“ชาญณรงค์” ยัน สมศ. ยังมีประโยชน์ต่อชาติไม่งั้นคงไม่ยอมนั่งเจ็บตัว พร้อมฝากครู - อาจารย์ ปรับความคิดใหม่ ชี้การประเมินเป็นภารกิจไม่ใช่เป็นภาระ
วันนี้ (2 ธ.ค.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวถึงกรณีที่ขณะนี้ในโลกสังคมออนไลน์มีการโพสต์แคมเปญรณรงค์เชิญชวนเข้าชื่อยุบเลิก สมศ. คืนครูสู่นักเรียน ว่า การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นสิ่งที่สะท้อนคุณภาพของประเทศ ซึ่งในขณะนี้มีการกระจายอำนาจการบริหารงานต่างๆ ลงสู่สถานศึกษามากขึ้น ดังนั้น จึงยังจำเป็นต้องมีเครื่องมือและกลไกมาตรวจสอบ เพราะหากไม่มีการตรวจสอบวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ ตนอยากให้ครูอาจารย์ที่มองว่าการถูกตรวจสอบเป็นภาระได้ทบทวนความคิดใหม่ เพราะเรื่องนี้เป็นภารกิจไม่ใช่ภาระ และเป็นสิ่งที่ต้องทำ อีกทั้งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาจำนวนหนึ่งที่มีการจัดการศึกษาแบบธุรกิจเต็มๆ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก
อย่างไรก็ตาม ในโลกสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความต่างๆ นานาเกี่ยวกับ สมศ. ทำให้คนเข้าใจคลาดเคลื่อนกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนักวิชาการการศึกษาบางคนลุกขึ้นมาเล่นเรื่องนี้ด้วย ยิ่งเป็นเรื่องน่าเศร้า และในเวลานี้ประเทศในกลุ่มอาเซียนก็จัดทำเรื่องประกันคุณภาพกันทุกประเทศแล้ว อีกหน่อยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก็ต้องมีการเทียบเคียงคุณภาพกัน เพื่อให้เกิดการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบัน
“ผมไม่อยากให้เวลากับเรื่องการยุบหรือไม่ยุบ สมศ. มากนัก เพราะไม่ใช่สาระสำคัญ ซึ่งผมยังเห็นว่า สมศ. มีประโยชน์ต่อประเทศชาติมาก ถ้าหากผมเห็นว่า สมศ. ไม่มีประโยชน์ ผมคงไม่ยอมมานั่งให้เจ็บตัวแบบนี้แน่” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (2 ธ.ค.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวถึงกรณีที่ขณะนี้ในโลกสังคมออนไลน์มีการโพสต์แคมเปญรณรงค์เชิญชวนเข้าชื่อยุบเลิก สมศ. คืนครูสู่นักเรียน ว่า การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นสิ่งที่สะท้อนคุณภาพของประเทศ ซึ่งในขณะนี้มีการกระจายอำนาจการบริหารงานต่างๆ ลงสู่สถานศึกษามากขึ้น ดังนั้น จึงยังจำเป็นต้องมีเครื่องมือและกลไกมาตรวจสอบ เพราะหากไม่มีการตรวจสอบวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ ตนอยากให้ครูอาจารย์ที่มองว่าการถูกตรวจสอบเป็นภาระได้ทบทวนความคิดใหม่ เพราะเรื่องนี้เป็นภารกิจไม่ใช่ภาระ และเป็นสิ่งที่ต้องทำ อีกทั้งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาจำนวนหนึ่งที่มีการจัดการศึกษาแบบธุรกิจเต็มๆ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก
อย่างไรก็ตาม ในโลกสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความต่างๆ นานาเกี่ยวกับ สมศ. ทำให้คนเข้าใจคลาดเคลื่อนกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนักวิชาการการศึกษาบางคนลุกขึ้นมาเล่นเรื่องนี้ด้วย ยิ่งเป็นเรื่องน่าเศร้า และในเวลานี้ประเทศในกลุ่มอาเซียนก็จัดทำเรื่องประกันคุณภาพกันทุกประเทศแล้ว อีกหน่อยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก็ต้องมีการเทียบเคียงคุณภาพกัน เพื่อให้เกิดการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบัน
“ผมไม่อยากให้เวลากับเรื่องการยุบหรือไม่ยุบ สมศ. มากนัก เพราะไม่ใช่สาระสำคัญ ซึ่งผมยังเห็นว่า สมศ. มีประโยชน์ต่อประเทศชาติมาก ถ้าหากผมเห็นว่า สมศ. ไม่มีประโยชน์ ผมคงไม่ยอมมานั่งให้เจ็บตัวแบบนี้แน่” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่