เกษตรศาสตร์,ม.ขอนแก่น,ม.สงขลานครินทร์,มรภ.สวนดุสิต ก็น่าจะได้มีการหารือกัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการออกนอกระบบ โดยตนจะนำเข้าหารือในการประชุม ทปอ.ครั้งหน้า เดือน ก.พ.นี้ ที่ มทส.
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น