เปิดตัวทีมหมอครอบครัว 30,000 ทีม ฟุ้งช่วยเขตเมือง-ชนบท เข้าถึงบริการเท่าเทียม ชี้ดูแลถึงระดับครัวเรือน ทำงานร่วมกับชุมชน เน้นส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ประสานส่งต่อ รพ.ทุกระดับ ลดปัญหารอคิว ด้าน รพช.เฟ้นตัวแทนครอบครัวร่วมทีมด้วย พร้อมเสนอขยายไปยังกลุ่มแรงงานต่างด้าว ประกันสังคม
วันนี้ (22 ธ.ค.) ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข และ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. เปิดตัว “ทีมหมอครอบครัว” ประชาชน “อุ่นใจ” มีญาติทั่วไทย เป็นหมอครอบครัว โดย ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า รัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขให้เท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ และทั่วถึง เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2558 แก่คนไทย สธ.จึงจัด “ทีมหมอครอบครัว” เข้าไปบริการดูแลสุขภาพทุกครัวเรือนในระดับบริการปฐมภูมิ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยกลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือดูแลส่งเสริมสุขภาพคนในครอบครัวไม่ให้ป่วย และดูแลผู้ป่วยที่พักฟื้นอยู่ที่บ้าน ซึ่งขณะนี้ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.ผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือเรียกว่า ติดเตียงจำนวน 163,860 คน คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของผู้สูงอายุที่มี 9 ล้านกว่าคน 2.ผู้พิการ จำนวน 1,580,525 คน และ 3.ผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 41,557 คน รวมทั้ง 3 กลุ่มมีจำนวน 1,785,942 คน
"ทีมหมอครอบครัว จะเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น การดำเนินการดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจะเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.2558 ดำเนินการใน 250 อำเภอทุกจังหวัด จัดทีมหมอครอบครัว จำนวน 30,000 ทีม และระยะที่ 2 ตั้งแต่เม.ย. 2558 เป็นต้นไป จะขยายครอบคลุมทุกอำเภอ โดยทีมหมอครอบครัว เป็นทีมงานใหญ่ ประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพของบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึง อสม. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ชุมชน และภาคประชาชน เป็นการปฏิรูปการดูแลสุขภาพประชาชนในรูปแบบใหม่ ต่อยอดจากฐานการทำงานเดิมของระบบบริการสุขภาพของไทย ให้คำปรึกษาถึงบ้านและประสานหน่วยบริการอย่างใกล้ชิด เสมือนเป็นหนึ่งในเพื่อนสนิทหรือญาติของครอบครัว ทำให้ประชาชนได้รับการดูแลครอบคลุมทุกมิติทั้ง การรักษา ส่งเสริม และป้องกัน รวมถึงประสานการส่งต่อไปยังหน่วยบริการทุกระดับ โดยหมอประจำครอบครัว 1 คน จะรับผิดชอบประชากรประมาณ 1,250 -2,500 คน" รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ทีมหมอครอบครัว จะมีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือแพทย์เฉพาะทางที่สนใจในงานบริการระดับปฐมภูมิ เป็นที่ปรึกษา แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับชุมชน ประกอบด้วย ภาคประชาชนในพื้นที่ เช่น อสม. อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสา นักบริบาล แกนนำครอบครัวและประชาคม คอยช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวเบื้องต้นประดุจญาติ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ เมื่อต้องไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล 2.ระดับตำบล ประกอบด้วย บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เช่น พยาบาลเวชปฏิบัติ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข ทันตาภิบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ มีหน้าที่เป็นหมอครอบครัว ดูแลปัญหาสุขภาพรักษาพยาบาลเบื้องต้น ประสานส่งต่อเมื่อเกินความสามารถ มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค และประสานท้องถิ่น ภาครัฐอื่นๆ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับครอบครัวและชุมชน และเป็นพี่เลี้ยงทีมชุมชน
