กสร. ชี้ กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานประมงทะเล มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 30 ธ.ค. ที่ผ่านมา เข้มห้ามจ้างลูกจ้างอายุต่ำกว่า 18 ปี คุ้มครองลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปกรณีตกค้างในต่างประเทศต้องจ่ายค่าจ้างจนกว่าจะเดินทางกลับไม่ต่ำกว่า 50% ของค่าจ้างขั้นต่ำ “พีรพัฒน์” หวังกฎกระทรวงนี้ช่วยให้ มะกัน ปรับอันดับไทยพ้นบัญชีค้ามนุษย์แย่สุด
วันนี้ (5 ม.ค.) นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 ที่มีการเสนอขอแก้ไขไปนั้น ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2557 โดยสาระสำคัญ คือ ห้ามจ้างลูกจ้างอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้ความคุ้มครองลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในเรือประมงทุกลำให้จัดเวลาพักไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในระหว่างการทำงาน 24 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า 77 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ให้จัดทำทะเบียนลูกจ้าง เอกสารการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดเป็นภาษาไทย ให้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ให้ลูกจ้างมีการรายงานตัวต่อพนักงานตรวจแรงงานปีละครั้ง พร้อมให้จัดสวัสดิการน้ำดื่ม ห้องสุขา และยาเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ หากลูกจ้างตกค้างอยู่ในต่างประเทศนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างจนกว่าจะเดินทางกลับได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ทั้งนี้ การแก้กฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์และมุ่งหวังให้สหรัฐอเมริกาพิจารณาปรับไทยพ้นจากกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุด (ระดับ Tier 3)
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 ม.ค.) นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 ที่มีการเสนอขอแก้ไขไปนั้น ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2557 โดยสาระสำคัญ คือ ห้ามจ้างลูกจ้างอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้ความคุ้มครองลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในเรือประมงทุกลำให้จัดเวลาพักไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในระหว่างการทำงาน 24 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า 77 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ให้จัดทำทะเบียนลูกจ้าง เอกสารการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดเป็นภาษาไทย ให้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ให้ลูกจ้างมีการรายงานตัวต่อพนักงานตรวจแรงงานปีละครั้ง พร้อมให้จัดสวัสดิการน้ำดื่ม ห้องสุขา และยาเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ หากลูกจ้างตกค้างอยู่ในต่างประเทศนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างจนกว่าจะเดินทางกลับได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ทั้งนี้ การแก้กฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์และมุ่งหวังให้สหรัฐอเมริกาพิจารณาปรับไทยพ้นจากกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุด (ระดับ Tier 3)
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่