เล็งใช้ค่าจ้างลอยตัวกระตุ้นพัฒนาฝีมือ คสรท. หวั่นนายจ้างเอาเปรียบ - จ่ายตามอำเภอใจ ด้าน รมว.แรงงาน ชี้ค่าจ้างยืน 300 บาท เหมาะสมแล้ว ส่วนข้อเสนอเครือข่ายแรงงานต้องมีการหารือ
นายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานได้วางแนวทางแก้ปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำในระยะยาวและส่งเสริมการได้รับค่าจ้างตามทักษะฝีมือโดยให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ศึกษาวิจัยเรื่อง “ค่าจ้างลอยตัว” ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 - มิถุนายน 2558 โดยศึกษาถึงการกำหนดอัตราค่าขั้นต่ำของไทยที่ผ่านมา และรูปแบบระบบค่าจ้างของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาเหนือ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน และระบบค่าจ้างลอยตัวแบ่งตามกลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มบริการและกลุ่มอาชีพต่างๆ และกลุ่มจังหวัดเศรษฐกิจชายแดนและแนวทางการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมเป็นธรรม รวมทั้งแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อกระทรวงแรงงานต่อไป
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า โดยส่วนตัวมองว่าหากมีการใช้ค่าจ้างลอยตัวจริงก็ต้องมีกลไกแทรกแซงค่าจ้างลอยตัว ไม่ใช่ปล่อยให้ลอยตัวไปเลยเพราะปัจจุบันประเทศไทยยังใช้แรงงานแบบเข้มข้น ดังนั้น ค่าจ้างขั้นต่ำยังจำเป็นต้องมีอยู่แต่เป็นไปในลักษณะค่าจ้างกลาง เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้แรงงานไร้ฝีมือเสียเปรียบ และนายจ้างใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ เพราะการมีอำนาจต่อรองของลูกจ้างต่ำ หากไม่มีค่าจ้างกลางเป็นหลักประกัน จะทำให้ความเหลื่อมล้ำขยายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ก็ยังกำหนดให้มีค่าจ้างขั้นต่ำ
“การใช้ค่าจ้างลอยตัวต้องมีกลไกการต่อรองได้จริงเพื่อไม่ให้กลายเป็นกลไกทางการเมืองหรือประชานิยม โดยกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการเร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามทักษะฝีมือ เช่น การลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร การลดภาษีอบรมพัฒนาทักษะฝีมือ รวมทั้งการตรวจและคุ้มครองสิทธิแรงงานให้ได้รับค่าจ้างตามทักษะฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับระบบค่าจ้างลอยตัวโดยเฉพาะหากมีการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะจะไม่มีกลไกคุ้มครองแรงงานในเรื่องค่าจ้างและไม่มีบอร์ดค่าจ้างคอยกำกับดูแล ขณะที่อำนาจการต่อรองของลูกจ้างต่ำ สหภาพแรงงานยังจำนวนมีน้อย จะทำให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างได้ตามอำเภอใจ ลูกจ้างจะไม่มีวันลืมตาอ้าปากได้ตลอดไป สร้างความเดือดร้อนแก่ลูกจ้างทั่วประเทศ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมขยายตัวยิ่งขึ้นซึ่งสวนทางกับนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ประกาศจะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
“หากจะปรับระบบค่าจ้างใหม่ควรทำในรูปแบบของโครงสร้างค่าจ้างโดยแบ่งเป็น 2 แบบคือค่าจ้างแรกใช้กับกลุ่มลูกจ้างเข้าใหม่ และค่าจ้างประจำปีใช้กับกลุ่มลูกจ้างเก่าโดยขึ้นเงินเดือนตามอายุงานและประสบการณ์” รองประธาน คสรท. กล่าว
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวว่า ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 300 บาทนั้นเหมาะสมแล้วซึ่งมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้แรงงานต่างด้าวไหลเข้ามาไทยจำนวนมาก ส่วนที่เครือข่ายแรงงานเสนอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หลายฝ่ายก็ต้องหารือกันในทางวิชาการกันต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในประเทศต่างๆให้ความสำคัญกับผลิตภาพแรงงานมากกว่าค่าจ้างหรือจำนวนแรงงาน ดังนั้น ในอนาคตความสามารถในการทำงานของแรงงานจะเป็นข้อกำหนดแรกในเรื่องอัตราค่าจ้าง