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า และ 3.ระดับอำเภอ ประกอบด้วย แพทย์และสหสาขาวิชาชีพ เช่น แพทย์เวชศาสตร์ แพทย์เฉพาะทาง แพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ นักสุขภาพจิต ในโรงพยาบาลและทีมจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยง สนับสนุนบริหารจัดการพัฒนาศักยภาพแก่ทีมระดับตำบล และชุมชน ทั้งนี้ พื้นที่เขตชนบทเป็นความรับผิดชอบของ รพ.สต. ส่วน เขตเมืองเป็นความรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) ส่วนเขตอำเภอเมือง นอกเขตเทศบาลอยู่ในความดูแลดำเนินการโดย รพ.สต. และมีแพทย์จากโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป เป็นที่ปรึกษา ระบบบริการสุขภาพตั้งแต่ปี 2558 จะทั่วถึงทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง เข้าถึงบริการเท่าเทียมอย่างไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่
ด้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ทุกแห่งกำลังเตรียมความพร้อมปฏิบัติตามนโยบายของขวัญของ สธ. เพราะส่วนใหญ่ก็เป็นงานที่ดำเนินการมาก่อนอยู่แล้ว เช่น เรื่องทันตกรรม โดยครั้งนี้จะให้กลุ่มวิชาชีพทันตกรรมเข้าร่วมกับทีมหมอครอบครัว จัดโครงสร้างแบ่งทีมในการดูแลประชาชน และเพื่อให้การทำงานสอดประสานจะมีการคัดเลือกตัวแทนครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ มีผู้พิการ และโรคประจำตัว เข้ามาอบรมการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับทีมที่ปรึกษาหมอครอบครัว ถือเป็นการพัฒนาระบบการติดต่อ โดยรอบแรกอาจจะทำ 20% ขยายเป็น 50% เป็น 70% และขยายให้ครอบคลุม 100% ส่วนการส่งตัวผู้ป่วยจากโรงพยาบาลหนึ่งไปอีกแห่งแล้วต้องรอคิวใหม่นั้น ทีมครอบครัวจะประสานงานภายในกลุ่ม ดูว่าผู้ป่วยคนนี้ต้องได้รับการส่งต่อหรือไม่ ถ้าไปควรไปพบเวลาไหน ระหว่างที่ผู้ป่วยเดินทางก็จะมีการทำบัตร จองคิวให้แล้ว ถือเป็นการพัฒนาระบบส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ ส่วนครอบครัวที่ไม่มีผู้แทนเป็นอาสาสมัครครอบครัวระบบปกติก็จะดูแลเรื่องการส่งต่อ
“ตอนนี้ รพช.ทุกแห่งพร้อมเดินหน้าแล้ว และหลายรพ.ดำเนินการไปแล้ว นอกจากนี้ เรายังอยากจะพัฒนาไปยังอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว และอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มประกันสังคมด้วย เพราะตอนนี้ประกันสังคมไม่มีตัวแทนเลย ตอนนี้เสนอไป รมช.สาธารณสุขแล้ว อยากให้ท่านไปคุยกับประกันสังคม” นพ.อารักษ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ธ.ค.) ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข และ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. เปิดตัว “ทีมหมอครอบครัว” ประชาชน “อุ่นใจ” มีญาติทั่วไทย เป็นหมอครอบครัว โดย ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า รัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขให้เท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ และทั่วถึง เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2558 แก่คนไทย สธ.จึงจัด “ทีมหมอครอบครัว” เข้าไปบริการดูแลสุขภาพทุกครัวเรือนในระดับบริการปฐมภูมิ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยกลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือดูแลส่งเสริมสุขภาพคนในครอบครัวไม่ให้ป่วย และดูแลผู้ป่วยที่พักฟื้นอยู่ที่บ้าน ซึ่งขณะนี้ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.ผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือเรียกว่า ติดเตียงจำนวน 163,860 คน คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของผู้สูงอายุที่มี 9 ล้านกว่าคน 2.ผู้พิการ จำนวน 1,580,525 คน และ 3.ผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 41,557 คน รวมทั้ง 3 กลุ่มมีจำนวน 1,785,942 คน
"ทีมหมอครอบครัว จะเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น การดำเนินการดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจะเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.2558 ดำเนินการใน 250 อำเภอทุกจังหวัด จัดทีมหมอครอบครัว จำนวน 30,000 ทีม และระยะที่ 2 ตั้งแต่เม.ย. 2558 เป็นต้นไป จะขยายครอบคลุมทุกอำเภอ โดยทีมหมอครอบครัว เป็นทีมงานใหญ่ ประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพของบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึง อสม. