เร่งปูพรมค้นหาผู้สัมผัสสุนัขใน “มหาสารคาม” หลังพบหมาเป็นโรคพิษสุนัขบ้าตาย เผยฉีดวัคซีนป้องกันให้ประชาชนที่เสี่ยงแล้ว 14 ราย เตือนอย่าไว้ใจลูกหมาหรือหมาที่เลี้ยงในบ้าน ชี้ต้นเหตุทำคนตายเพราะโรคนี้ทุกราย
วันนี้ (8 ม.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีพบสุนัขใน ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ตายจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยสำนักงานปศุสัตว์ จ.มหาสารคาม ได้ประกาศเป็นเขตระบาดสัตว์ชั่วคราว ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ต่างๆ เป็นเวลา 15 วัน รวมทั้งนำสุนัข แมว ในวัดป่าวังเลิงกว่า 20 ตัว มากักตัวสังเกตอาการ ว่า ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) มหาสารคาม ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งป้องกันควบคุมโรคอย่างใกล้ชิดทั้งในสัตว์และคน โดยจะเร่งติดตามผู้สัมผัสที่เกี่ยวข้องกับสุนัขที่อาจติดเชื้อในพื้นที่ระบาด ทั้งในวัดและที่บ้าน ให้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับทุกแห่งฟรี
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า จากข้อมูลเฝ้าระวังพบว่า ทั่วประเทศมีผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าปีละ 7 ราย และเสียชีวิตทุกราย จากการสอบสวนพบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกลูกสุนัขหรือสุนัขที่เลี้ยงไว้กัด จึงชะล่าใจคิดว่าไม่มีเชื้อ รวมทั้งแผลที่ถูกกัดเป็นแค่รอยถลอกเล็กน้อย จึงไม่มาฉีดวัคซีนป้องกัน จึงได้เร่งรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรคนี้ โดยแนะนำให้ผู้ที่เลี้ยงสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด พาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี ที่สำคัญขอให้ผู้ที่ถูกสุนัขหรือแมวกัดหรือข่วนทุกราย รีบพบแพทย์และรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบชุด เนื่องจากโรคนี้ป้องกันได้ด้วยวัคซีนแต่หากหลังติดเชื้อและมีอาการป่วยแล้ว จะไม่มีหนทางรักษา ต้องเสียชีวิตทุกราย โดย สธ. ได้ตั้งเป้าให้ประเทศไทยปลอดผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าภายในปี 2563
ด้าน นพ.คิมหันต์ ยงรัตนกิจ นพ.สสจ.มหาสารคาม กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่เคาะประตูบ้านให้ความรู้ประชาชน และค้นหาผู้ที่อาจสัมผัสกับเชื้อโรคทั้งที่เลี้ยงตามบ้านและที่วัด ได้ฉีดวัคซีนแล้วรวม 14 ราย ขณะนี้ได้เร่งค้นหาให้ครบทุกหลังคาเรือน หากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า โดยมีอาการดังนี้ หางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง หรือพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เซื่องซึม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้นำชุมชน และให้ช่วยกันนำไปกักขังสังเกตอาการ หากตายก็ให้ส่งตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้าด้วย
ทั้งนี้ ในคนอาจแสดงอาการภายหลังได้รับเชื้อได้ตั้งแต่ 7 วัน หรืออาจนานกว่า 1 ปีก็ได้ โดยเริ่มจากเบื่ออาหาร เจ็บคอ มีไข้ อ่อนเพลีย คันรุนแรงบริเวณที่ถูกกัด แล้วจะลุกลามไปทั่วตัว ผู้ป่วยจะเริ่มกระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม กินอาหารหรือน้ำไม่ได้ เกิดอาการ “กลัวน้ำ” กล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจเป็นอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 ม.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีพบสุนัขใน ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ตายจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยสำนักงานปศุสัตว์ จ.มหาสารคาม ได้ประกาศเป็นเขตระบาดสัตว์ชั่วคราว ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ต่างๆ เป็นเวลา 15 วัน รวมทั้งนำสุนัข แมว ในวัดป่าวังเลิงกว่า 20 ตัว มากักตัวสังเกตอาการ ว่า ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) มหาสารคาม ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งป้องกันควบคุมโรคอย่างใกล้ชิดทั้งในสัตว์และคน โดยจะเร่งติดตามผู้สัมผัสที่เกี่ยวข้องกับสุนัขที่อาจติดเชื้อในพื้นที่ระบาด ทั้งในวัดและที่บ้าน ให้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับทุกแห่งฟรี
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า จากข้อมูลเฝ้าระวังพบว่า ทั่วประเทศมีผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าปีละ 7 ราย และเสียชีวิตทุกราย จากการสอบสวนพบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกลูกสุนัขหรือสุนัขที่เลี้ยงไว้กัด จึงชะล่าใจคิดว่าไม่มีเชื้อ รวมทั้งแผลที่ถูกกัดเป็นแค่รอยถลอกเล็กน้อย จึงไม่มาฉีดวัคซีนป้องกัน จึงได้เร่งรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรคนี้ โดยแนะนำให้ผู้ที่เลี้ยงสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด พาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี ที่สำคัญขอให้ผู้ที่ถูกสุนัขหรือแมวกัดหรือข่วนทุกราย รีบพบแพทย์และรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบชุด เนื่องจากโรคนี้ป้องกันได้ด้วยวัคซีนแต่หากหลังติดเชื้อและมีอาการป่วยแล้ว จะไม่มีหนทางรักษา ต้องเสียชีวิตทุกราย โดย สธ. ได้ตั้งเป้าให้ประเทศไทยปลอดผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าภายในปี 2563
ด้าน นพ.คิมหันต์ ยงรัตนกิจ นพ.สสจ.มหาสารคาม กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่เคาะประตูบ้านให้ความรู้ประชาชน และค้นหาผู้ที่อาจสัมผัสกับเชื้อโรคทั้งที่เลี้ยงตามบ้านและที่วัด ได้ฉีดวัคซีนแล้วรวม 14 ราย ขณะนี้ได้เร่งค้นหาให้ครบทุกหลังคาเรือน หากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า โดยมีอาการดังนี้ หางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง หรือพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เซื่องซึม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้นำชุมชน และให้ช่วยกันนำไปกักขังสังเกตอาการ หากตายก็ให้ส่งตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้าด้วย
ทั้งนี้ ในคนอาจแสดงอาการภายหลังได้รับเชื้อได้ตั้งแต่ 7 วัน หรืออาจนานกว่า 1 ปีก็ได้ โดยเริ่มจากเบื่ออาหาร เจ็บคอ มีไข้ อ่อนเพลีย คันรุนแรงบริเวณที่ถูกกัด แล้วจะลุกลามไปทั่วตัว ผู้ป่วยจะเริ่มกระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม กินอาหารหรือน้ำไม่ได้ เกิดอาการ “กลัวน้ำ” กล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจเป็นอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่