หลังจากนี้ตามหลักวิชาการใครฝีมือดีก็ต้องได้ค่าตอบแทนสูงขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานได้วางแนวทางแก้ปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำในระยะยาวและส่งเสริมการได้รับค่าจ้างตามทักษะฝีมือโดยให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ศึกษาวิจัยเรื่อง “ค่าจ้างลอยตัว” ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 - มิถุนายน 2558 โดยศึกษาถึงการกำหนดอัตราค่าขั้นต่ำของไทยที่ผ่านมา และรูปแบบระบบค่าจ้างของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาเหนือ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน และระบบค่าจ้างลอยตัวแบ่งตามกลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มบริการและกลุ่มอาชีพต่างๆ และกลุ่มจังหวัดเศรษฐกิจชายแดนและแนวทางการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมเป็นธรรม รวมทั้งแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อกระทรวงแรงงานต่อไป
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า โดยส่วนตัวมองว่าหากมีการใช้ค่าจ้างลอยตัวจริงก็ต้องมีกลไกแทรกแซงค่าจ้างลอยตัว ไม่ใช่ปล่อยให้ลอยตัวไปเลยเพราะปัจจุบันประเทศไทยยังใช้แรงงานแบบเข้มข้น ดังนั้น ค่าจ้างขั้นต่ำยังจำเป็นต้องมีอยู่แต่เป็นไปในลักษณะค่าจ้างกลาง เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้แรงงานไร้ฝีมือเสียเปรียบ และนายจ้างใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ เพราะการมีอำนาจต่อรองของลูกจ้างต่ำ หากไม่มีค่าจ้างกลางเป็นหลักประกัน จะทำให้ความเหลื่อมล้ำขยายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ก็ยังกำหนดให้มีค่าจ้างขั้นต่ำ
“การใช้ค่าจ้างลอยตัวต้องมีกลไกการต่อรองได้จริงเพื่อไม่ให้กลายเป็นกลไกทางการเมืองหรือประชานิยม โดยกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการเร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามทักษะฝีมือ เช่น การลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร การลดภาษีอบรมพัฒนาทักษะฝีมือ รวมทั้งการตรวจและคุ้มครองสิทธิแรงงานให้ได้รับค่าจ้างตามทักษะฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับระบบค่าจ้างลอยตัวโดยเฉพาะหากมีการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะจะไม่มีกลไกคุ้มครองแรงงานในเรื่องค่าจ้างและไม่มีบอร์ดค่าจ้างคอยกำกับดูแล ขณะที่อำนาจการต่อรองของลูกจ้างต่ำ สหภาพแรงงานยังจำนวนมีน้อย จะทำให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างได้ตามอำเภอใจ ลูกจ้างจะไม่มีวันลืมตาอ้าปากได้ตลอดไป สร้างความเดือดร้อนแก่ลูกจ้างทั่วประเทศ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมขยายตัวยิ่งขึ้นซึ่งสวนทางกับนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ประกาศจะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
“หากจะปรับระบบค่าจ้างใหม่ควรทำในรูปแบบของโครงสร้างค่าจ้างโดยแบ่งเป็น 2 แบบคือค่าจ้างแรกใช้กับกลุ่มลูกจ้างเข้าใหม่ และค่าจ้างประจำปีใช้กับกลุ่มลูกจ้างเก่าโดยขึ้นเงินเดือนตามอายุงานและประสบการณ์” รองประธาน คสรท. กล่าว
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวว่า ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 300 บาทนั้นเหมาะสมแล้วซึ่งมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้แรงงานต่างด้าวไหลเข้ามาไทยจำนวนมาก ส่วนที่เครือข่ายแรงงานเสนอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หลายฝ่ายก็ต้องหารือกันในทางวิชาการกันต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในประเทศต่างๆให้ความสำคัญกับผลิตภาพแรงงานมากกว่าค่าจ้างหรือจำนวนแรงงาน ดังนั้น ในอนาคตความสามารถในการทำงานของแรงงานจะเป็นข้อกำหนดแรกในเรื่องอัตราค่าจ้าง หลังจากนี้ตามหลักวิชาการใครฝีมือดีก็ต้องได้ค่าตอบแทนสูงขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่