เข้าสู่ช่วงบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองของเทศกาลปีใหม่ทั้งที ท่ามกลางวันหยุดยาวที่คนในครอบครัวจะได้มีโอกาสใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเพิ่มความรักความผูกพันกันในครอบครัว ลูกวัยทำงานก็จะได้มีเวลาเจอพ่อแม่วัยชราของตน หรือหากมีลูกก็จะได้ใช้เวลากระชับความสัมพันธ์กันอย่างเต็มอิ่ม
แต่หากเวลาที่มีค่า กับถูกขโมยไปด้วยการที่ลูกเอาแต่สนใจการเล่นเกม ออกไปเที่ยวลั้นลากับเพื่อน หรือหมกตัวอยู่แต่ในห้องเพื่อดูโทรทัศน์ แล้วจะทำอย่างไรกันดี
ปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยาก ปรมาจารย์ด้านการดูแลเด็กอย่าง ศ.นพ.พิภพ จิรภิญโญ อาจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล มีคำตอบมาฝากถึงแฟนานุแฟน ASTVผู้จัดการออนไลน์ทุกท่าน ถ้าลูกติดเกม ติดเพื่อน ติดทีวี จะแก้ไขได้อย่างไร
จากงานเขียนในหนังสือชุด "คัมภีร์เลี้ยงลูกให้เก่งและดีดีกรีฮาร์วาร์ด" ตอนพื้นฐานในการเลี้ยงลูกให้เก่งและดี ของ ศ.นพ.พิภพนั้น อธิบายไว้ว่า ช่วงก่อนวัยรุ่นและวัยรุ่น ลูกจะมีพฤติกรรมที่อยากอิสระ โดยอาจจะเริ่มเหินห่างจากพ่อแม่ เขาอาจจะใช้เวลาส่วนตัวในการอ่านหนังสือการ์ตูนหรือดูรายการทีวี เมื่อปล่อยให้เข้ามีพฤติกรรมเช่นนี้นานๆ เขาก็จะเริ่มติดเกม ติดเพื่อน หรือติดโทรทัศน์ตามมา ซึ่งพ่อแม่จะปวดหัวมาในการแก้ไขพฤติกรรมนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่เล็ก ดังนั้น เมื่อพบพฤติกรรมเช่นนี้ในระยะนี้ต้องอย่าปล่อยเลยตามเลย เพราะจะยิ่งรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการเรียนในภายหลัง
ซึ่งปัญหาการติดเกมนั้น เพราะมีปัญหาในการเรียน ซึ่งหากพ่อแม่เอาใจใส่การเรียนตั้งแต่เด็กจนโต พร้อมช่วยแก้ปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคในการเรียนให้ลุล่วง ไม่หมักหมม ความเครียดก็จะได้รับการแก้ไข แต่หากละเลย ไม่เอาใจใส่ จนเครียดมากขึ้นเขาจะทิ้งปัญหาเหล่านั้นทั้งหมด เบื่อการเรียน จึงออกไปติดเกมหรืออย่างอื่นเพื่อความเพลิดเพลินแทน
ส่วนการติดเพื่อนั้น เขาอาจจะนิยมชมชอบเพื่อนที่มีความสามารถพิเศษกว่าเขา อาจเพราะคอยรับฟังปัญหาหรือเพื่อนคนนั้นชื่นชมในตัวเขา จะเห็นได้ว่า หากพ่อแม่ทำได้ดั่งเพื่อน พ่อแม่จะเป็นทุกๆ อย่างของเขา พ่อแม่จึงสามารถทดแทนเพื่อนได้ และยังดีกว่าเพื่อนตรงที่ให้ความอบอุ่นตลอดเวลา พาไปทัศนาจรทุกครั้งที่มีเวลาว่าง และยังเป็นแหล่งทุนในยามที่เขาต้องการซื้อของที่จำเป็น การมีเพื่อนสนิทของลูกไม่ใช่เรื่องเสียหาย พ่อแม่ควรถามไถ่เพื่อนของลูกว่า เขาเป็นอย่างไร มีความเก่งด้านใด และมีความสามารถพิเศษอย่างไรจากเพื่อนคนอื่น เพื่่อจะได้เข้าใจเพื่อนของลูกได้เป็นอย่างดี และควรหาโอกาสพบเพื่อนของลูกบ้าง ทักทาย และสนทนากับเขา การดูแลอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอเท่านั้น ที่จะเป็นเกราะกำบังไม่ให้ลูกติดเพื่อนมากเกินไป และลูกจะรู้ได้ดีว่าขณะนี้เขามีหน้าที่ในการเรียน เขาขึงจะใส่ใจแต่การเรียนเป็นหลัก
