กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ออกแถลงการณ์จี้ สธ.- สปสช. ตระหนักในบทบาทหน้าที่ตนเอง หวั่นความขัดแย้งสองฝ่ายส่งผลทำให้ผู้รับบริการสิทธิบัตรทอง กลายเป็นผู้ป่วยอนาถา ระบุจับตามองการทำงานของบอร์ด สปสช. พบมีความพยายามซื้อเวลาให้นำเงินไปใช้ที่เขตสุขภาพ ลั่นทั้งสองหน่วยงานต้องชี้แจงข้อมูลให้ชัดเพื่อความโปร่งใส่ โดยเฉพาะ บอร์ด สปสช. ควรแจงการบริหารกองทุนย่อยให้ชัด เหน็บแม้บอร์ดส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บัตรทอง แต่ต้องไม่ลืมว่าทำหน้าที่เป็นตัวเองแทนประชาชน ต้องกล้าเห็นต่าง พร้อมแนะควรตีความใหม่เรื่องการดูแลคนไร้สถานะ
วันนี้ (13 ธ.ค.) น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เปิดเผยว่า กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จับตาความเคลื่อนไหวของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งแต่ตุลาคม 2557 ซึ่งบอร์ดจะต้องดำเนินการโอนเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลรักษาประชาชนในระบบ 48 ล้านคน พบว่า มีความพยายามซื้อเวลา ยื้อยุดไม่ให้มีการโอนเงินไปยังเขตและหน่วยบริการ สำหรับการดำเนินงานในไตรมาส 2 (ม.ค.- มี.ค. 58) ปลัด สธ. ซึ่งเป็นบอร์ดด้วยยืนยันว่าต้องรวบกองทุนย่อยๆ เข้าไว้ด้วยกันก่อนแล้วให้เขตบริการสุขภาพไปปรับเกลี่ยกันเองระหว่างโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอำเภอ สถานีอนามัย (รพ.สต.) ขณะที่อนุการเงินการคลัง ภายใต้บอร์ดเดียวกันก็ยืนยันว่าไม่สมควรรวบกองทุน รวบการบริหาร เพราะไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าจะทำให้ประชาชนได้รับบริการอย่างครบถ้วนเหมาะสม การประชุมบอร์ดล่าสุดเมื่อ 8 ธ.ค. 57 ก็คัดง้างกันไม่ลง จึงไม่มีมติให้ดำเนินการอย่างไร แต่ซื้อเวลาให้ ปลัด สธ. ไปหาข้อมูล หลักการ เหตุผลมารองรับข้อเสนอให้ชัดเจนอีกครั้งใน 2 เดือนข้างหน้า นับว่าเป็นเกมที่ใช้ความเจ็บป่วยของประชาชนเป็นตัวประกัน
น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวต่อว่า อยากเรียกร้องให้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตระหนักถึงการทำหน้าที่ของตนเองเพื่อดูแลสวัสดิการด้านสุขภาพของประชาชน เพราะหวั่นสถานการณ์ความขัดแย้งในระบบสุขภาพส่งผลกระทบต่อการให้การรักษาพยาบาลประชาชน ทำให้สิทธิการรักษาพยาบาล กลายเป็นระบบสงเคราะห์ และประชาชนบัตรทองเป็นผู้ป่วยอนาถาในที่สุด พร้อมกันนี้ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จึงขอเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ สธ. และ บอร์ด สปสช. รวมถึง สปสช. ออกมาให้ข้อมูลที่เป็นจริง ครบถ้วน รอบด้านต่อสาธารณชน ดังต่อไปนี้
1. ปลัด สธ. ต้องปัดกวาดบ้านตนเองให้เรียบร้อย ด้วยการให้ข้อมูลต่อสาธารณะอย่างชัดแจ้งว่า ที่บอกว่าโรงพยาบาลขาดทุนนั้นเป็นอย่างไร ต้องให้แต่ละโรงพยาบาลชี้แจงบัญชีรับจ่ายให้เห็นอย่างกระจ่างชัด ให้แต่ละเขตบริการสุขภาพชี้แจงการจัดเกลี่ยงบว่าทำอย่างไร มีหลักการ มีกลไกจัดการ กำกับ ติดตาม ที่โปร่งใสเพียงใด รับประกันได้ว่าประชาชนในพื้นที่ชุมชนจะได้รับบริการจากโรงพยาบาลใกล้บ้านที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2. ปลัด สธ. ต้องนำเสนอแผนกำลังคน การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ให้สอดคล้องกับพื้นที่ จำนวนประชากร และขนาดโรงพยาบาลที่มีอยู่ ทั้งนี้ ต้องคิดนอกกรอบที่จะขอเพิ่มอัตราข้าราชการ การยังอยู่ในระบบ การกระจายอำนาจ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน/ท้องถิ่นในการดำเนินการ รวมถึงการหาทางกำกับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไม่ให้เป็นแหล่งดูดกลืนกำลังคนที่ผลิตโดยภาษีประชาชน
