ศธ. เร่งยกร่างยุทธศาสตร์อาเซียน รับมือหลังรวมตัวกับกลุ่มอาเซียนเต็มตัวหลังปี 58 โดยให้อิงกับกรอบความร่วมมือด้านการศึกษา 8 ประเด็นที่กลุ่ม รมต.ศึกษาอาเซียนให้การรับรอง คาดเดือน ธ.ค. นี้ เห็นยุทธศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ ขณะที่ “สุรเชษฐ์” ย้ำทุกองค์กรหลักทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันมากขึ้น จ่อตั้งคณะทำงาน 2 ชุด จัดทำแผน - ติดตามการทำงานตามยุทธศาสตร์อาเซียนของ ศธ.
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของทั้ง 5 องค์กรหลักที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งพบว่าแต่ละองค์กรหลักมีการแผนการทำงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนของตนเองให้มีความรู้ทักษะที่ข้องกับอาเซียน อาทิ ภาษาอาเซียน ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสาร เป็นต้น ส่วนภาพรวมการทำงานไม่มีปัญหาหรือจุดบกพร่องใด แต่ได้ขอให้ทุกองค์กรหลักเน้นการทำงานเชิงบูรณาการให้มากขึ้น เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและได้ผลสัมฤทธิ์มากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการดำเนินการในปี 2558 และภายหลังปี 2558 ซึ่งไทยได้เข้าร่วมประชาคมอาเซียนแล้วจำเป็นต้องกำหนดแผนการทำงานที่เข้มข้นขึ้น จึงมีมติให้ยกร่าง ยุทธศาสตร์อาเซียนของ ศธ. เพื่อใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อน รวมทั้งจะตั้งคณะทำงาน 2 ชุด ได้แก่ คณะทำงานเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านอาเซียนของ ศธ. และคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อาเซียนของ ศธ. ด้วย
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับร่างยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับกรอบดำเนินความร่วมด้านการศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาหลังปี 2558 หรือ Key element on Education ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ให้การรับรองเมื่อครั้งจัดประชุมที่ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 11 - 12 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 8 ประเด็น คือ 1. ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนผ่านการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความรู้พื้นเมือง 2. ยกระดับคุณภาพและสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่ละเลยผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส 3. การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4. การสนับสนุนการพัฒนาอาชีวศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภูมิภาค 5. การส่งเสริมการดำเนินการของทุกภาคส่วนในการพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายายของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการอุดมศึกษาด้วยการพัฒนาระบบประกันคุณภาพทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 7. การส่งเสริมบทบาทของอุดมศึกษาให้เข้มแข็งด้วยการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการกับมหาวิทยาลัย และ 8. การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ คาดว่า ร่างยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวจะเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นตนจะเสนอให้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาและขอความเห็นชอบเพื่อใช้ดำเนินการต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของทั้ง 5 องค์กรหลักที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งพบว่าแต่ละองค์กรหลักมีการแผนการทำงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนของตนเองให้มีความรู้ทักษะที่ข้องกับอาเซียน อาทิ ภาษาอาเซียน ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสาร เป็นต้น ส่วนภาพรวมการทำงานไม่มีปัญหาหรือจุดบกพร่องใด แต่ได้ขอให้ทุกองค์กรหลักเน้นการทำงานเชิงบูรณาการให้มากขึ้น เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและได้ผลสัมฤทธิ์มากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการดำเนินการในปี 2558 และภายหลังปี 2558 ซึ่งไทยได้เข้าร่วมประชาคมอาเซียนแล้วจำเป็นต้องกำหนดแผนการทำงานที่เข้มข้นขึ้น จึงมีมติให้ยกร่าง ยุทธศาสตร์อาเซียนของ ศธ. เพื่อใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อน รวมทั้งจะตั้งคณะทำงาน 2 ชุด ได้แก่ คณะทำงานเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านอาเซียนของ ศธ. และคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อาเซียนของ ศธ. ด้วย
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับร่างยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับกรอบดำเนินความร่วมด้านการศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาหลังปี 2558 หรือ Key element on Education ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ให้การรับรองเมื่อครั้งจัดประชุมที่ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 11 - 12 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 8 ประเด็น คือ 1. ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนผ่านการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความรู้พื้นเมือง 2. ยกระดับคุณภาพและสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่ละเลยผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส 3. การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4. การสนับสนุนการพัฒนาอาชีวศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภูมิภาค 5. การส่งเสริมการดำเนินการของทุกภาคส่วนในการพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายายของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการอุดมศึกษาด้วยการพัฒนาระบบประกันคุณภาพทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 7. การส่งเสริมบทบาทของอุดมศึกษาให้เข้มแข็งด้วยการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการกับมหาวิทยาลัย และ 8. การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ คาดว่า ร่างยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวจะเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นตนจะเสนอให้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาและขอความเห็นชอบเพื่อใช้ดำเนินการต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่