"บางครั้งลูกอาจติดปัญหาอื่น เช่น คุณครู นักเรียนห้องอื่น เด็กคนอื่นรอบๆ บ้าน หรือจากพี่น้องด้วยกันเอง ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจจะกดดันลูกให้หันหน้าหนีจากการเรียนก็ได้ และโปรดระวังในความสำเร็จของพี่หรือน้องคนใดคนหนึ่ง อาจจะส่งผลกดดันกับลูกอีกคนหนึ่งได้ ทั้งนี้ เขาอาจไม่มีความสามารถในทางเดียวกัน การชื่นชมหรือเชิดชูลูกคนหนึ่งตลอดเวลา อาจส่งผลให้ลูกอีกคนคิดว่าพ่อแม่ลำเอียงในการเลี้ยงดู จึงควรระมัดระวังเมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เร่งผลักดันให้ลูกเข้าสู่การติดเกม ติดเพื่อน หรือติดโทรทัศน์ได้"
การอยู่ใกล้ชิดเขาทุกครั้งที่มีเวลาว่าง จะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เขาไม่ว้าเหว่ แต่บ่อยครั้งที่พ่อแม่มักไม่มีเวลาให้ แม้จะมีเวลาว่างจะรีบมาหา แต่การพบกันที่น้อยเกินไป เขาจึงรู้สึกโดดเดี่ยว ต้องหาทางออกเพื่อคร่าเวลาโดยการติดเกม ติดโทรทัศน์ หรือติดเพื่อน และเมื่อติดสิ่งเหล่านี้แล้ว ทำให้เขาเพลิดเพลินได้ ก็จะเป็นการยากที่จะดึงเขากลับมา ถ้าไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุ
ทั้งนี้ การเล่นเกม อ่านหนังสือการ์ตูน การติดเพื่อน หรือติดโทรทัศน์ไม่เป็นการเสียหายมากนัก ถ้าทำในเวลาที่เหมาะสม เช่น หลังสอบใหม่ๆ เพื่อการคลายเครียด อาจให้เล่นเกมที่ชื่นชอบ 2-3 ชั่วโมง เป็นเวลา 2-3 วัน แต่หลังจากนั้นก็ต้องเข้าทำกิจกรรมปกติเช่นกัน หลังสอบเสร็จอาจจะอนุญาตให้ดูภาพยนตร์กับเพื่อนๆ แล้วจึงค่อยกลับบ้าน เป็นต้น การย้ายสิ่งที่เขาชื่นชอบมาหลังการสอบจะทำให้เขามีสมาธิกับการเรียนและการสอบมากยิ่งขึ้น
ที่น่าห่วงคือ ส่วนใหญ่เมื่อพบว่าลูกติดเกม หรือหนังสือการ์ตูน โดยไม่สนใจเรียน มักจะใช้วิธีบังคับ เช่น ห้ามลูกเล่น หรือห้ามเล่นเกินวันละ 1-2 ชั่วโมง อาจจะได้ผลเมื่อลูกอยู่ต่อหน้า ลูกอาจจะหาทางออกโดยการเล่นที่อื่นโดยพ่อแม่ไม่รู้ แอบนำการ์ตูนไปอ่านที่โรงเรียน จึงควรทบทวนการเลี้ยงดูที่ผ่านมา ไม่มีคำว่าสายเกินไปในการมอบความอบอุ่นในการเลี้ยงดูกลับคืนมา
เพียงแต่ในระยะแรกๆ ลูกอาจจะรู้สึกขัดเขินกับการมอบความรักของพ่อแม่ก็ได้ การไปพักผ่อนชายทะเล หรือต่างประเทศของทั้งครอบครัวเมื่อปิดภาคเรียน และการหากิจกรรมเล่นภายในครอบครัวจะช่วยดึงเขาให้กลับมาชอบในสิ่งนี้ กิจกรรมที่ทำร่วมกันนี้มีทั้งกีฬากลางแจ้ง กีฬาในร่ม หรือเกมความคิดต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงให้ลูกกลับเข้าสู่คนของครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