3. ทั้งปลัด สธ. และ สปสช. ต้องร่วมกันจัดทำแผนค่าใช้จ่ายรายหัวที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุนที่เป็นจริง มีศักยภาพในการดูแลประชาชนทั้งระบบ ให้ปรองดองกันเพื่อประชาชน
4. สปสช. ต้องแสดงข้อมูล หลักฐานต่อสาธารณะว่า การบริหารงบค่าใช้จ่ายเป็นกองทุนย่อยๆ นั้น มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพียงใด มีหลักประกันว่าประชาชนที่ป่วยทุกโรคสามารถได้รับบริการรักษาจากหน่วยบริการในทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ไปจนถึงการส่งต่อให้ถึง ระดับตติยภูมิ
5. บอร์ดหลักประกันสุขภาพต้องยึดหลักการว่าตนเองมีหน้าที่บริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างหลักประกันทางสุขภาพให้ประชาชนอย่างแท้จริง แม้บอร์ดส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่เคยใช้สิทธิบัตรทองเลยก็ตาม
6. กรณีประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มที่ยังไม่ได้รับสถานะบุคคล บอร์ดหลักประกันสุขภาพต้องมีมติใหม่ว่ากฎหมายหลักประกันสุขภาพนั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้หลักประกันทางสุขภาพกับบุคคลที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ไม่ใช่คนมีบัตรประชาชนเท่านั้น ควรกล้าจะเห็นต่างจากการตีความอย่างคับแคบของกฤษฎีกา เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนของ รพ.อำเภอชายแดนที่มีประชากรที่ไม่ได้รับรองสถานะ กลุ่มชาติพันธุ์นั้น ปลัด สธ. ต้องไปดูว่าเงินที่ สธ. ได้รับตามมติ ครม. ปี 53 ให้เงินปีละเป็นพันล้านไปที่ สธ. ให้ดูแลคนเหล่านี้ซึ่งมีเงินเหลือทุกปีเพราะคนเหล่านี้เข้าไม่ถึงบริการ ทาง สธ. ต้องไปดำเนินการเร่งด่วนให้ใช้งบนี้ในการดูแลโรงพยาบาลชายแดน ทั้งนี้ ทั้งบอร์ด สปสช. และ สธ. ต้องยึดหลักการว่าต้องร่วมกันสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชนทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย ให้สอดรับกับทั้งเจตนารมณ์ของระบบหลักประกันสุขภาพ การเปิดอาเซียน และรัฐธรรมนูญใหม่ที่ต้องดีกว่าเดิมในการรับรองสิทธิมนุษยชนของทุกคน
7. ขอเรียกร้องให้ ปลัด สธ. หยุดให้ข่าวทำลายระบบหลักประกันสุขภาพ จนกว่าจะได้ข้อเท็จจริงร่วมกันแล้วร่วมกันทำงานในหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 ธ.ค.) น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เปิดเผยว่า กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จับตาความเคลื่อนไหวของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งแต่ตุลาคม 2557 ซึ่งบอร์ดจะต้องดำเนินการโอนเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลรักษาประชาชนในระบบ 48 ล้านคน พบว่า มีความพยายามซื้อเวลา ยื้อยุดไม่ให้มีการโอนเงินไปยังเขตและหน่วยบริการ สำหรับการดำเนินงานในไตรมาส 2 (ม.ค.- มี.ค. 58) ปลัด สธ. ซึ่งเป็นบอร์ดด้วยยืนยันว่าต้องรวบกองทุนย่อยๆ เข้าไว้ด้วยกันก่อนแล้วให้เขตบริการสุขภาพไปปรับเกลี่ยกันเองระหว่างโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอำเภอ สถานีอนามัย (รพ.สต.) ขณะที่อนุการเงินการคลัง ภายใต้บอร์ดเดียวกันก็ยืนยันว่าไม่สมควรรวบกองทุน รวบการบริหาร เพราะไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าจะทำให้ประชาชนได้รับบริการอย่างครบถ้วนเหมาะสม การประชุมบอร์ดล่าสุดเมื่อ 8 ธ.ค. 57 ก็คัดง้างกันไม่ลง จึงไม่มีมติให้ดำเนินการอย่างไร แต่ซื้อเวลาให้ ปลัด สธ. ไปหาข้อมูล หลักการ เหตุผลมารองรับข้อเสนอให้ชัดเจนอีกครั้งใน 2 เดือนข้างหน้า นับว่าเป็นเกมที่ใช้ความเจ็บป่วยของประชาชนเป็นตัวประกัน
