ห่วงเหตุภัยพิบัติผู้พิการเข้าถึงสื่อน้อยทั้งยังเป็นกลุ่มที่ถูกช่วยเหลือหลังสุดฝากทุกฝ่ายเห็นความสำคัญการรับรู้และเข้าถึงสื่อของผู้พิการ
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย (มธ.) กล่าวตอนหนึ่งในพิธีเปิดการสัมมนา “การเข้าถึงสื่อของผู้พิการในสถานการณ์ภัยพิบัติ” จัดโดยนักศึกษาปริญญาโทคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. มีใจความว่า ในช่วงเกิดอุทกภัยในปี 2554 ปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องที่แม้แต่คนทั่วไปยังมีข้อจำกัด ยิ่งผู้พิการยิ่งเข้าถึงยาก หรือแม้แต่ข่าวสารอื่นๆ ที่ผู้พิการจำเป็นต้องรู้ก็ยังขาดสื่อที่จะถ่ายทอดข้อมูลไปสู่ผู้พิการน้อย เพราะฉะนั้น ตนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่ทุกฝ่ายควรต้องให้ความสำคัญต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทุกประเภทในทุกเรื่อง ไม่ใช่แต่เพียงแต่เรื่องภัยพิบัติเท่านั้น
ด้าน น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์ได้รวบรวมข้อมูลภัยพิบัติประมวลเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและสื่อถึงผู้รับผ่านช่องทางต่างๆ ตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่ แต่ปัญหาที่พบคือบางครั้งเป็นเพียงการแจ้งข่าว แต่สื่อไปเผยแพร่เป็นการเตือนภัยจนเกิดความเข้าใจผิด ทั้งนี้ชุมชนเป็นฐานสำคัญในการแจ้งข้อมูลให้กับคนในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูล เริ่มตั้งแต่ระดับ อบต. นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และระดับประเทศมีตนคนเดียวที่แจ้งเตือนภัยพิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ เราพยายามร่วมมือกับทุกหน่วยงานพัฒนาสื่อทุกช่องทางเพื่อนำข้อมูลสื่อถึงผู้พิการทุกประเภท
ขณะที่ นายครรชิต สมจิตต์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มสด. กล่าวว่า อุทกภัยปี 2554 พบกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นกลุ่มที่อ่อนแอแต่ได้รับการช่วยเหลือหลังสุด ทั้งนี้ การเตรียมการรับมือเมื่อเกิดภัยพิบัติ การช่วยเหลือระหว่างเกิดภัยรวมถึงการเยียวยาฟื้นฟูหลังประสบภัย เป็น 3 ส่วนสำคัญที่ต้องคำนึง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย (มธ.) กล่าวตอนหนึ่งในพิธีเปิดการสัมมนา “การเข้าถึงสื่อของผู้พิการในสถานการณ์ภัยพิบัติ” จัดโดยนักศึกษาปริญญาโทคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. มีใจความว่า ในช่วงเกิดอุทกภัยในปี 2554 ปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องที่แม้แต่คนทั่วไปยังมีข้อจำกัด ยิ่งผู้พิการยิ่งเข้าถึงยาก หรือแม้แต่ข่าวสารอื่นๆ ที่ผู้พิการจำเป็นต้องรู้ก็ยังขาดสื่อที่จะถ่ายทอดข้อมูลไปสู่ผู้พิการน้อย เพราะฉะนั้น ตนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่ทุกฝ่ายควรต้องให้ความสำคัญต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทุกประเภทในทุกเรื่อง ไม่ใช่แต่เพียงแต่เรื่องภัยพิบัติเท่านั้น
ด้าน น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์ได้รวบรวมข้อมูลภัยพิบัติประมวลเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและสื่อถึงผู้รับผ่านช่องทางต่างๆ ตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่ แต่ปัญหาที่พบคือบางครั้งเป็นเพียงการแจ้งข่าว แต่สื่อไปเผยแพร่เป็นการเตือนภัยจนเกิดความเข้าใจผิด ทั้งนี้ชุมชนเป็นฐานสำคัญในการแจ้งข้อมูลให้กับคนในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูล เริ่มตั้งแต่ระดับ อบต. นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และระดับประเทศมีตนคนเดียวที่แจ้งเตือนภัยพิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ เราพยายามร่วมมือกับทุกหน่วยงานพัฒนาสื่อทุกช่องทางเพื่อนำข้อมูลสื่อถึงผู้พิการทุกประเภท
ขณะที่ นายครรชิต สมจิตต์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มสด. กล่าวว่า อุทกภัยปี 2554 พบกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นกลุ่มที่อ่อนแอแต่ได้รับการช่วยเหลือหลังสุด ทั้งนี้ การเตรียมการรับมือเมื่อเกิดภัยพิบัติ การช่วยเหลือระหว่างเกิดภัยรวมถึงการเยียวยาฟื้นฟูหลังประสบภัย เป็น 3 ส่วนสำคัญที่ต้องคำนึง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่