แต่หากเวลาที่มีค่า กับถูกขโมยไปด้วยการที่ลูกเอาแต่สนใจการเล่นเกม ออกไปเที่ยวลั้นลากับเพื่อน หรือหมกตัวอยู่แต่ในห้องเพื่อดูโทรทัศน์ แล้วจะทำอย่างไรกันดี
ปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยาก ปรมาจารย์ด้านการดูแลเด็กอย่าง ศ.นพ.พิภพ จิรภิญโญ อาจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล มีคำตอบมาฝากถึงแฟนานุแฟน ASTVผู้จัดการออนไลน์ทุกท่าน ถ้าลูกติดเกม ติดเพื่อน ติดทีวี จะแก้ไขได้อย่างไร
จากงานเขียนในหนังสือชุด "คัมภีร์เลี้ยงลูกให้เก่งและดีดีกรีฮาร์วาร์ด" ตอนพื้นฐานในการเลี้ยงลูกให้เก่งและดี ของ ศ.นพ.พิภพนั้น อธิบายไว้ว่า ช่วงก่อนวัยรุ่นและวัยรุ่น ลูกจะมีพฤติกรรมที่อยากอิสระ โดยอาจจะเริ่มเหินห่างจากพ่อแม่ เขาอาจจะใช้เวลาส่วนตัวในการอ่านหนังสือการ์ตูนหรือดูรายการทีวี เมื่อปล่อยให้เข้ามีพฤติกรรมเช่นนี้นานๆ เขาก็จะเริ่มติดเกม ติดเพื่อน หรือติดโทรทัศน์ตามมา ซึ่งพ่อแม่จะปวดหัวมาในการแก้ไขพฤติกรรมนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่เล็ก ดังนั้น เมื่อพบพฤติกรรมเช่นนี้ในระยะนี้ต้องอย่าปล่อยเลยตามเลย เพราะจะยิ่งรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการเรียนในภายหลัง
ซึ่งปัญหาการติดเกมนั้น เพราะมีปัญหาในการเรียน ซึ่งหากพ่อแม่เอาใจใส่การเรียนตั้งแต่เด็กจนโต พร้อมช่วยแก้ปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคในการเรียนให้ลุล่วง ไม่หมักหมม ความเครียดก็จะได้รับการแก้ไข แต่หากละเลย ไม่เอาใจใส่ จนเครียดมากขึ้นเขาจะทิ้งปัญหาเหล่านั้นทั้งหมด เบื่อการเรียน จึงออกไปติดเกมหรืออย่างอื่นเพื่อความเพลิดเพลินแทน
ส่วนการติดเพื่อนั้น เขาอาจจะนิยมชมชอบเพื่อนที่มีความสามารถพิเศษกว่าเขา อาจเพราะคอยรับฟังปัญหาหรือเพื่อนคนนั้นชื่นชมในตัวเขา จะเห็นได้ว่า หากพ่อแม่ทำได้ดั่งเพื่อน พ่อแม่จะเป็นทุกๆ อย่างของเขา พ่อแม่จึงสามารถทดแทนเพื่อนได้ และยังดีกว่าเพื่อนตรงที่ให้ความอบอุ่นตลอดเวลา พาไปทัศนาจรทุกครั้งที่มีเวลาว่าง และยังเป็นแหล่งทุนในยามที่เขาต้องการซื้อของที่จำเป็น การมีเพื่อนสนิทของลูกไม่ใช่เรื่องเสียหาย พ่อแม่ควรถามไถ่เพื่อนของลูกว่า เขาเป็นอย่างไร มีความเก่งด้านใด และมีความสามารถพิเศษอย่างไรจากเพื่อนคนอื่น เพื่่อจะได้เข้าใจเพื่อนของลูกได้เป็นอย่างดี และควรหาโอกาสพบเพื่อนของลูกบ้าง ทักทาย และสนทนากับเขา การดูแลอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอเท่านั้น ที่จะเป็นเกราะกำบังไม่ให้ลูกติดเพื่อนมากเกินไป และลูกจะรู้ได้ดีว่าขณะนี้เขามีหน้าที่ในการเรียน เขาขึงจะใส่ใจแต่การเรียนเป็นหลัก