น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวต่อว่า อยากเรียกร้องให้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตระหนักถึงการทำหน้าที่ของตนเองเพื่อดูแลสวัสดิการด้านสุขภาพของประชาชน เพราะหวั่นสถานการณ์ความขัดแย้งในระบบสุขภาพส่งผลกระทบต่อการให้การรักษาพยาบาลประชาชน ทำให้สิทธิการรักษาพยาบาล กลายเป็นระบบสงเคราะห์ และประชาชนบัตรทองเป็นผู้ป่วยอนาถาในที่สุด พร้อมกันนี้ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จึงขอเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ สธ. และ บอร์ด สปสช. รวมถึง สปสช. ออกมาให้ข้อมูลที่เป็นจริง ครบถ้วน รอบด้านต่อสาธารณชน ดังต่อไปนี้
1. ปลัด สธ. ต้องปัดกวาดบ้านตนเองให้เรียบร้อย ด้วยการให้ข้อมูลต่อสาธารณะอย่างชัดแจ้งว่า ที่บอกว่าโรงพยาบาลขาดทุนนั้นเป็นอย่างไร ต้องให้แต่ละโรงพยาบาลชี้แจงบัญชีรับจ่ายให้เห็นอย่างกระจ่างชัด ให้แต่ละเขตบริการสุขภาพชี้แจงการจัดเกลี่ยงบว่าทำอย่างไร มีหลักการ มีกลไกจัดการ กำกับ ติดตาม ที่โปร่งใสเพียงใด รับประกันได้ว่าประชาชนในพื้นที่ชุมชนจะได้รับบริการจากโรงพยาบาลใกล้บ้านที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2. ปลัด สธ. ต้องนำเสนอแผนกำลังคน การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ให้สอดคล้องกับพื้นที่ จำนวนประชากร และขนาดโรงพยาบาลที่มีอยู่ ทั้งนี้ ต้องคิดนอกกรอบที่จะขอเพิ่มอัตราข้าราชการ การยังอยู่ในระบบ การกระจายอำนาจ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน/ท้องถิ่นในการดำเนินการ รวมถึงการหาทางกำกับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไม่ให้เป็นแหล่งดูดกลืนกำลังคนที่ผลิตโดยภาษีประชาชน
3. ทั้งปลัด สธ. และ สปสช. ต้องร่วมกันจัดทำแผนค่าใช้จ่ายรายหัวที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุนที่เป็นจริง มีศักยภาพในการดูแลประชาชนทั้งระบบ ให้ปรองดองกันเพื่อประชาชน
4. สปสช. ต้องแสดงข้อมูล หลักฐานต่อสาธารณะว่า การบริหารงบค่าใช้จ่ายเป็นกองทุนย่อยๆ นั้น มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพียงใด มีหลักประกันว่าประชาชนที่ป่วยทุกโรคสามารถได้รับบริการรักษาจากหน่วยบริการในทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ไปจนถึงการส่งต่อให้ถึง ระดับตติยภูมิ
5. บอร์ดหลักประกันสุขภาพต้องยึดหลักการว่าตนเองมีหน้าที่บริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างหลักประกันทางสุขภาพให้ประชาชนอย่างแท้จริง แม้บอร์ดส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่เคยใช้สิทธิบัตรทองเลยก็ตาม
6. กรณีประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มที่ยังไม่ได้รับสถานะบุคคล บอร์ดหลักประกันสุขภาพต้องมีมติใหม่ว่ากฎหมายหลักประกันสุขภาพนั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้หลักประกันทางสุขภาพกับบุคคลที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ไม่ใช่คนมีบัตรประชาชนเท่านั้น ควรกล้าจะเห็นต่างจากการตีความอย่างคับแคบของกฤษฎีกา เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนของ รพ.อำเภอชายแดนที่มีประชากรที่ไม่ได้รับรองสถานะ กลุ่มชาติพันธุ์นั้น ปลัด สธ. ต้องไปดูว่าเงินที่ สธ. ได้รับตามมติ ครม. ปี 53 ให้เงินปีละเป็นพันล้านไปที่ สธ. ให้ดูแลคนเหล่านี้ซึ่งมีเงินเหลือทุกปีเพราะคนเหล่านี้เข้าไม่ถึงบริการ ทาง สธ. ต้องไปดำเนินการเร่งด่วนให้ใช้งบนี้ในการดูแลโรงพยาบาลชายแดน ทั้งนี้ ทั้งบอร์ด สปสช. และ สธ. ต้องยึดหลักการว่าต้องร่วมกันสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชนทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย ให้สอดรับกับทั้งเจตนารมณ์ของระบบหลักประกันสุขภาพ การเปิดอาเซียน และรัฐธรรมนูญใหม่ที่ต้องดีกว่าเดิมในการรับรองสิทธิมนุษยชนของทุกคน
7. ขอเรียกร้องให้ ปลัด สธ. หยุดให้ข่าวทำลายระบบหลักประกันสุขภาพ จนกว่าจะได้ข้อเท็จจริงร่วมกันแล้วร่วมกันทำงานในหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่