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ชุมชน และภาคประชาชน เป็นการปฏิรูปการดูแลสุขภาพประชาชนในรูปแบบใหม่ ต่อยอดจากฐานการทำงานเดิมของระบบบริการสุขภาพของไทย ให้คำปรึกษาถึงบ้านและประสานหน่วยบริการอย่างใกล้ชิด เสมือนเป็นหนึ่งในเพื่อนสนิทหรือญาติของครอบครัว ทำให้ประชาชนได้รับการดูแลครอบคลุมทุกมิติทั้ง การรักษา ส่งเสริม และป้องกัน รวมถึงประสานการส่งต่อไปยังหน่วยบริการทุกระดับ โดยหมอประจำครอบครัว 1 คน จะรับผิดชอบประชากรประมาณ 1,250 -2,500 คน" รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ทีมหมอครอบครัว จะมีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือแพทย์เฉพาะทางที่สนใจในงานบริการระดับปฐมภูมิ เป็นที่ปรึกษา แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับชุมชน ประกอบด้วย ภาคประชาชนในพื้นที่ เช่น อสม. อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสา นักบริบาล แกนนำครอบครัวและประชาคม คอยช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวเบื้องต้นประดุจญาติ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ เมื่อต้องไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล 2.ระดับตำบล ประกอบด้วย บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เช่น พยาบาลเวชปฏิบัติ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข ทันตาภิบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ มีหน้าที่เป็นหมอครอบครัว ดูแลปัญหาสุขภาพรักษาพยาบาลเบื้องต้น ประสานส่งต่อเมื่อเกินความสามารถ มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค และประสานท้องถิ่น ภาครัฐอื่นๆ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับครอบครัวและชุมชน และเป็นพี่เลี้ยงทีมชุมชน
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า และ 3.ระดับอำเภอ ประกอบด้วย แพทย์และสหสาขาวิชาชีพ เช่น แพทย์เวชศาสตร์ แพทย์เฉพาะทาง แพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ นักสุขภาพจิต ในโรงพยาบาลและทีมจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยง สนับสนุนบริหารจัดการพัฒนาศักยภาพแก่ทีมระดับตำบล และชุมชน ทั้งนี้ พื้นที่เขตชนบทเป็นความรับผิดชอบของ รพ.สต. ส่วน เขตเมืองเป็นความรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) ส่วนเขตอำเภอเมือง นอกเขตเทศบาลอยู่ในความดูแลดำเนินการโดย รพ.สต. และมีแพทย์จากโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป เป็นที่ปรึกษา ระบบบริการสุขภาพตั้งแต่ปี 2558 จะทั่วถึงทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง เข้าถึงบริการเท่าเทียมอย่างไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่
ด้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ทุกแห่งกำลังเตรียมความพร้อมปฏิบัติตามนโยบายของขวัญของ สธ. เพราะส่วนใหญ่ก็เป็นงานที่ดำเนินการมาก่อนอยู่แล้ว เช่น เรื่องทันตกรรม โดยครั้งนี้จะให้กลุ่มวิชาชีพทันตกรรมเข้าร่วมกับทีมหมอครอบครัว จัดโครงสร้างแบ่งทีมในการดูแลประชาชน และเพื่อให้การทำงานสอดประสานจะมีการคัดเลือกตัวแทนครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ มีผู้พิการ และโรคประจำตัว เข้ามาอบรมการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับทีมที่ปรึกษาหมอครอบครัว ถือเป็นการพัฒนาระบบการติดต่อ โดยรอบแรกอาจจะทำ 20% ขยายเป็น 50% เป็น 70% และขยายให้ครอบคลุม 100% ส่วนการส่งตัวผู้ป่วยจากโรงพยาบาลหนึ่งไปอีกแห่งแล้วต้องรอคิวใหม่นั้น ทีมครอบครัวจะประสานงานภายในกลุ่ม ดูว่าผู้ป่วยคนนี้ต้องได้รับการส่งต่อหรือไม่ ถ้าไปควรไปพบเวลาไหน ระหว่างที่ผู้ป่วยเดินทางก็จะมีการทำบัตร จองคิวให้แล้ว ถือเป็นการพัฒนาระบบส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ ส่วนครอบครัวที่ไม่มีผู้แทนเป็นอาสาสมัครครอบครัวระบบปกติก็จะดูแลเรื่องการส่งต่อ
“ตอนนี้ รพช.ทุกแห่งพร้อมเดินหน้าแล้ว และหลายรพ.ดำเนินการไปแล้ว นอกจากนี้ เรายังอยากจะพัฒนาไปยังอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว และอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มประกันสังคมด้วย เพราะตอนนี้ประกันสังคมไม่มีตัวแทนเลย ตอนนี้เสนอไป รมช.สาธารณสุขแล้ว อยากให้ท่านไปคุยกับประกันสังคม” นพ.อารักษ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่