"บางครั้งลูกอาจติดปัญหาอื่น เช่น คุณครู นักเรียนห้องอื่น เด็กคนอื่นรอบๆ บ้าน หรือจากพี่น้องด้วยกันเอง ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจจะกดดันลูกให้หันหน้าหนีจากการเรียนก็ได้ และโปรดระวังในความสำเร็จของพี่หรือน้องคนใดคนหนึ่ง อาจจะส่งผลกดดันกับลูกอีกคนหนึ่งได้ ทั้งนี้ เขาอาจไม่มีความสามารถในทางเดียวกัน การชื่นชมหรือเชิดชูลูกคนหนึ่งตลอดเวลา อาจส่งผลให้ลูกอีกคนคิดว่าพ่อแม่ลำเอียงในการเลี้ยงดู จึงควรระมัดระวังเมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เร่งผลักดันให้ลูกเข้าสู่การติดเกม ติดเพื่อน หรือติดโทรทัศน์ได้"
การอยู่ใกล้ชิดเขาทุกครั้งที่มีเวลาว่าง จะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เขาไม่ว้าเหว่ แต่บ่อยครั้งที่พ่อแม่มักไม่มีเวลาให้ แม้จะมีเวลาว่างจะรีบมาหา แต่การพบกันที่น้อยเกินไป เขาจึงรู้สึกโดดเดี่ยว ต้องหาทางออกเพื่อคร่าเวลาโดยการติดเกม ติดโทรทัศน์ หรือติดเพื่อน และเมื่อติดสิ่งเหล่านี้แล้ว ทำให้เขาเพลิดเพลินได้ ก็จะเป็นการยากที่จะดึงเขากลับมา ถ้าไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุ
ทั้งนี้ การเล่นเกม อ่านหนังสือการ์ตูน การติดเพื่อน หรือติดโทรทัศน์ไม่เป็นการเสียหายมากนัก ถ้าทำในเวลาที่เหมาะสม เช่น หลังสอบใหม่ๆ เพื่อการคลายเครียด อาจให้เล่นเกมที่ชื่นชอบ 2-3 ชั่วโมง เป็นเวลา 2-3 วัน แต่หลังจากนั้นก็ต้องเข้าทำกิจกรรมปกติเช่นกัน หลังสอบเสร็จอาจจะอนุญาตให้ดูภาพยนตร์กับเพื่อนๆ แล้วจึงค่อยกลับบ้าน เป็นต้น การย้ายสิ่งที่เขาชื่นชอบมาหลังการสอบจะทำให้เขามีสมาธิกับการเรียนและการสอบมากยิ่งขึ้น
ที่น่าห่วงคือ ส่วนใหญ่เมื่อพบว่าลูกติดเกม หรือหนังสือการ์ตูน โดยไม่สนใจเรียน มักจะใช้วิธีบังคับ เช่น ห้ามลูกเล่น หรือห้ามเล่นเกินวันละ 1-2 ชั่วโมง อาจจะได้ผลเมื่อลูกอยู่ต่อหน้า ลูกอาจจะหาทางออกโดยการเล่นที่อื่นโดยพ่อแม่ไม่รู้ แอบนำการ์ตูนไปอ่านที่โรงเรียน จึงควรทบทวนการเลี้ยงดูที่ผ่านมา ไม่มีคำว่าสายเกินไปในการมอบความอบอุ่นในการเลี้ยงดูกลับคืนมา
เพียงแต่ในระยะแรกๆ ลูกอาจจะรู้สึกขัดเขินกับการมอบความรักของพ่อแม่ก็ได้ การไปพักผ่อนชายทะเล หรือต่างประเทศของทั้งครอบครัวเมื่อปิดภาคเรียน และการหากิจกรรมเล่นภายในครอบครัวจะช่วยดึงเขาให้กลับมาชอบในสิ่งนี้ กิจกรรมที่ทำร่วมกันนี้มีทั้งกีฬากลางแจ้ง กีฬาในร่ม หรือเกมความคิดต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงให้ลูกกลับเข้าสู่คนของครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่