องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ได้ประกาศวันนี้ว่า ยูนิเซฟสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลเรื่องการให้เงินสนับสนุนเด็กรายเดือนแก่ครอบครัวที่มีเด็กเล็กเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาเด็ก เนื่องจากพบว่า ปัจจุบันยังมีเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีกว่า 4 ล้านคนในประเทศไทย ที่ยังไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคมจากกลไกที่มีอยู่
แถลงการณ์ของยูนิเซฟมีขึ้นหลังจากนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีได้ประกาศแนวคิดนี้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับการให้เงินสนับสนุนเดือนละ 400 บาทแก่ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต
“เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็ก คือ การคุ้มครองทางสังคมชิ้นสำคัญที่ประเทศไทยยังขาดอยู่” นายพิชัย ราชภัณฑารี ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย กล่าว โดยชี้ให้เห็นว่า แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีระบบคุ้มครองทางสังคมในหลายด้าน เช่น เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพสำหรับผู้พิการ เบี้ยยังชีพสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ตลอดจนการรักษาพยาบาลและการเรียนฟรีถ้วนหน้า “แต่ยังมีเด็กเล็กอีกจำนวนมากในประเทศไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านั้นได้เนื่องจากข้อจำกัดทางการเงินภายในครอบครัว ซึ่งเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว” นายพิชัยกล่าว
ข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี อยู่ราว 5.4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเด็กประมาณ 1.26 ล้านคน หรือร้อยละ 23 ที่ได้รับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูจากระบบประกันสังคม ดังนั้น จะเห็นได้ว่ายังเหลือเด็กกว่า 4 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับเงินอุดหนุนเลี้ยงดู
ยูนิเซฟชี้ว่า ช่วงขวบปีแรกๆ ของชีวิต คือ ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตในการพัฒนาทางสติปัญญาและร่างกายของเด็ก โดยเป็นช่วงที่ต้องลงทุนพัฒนาเด็กเนื่องจากจะให้ผลตอบแทนสูงสุด นอกจากนี้ ประสบการณ์จากประเทศต่างๆ ได้แสดงให้เห็นว่า เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กนี้ มีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ และการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างดียิ่ง หากมีการออกแบบและดำเนินการอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ ยูนิเซฟเชื่อว่า วิธีการให้เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กควรเป็นการให้แบบถ้วนหน้ามากกว่าการให้แบบเจาะจงเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากทุกคนจะไม่ตกหล่น การศึกษาหลายชิ้นพบว่า วิธีการให้เงินอุดหนุนแบบเจาะจงเฉพาะกลุ่ม บ่อยครั้งมักไม่ครอบคลุมครอบครัวที่ยากจนที่สุด ทำให้เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือที่สุดกลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ เงินอุดหนุนควรให้ในรูปแบบของเงินสด ไม่ใช่คูปอง เพราะเงินสดจะช่วยให้ครอบครัวสามารถใช้จ่ายในเรื่องที่สำคัญที่สุดได้ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วย ทั้งนี้หลักฐานและประสบการณ์จากหลายประเทศได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ปกครองมักจะใช้เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กไปกับเรื่องที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อเด็กจริงๆ เช่น อาหาร การรักษาพยาบาล และการศึกษา
แถลงการณ์ของยูนิเซฟมีขึ้นหลังจากนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีได้ประกาศแนวคิดนี้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับการให้เงินสนับสนุนเดือนละ 400 บาทแก่ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต
“เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็ก คือ การคุ้มครองทางสังคมชิ้นสำคัญที่ประเทศไทยยังขาดอยู่” นายพิชัย ราชภัณฑารี ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย กล่าว โดยชี้ให้เห็นว่า แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีระบบคุ้มครองทางสังคมในหลายด้าน เช่น เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพสำหรับผู้พิการ เบี้ยยังชีพสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ตลอดจนการรักษาพยาบาลและการเรียนฟรีถ้วนหน้า “แต่ยังมีเด็กเล็กอีกจำนวนมากในประเทศไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านั้นได้เนื่องจากข้อจำกัดทางการเงินภายในครอบครัว ซึ่งเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว” นายพิชัยกล่าว
ข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี อยู่ราว 5.4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเด็กประมาณ 1.26 ล้านคน หรือร้อยละ 23 ที่ได้รับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูจากระบบประกันสังคม ดังนั้น จะเห็นได้ว่ายังเหลือเด็กกว่า 4 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับเงินอุดหนุนเลี้ยงดู
ยูนิเซฟชี้ว่า ช่วงขวบปีแรกๆ ของชีวิต คือ ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตในการพัฒนาทางสติปัญญาและร่างกายของเด็ก โดยเป็นช่วงที่ต้องลงทุนพัฒนาเด็กเนื่องจากจะให้ผลตอบแทนสูงสุด นอกจากนี้ ประสบการณ์จากประเทศต่างๆ ได้แสดงให้เห็นว่า เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กนี้ มีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ และการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างดียิ่ง หากมีการออกแบบและดำเนินการอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ ยูนิเซฟเชื่อว่า วิธีการให้เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กควรเป็นการให้แบบถ้วนหน้ามากกว่าการให้แบบเจาะจงเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากทุกคนจะไม่ตกหล่น การศึกษาหลายชิ้นพบว่า วิธีการให้เงินอุดหนุนแบบเจาะจงเฉพาะกลุ่ม บ่อยครั้งมักไม่ครอบคลุมครอบครัวที่ยากจนที่สุด ทำให้เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือที่สุดกลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ เงินอุดหนุนควรให้ในรูปแบบของเงินสด ไม่ใช่คูปอง เพราะเงินสดจะช่วยให้ครอบครัวสามารถใช้จ่ายในเรื่องที่สำคัญที่สุดได้ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วย ทั้งนี้หลักฐานและประสบการณ์จากหลายประเทศได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ปกครองมักจะใช้เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กไปกับเรื่องที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อเด็กจริงๆ เช่น อาหาร การรักษาพยาบาล และการศึกษา