หมอเด็กชี้ต้องเร่งค้นหาโรคอ้วน-ภาวะน้ำหนักเกิน ตั้งแต่ยังเล็ก แนะพ่อแม่ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงตรวจสอบค่าเฉลี่ยเป็นระยะ ป้องกันก่อนสาย เกิดโรคแทรกซ้อน
ผศ.พญ.พัชราภา ทวีกุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีเด็กและผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น การป้องกันหรือเริ่มวินิจฉัยภาวะอ้วนตั้งแต่แรกเป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่และผู้ปกครองสามารถทราบได้ว่าลูกเริ่มมีภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงลูกเป็นระยะ โดยนำค่าน้ำหนักและส่วนสูงที่วัดได้ มาเปรียบเทียบในกราฟแสดงน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งกราฟดังกล่าวสามารถดูได้จากสมุดตรวจร่างกาย หรือ โรงพยาบาล สถานพยาบาลที่ตรวจสุขภาพหรือฉีดวัคซีน ซึ่งจะแสดงค่าเฉลี่ยของเด็กไทยเพศเดียวกัน
ผศ.พญ.พัชราภา กล่าวว่า เกณฑ์การวินิจฉัยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคอ้วน (obesity) คือ น้ำหนักตัวของลูก สูงกว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กเกิน 3 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ภาวะน้ำหนักเกิน หรือ เริ่มอ้วน (overweight) คือ น้ำหนักตัวของลูก สูงกว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กเกิน 2 เท่า จนถึง 3 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เช่น เด็กหญิงอิ่ม อายุ 4 ปี มีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม และส่วนสูง 105 เซนติเมตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบก็จะพบว่ามีเกณฑ์เฉลี่ยสูงกว่าในเด็กอายุเฉลี่ยเดียวกันและอยู่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคอ้วน
"การติดตามส่วนสูงน้ำหนักของเด็กจะทำให้ทราบว่า ลูกเริ่มมีภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วน หรือ ผอมเกินไปหรือไม่ ซึ่งเมื่อพบภาวะเกิน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น รับคำแนะนำเรื่องการให้อาหารและนม การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมตามวัย เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลเด็กเหล่านี้อย่างเหมาะสม ลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วนต่อไป หรือหากปล่อยให้เด็กอยู่ในภาวะผอมเกินไปก็จะทำให้เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งอาจส่งผลต่อการเรียนรู้ การเจริญเติบโตที่เหมาะสมได้" ผศ.พญ.พัชราภา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผศ.พญ.พัชราภา ทวีกุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีเด็กและผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น การป้องกันหรือเริ่มวินิจฉัยภาวะอ้วนตั้งแต่แรกเป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่และผู้ปกครองสามารถทราบได้ว่าลูกเริ่มมีภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงลูกเป็นระยะ โดยนำค่าน้ำหนักและส่วนสูงที่วัดได้ มาเปรียบเทียบในกราฟแสดงน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งกราฟดังกล่าวสามารถดูได้จากสมุดตรวจร่างกาย หรือ โรงพยาบาล สถานพยาบาลที่ตรวจสุขภาพหรือฉีดวัคซีน ซึ่งจะแสดงค่าเฉลี่ยของเด็กไทยเพศเดียวกัน
ผศ.พญ.พัชราภา กล่าวว่า เกณฑ์การวินิจฉัยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคอ้วน (obesity) คือ น้ำหนักตัวของลูก สูงกว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กเกิน 3 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ภาวะน้ำหนักเกิน หรือ เริ่มอ้วน (overweight) คือ น้ำหนักตัวของลูก สูงกว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กเกิน 2 เท่า จนถึง 3 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เช่น เด็กหญิงอิ่ม อายุ 4 ปี มีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม และส่วนสูง 105 เซนติเมตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบก็จะพบว่ามีเกณฑ์เฉลี่ยสูงกว่าในเด็กอายุเฉลี่ยเดียวกันและอยู่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคอ้วน
"การติดตามส่วนสูงน้ำหนักของเด็กจะทำให้ทราบว่า ลูกเริ่มมีภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วน หรือ ผอมเกินไปหรือไม่ ซึ่งเมื่อพบภาวะเกิน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น รับคำแนะนำเรื่องการให้อาหารและนม การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมตามวัย เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลเด็กเหล่านี้อย่างเหมาะสม ลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วนต่อไป หรือหากปล่อยให้เด็กอยู่ในภาวะผอมเกินไปก็จะทำให้เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งอาจส่งผลต่อการเรียนรู้ การเจริญเติบโตที่เหมาะสมได้" ผศ.พญ.พัชราภา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่