ก.แรงงานร่วมประชุมเพื่อหารือการเคลื่อนย้ายแรงงาน ในกลุ่มประเทศอาเซียน 11 ประเทศ และกลุ่มตะวันออกกลาง 6 ประเทศ หาแนวทางการเคลื่อนย้ายแรงงานชั่วคราว ไปทำงานยังต่างประเทศให้ได้รับการคุ้มครองอย่างมีมาตรฐาน เผยไทยเห็นชอบให้มีการเตรียมความพร้อมแรงงาน ทั้งในฐานะประเทศผู้รับและผู้ส่งแรงงาน
พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อม นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม The 3rd Ministerial Consultation of the Abu Dhabi Dialogue (ADD) ณ ประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยในที่ประชุมมีรัฐมนตรีด้านแรงงานของประเทศสมาชิก ADD เข้าร่วมและได้มีการหารือความร่วมมือในด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน ให้การรับรองเอกสาร Kuwait Declaration ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้คือที่ประชุมได้ให้การรับรองโครงการนำร่อง Pilot Project on Skill Development, Documentation and Recognition ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือในการพัฒนาแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศ GCC (ประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่มตะวันออกกลาง Gulf Cooperation Council) 6 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ โดยการฝึกอบรม การรับรองคุณวุฒิ และการเทียบคุณวุฒิ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่ม GCC
นอกจากนี้ที่ประชุมได้ให้การรับรองโครงการ Comprehensive Information and Orientation Program for Migrant Workers ที่นำเสนอโดยประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเตรียมแรงงานก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ทั้งในขั้นตอนของการเตรียมตัวภายในประเทศ การปฐมนิเทศก่อนเดินทางและเมื่อเดินทางถึงประเทศผู้รับ รวมทั้งการเตรียมพร้อมเมื่อเดินทางกลับสู่สังคมของประเทศต้นทาง ซึ่งประเทศไทยมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเห็นประโยชน์ที่ไทยจะได้รับทั้งในฐานะของประเทศผู้ส่งแรงงาน และประเทศผู้รับแรงงาน
นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่อง ระบบการคุ้มครองค่าจ้าง กลไกการระงับข้อขัดแย้ง call center การปฐมนิเทศก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ระบบการจ้างงานผ่าน Web base และการแบ่งปันข้อมูลการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทั้งนี้ที่ประชุมยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิก ADD พิจารณานำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปปรับใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนข้อเสนอโครงการศึกษาวิจัยของ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์ในเรื่องอุตสาหกรรมบริษัทจัดหางานในมุมมองเชิงธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาการเก็บค่าหัวที่สูงและการเอาเปรียบแรงงาน
ขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนข้อเสนอของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในการช่วยเหลือประเทศสมาชิก ADD ในการลดต้นทุนการเคลื่อนย้ายแรงงาน ป้องกันการเอาเปรียบแรงงานในขั้นตอนการจัดหางาน และการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งได้ให้การรับรองโครงสร้างการดำเนินงานของ ADD ซึ่งกำหนดโครงสร้าง และกลไกการดำเนินงานของ ADD โดยประธานจะมีวาระครั้งละ 2 ปี มีคณะกรรมการบริหารงาน กำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี 2 ปีต่อครั้ง และกำหนดหน้าที่ของสำนักงานถาวร และที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือของประเทศสมาชิก ADD ในการสนับสนุนการดำเนินงานของ ADD บนพื้นฐานของความสมัครใจ
สำหรับAbu Dhabi Dialogue (ADD) เป็นกระบวนการความร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างประเทศผู้ส่งออกแรงงานในเอเซีย 11ประเทศ (หรือที่เรียกว่ากระบวนการโคลัมโบ (Colombo Process: CP) ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม กับประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่มตะวันออกกลาง (Gulf Cooperation Council: GCC) 6 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นเวที เพื่อหารือในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานชั่วคราว (temporary labour migration) เพื่อไปทำงาน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อม นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม The 3rd Ministerial Consultation of the Abu Dhabi Dialogue (ADD) ณ ประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยในที่ประชุมมีรัฐมนตรีด้านแรงงานของประเทศสมาชิก ADD เข้าร่วมและได้มีการหารือความร่วมมือในด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน ให้การรับรองเอกสาร Kuwait Declaration ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้คือที่ประชุมได้ให้การรับรองโครงการนำร่อง Pilot Project on Skill Development, Documentation and Recognition ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือในการพัฒนาแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศ GCC (ประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่มตะวันออกกลาง Gulf Cooperation Council) 6 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ โดยการฝึกอบรม การรับรองคุณวุฒิ และการเทียบคุณวุฒิ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่ม GCC
นอกจากนี้ที่ประชุมได้ให้การรับรองโครงการ Comprehensive Information and Orientation Program for Migrant Workers ที่นำเสนอโดยประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเตรียมแรงงานก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ทั้งในขั้นตอนของการเตรียมตัวภายในประเทศ การปฐมนิเทศก่อนเดินทางและเมื่อเดินทางถึงประเทศผู้รับ รวมทั้งการเตรียมพร้อมเมื่อเดินทางกลับสู่สังคมของประเทศต้นทาง ซึ่งประเทศไทยมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเห็นประโยชน์ที่ไทยจะได้รับทั้งในฐานะของประเทศผู้ส่งแรงงาน และประเทศผู้รับแรงงาน
นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่อง ระบบการคุ้มครองค่าจ้าง กลไกการระงับข้อขัดแย้ง call center การปฐมนิเทศก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ระบบการจ้างงานผ่าน Web base และการแบ่งปันข้อมูลการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทั้งนี้ที่ประชุมยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิก ADD พิจารณานำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปปรับใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนข้อเสนอโครงการศึกษาวิจัยของ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์ในเรื่องอุตสาหกรรมบริษัทจัดหางานในมุมมองเชิงธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาการเก็บค่าหัวที่สูงและการเอาเปรียบแรงงาน
ขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนข้อเสนอของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในการช่วยเหลือประเทศสมาชิก ADD ในการลดต้นทุนการเคลื่อนย้ายแรงงาน ป้องกันการเอาเปรียบแรงงานในขั้นตอนการจัดหางาน และการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งได้ให้การรับรองโครงสร้างการดำเนินงานของ ADD ซึ่งกำหนดโครงสร้าง และกลไกการดำเนินงานของ ADD โดยประธานจะมีวาระครั้งละ 2 ปี มีคณะกรรมการบริหารงาน กำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี 2 ปีต่อครั้ง และกำหนดหน้าที่ของสำนักงานถาวร และที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือของประเทศสมาชิก ADD ในการสนับสนุนการดำเนินงานของ ADD บนพื้นฐานของความสมัครใจ
สำหรับAbu Dhabi Dialogue (ADD) เป็นกระบวนการความร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างประเทศผู้ส่งออกแรงงานในเอเซีย 11ประเทศ (หรือที่เรียกว่ากระบวนการโคลัมโบ (Colombo Process: CP) ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม กับประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่มตะวันออกกลาง (Gulf Cooperation Council: GCC) 6 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นเวที เพื่อหารือในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานชั่วคราว (temporary labour migration) เพื่อไปทำงาน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่