ราชบัณฑิตฯทำแผนยุทธศาสตร์ภาษาชาติ แก้ปัญหาเด็กอ่าน - เขียนไทยไม่คล่อง อัด ศธ. ใช้วิธีสอนผิด ตำราเรียนล่าสมัย
วันนี้ (24 พ.ย.) รร.รามาการ์เด้นส์ ราชบัณฑิตยสถาน จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง นโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ภาษาแห่งชาติ นโยบายภาษาไทยสำหรับนักเรียนและคนไทย รวมทั้งภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติในฐานะภาษาต่างประเทศ และนโยบายภาษาเศรษฐกิจ ภาษาเพื่อนบ้าน และภาษาการงานอาชีพ โดยนางจิราพร บุนนาค ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายภาษาแห่งชาติ กล่าวว่า นโยบายภาษาแห่งชาติ ที่ทางราชบัณฑิตยสถานจัดทำขึ้นนั้น ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลปี 2553 และปี 2555 มาแล้ว การประชุมครั้งนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลให้มีการดำเนินการเป็นวาระชาติ เนื่องจากทางราชบัณฑิตฯเห็นว่าคนไทยในประเทศมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีภาษาแม่ เช่น ภาคใต้มีภาษายาวี ภาคเหนือมีภาษากะเหรี่ยง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการสื่อสารในการเรียนการสอนภาษาไทย ขณะที่ในส่วนของภาษาไทยกลางก็มีการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ตำราเรียนภาษาไทยไม่มีการปรับปรุงให้ทันกับยุคสมัย ส่งผลให้ผู้เรียนอ่านเขียนภาษาไทยไม่คล่อง นอกจากนี้ ในแผนยุทธศาสตร์ จะมีแนวทางในการส่งเสริมการพูดด้วยว่า พูดแบบไหนไม่ให้สร้างความเกลียดชังแก่กัน แต่ให้กลายเป็นรู้สึกดีแทน โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน
นางจิราพร กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวสะสมมานาน และที่ผ่านมายังไม่เคยมีการแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งบริหารกระทรวงศึกษาธิการที่ผ่านมาก็ไม่ยอมรับความจริงว่าไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม และพหุภาษา จึงไม่เห็นความสำคัญ ราชบัณฑิตฯ จึงต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ โดยจะแบ่งออกเป็น 6 แผนยุทธศาสตร์ คือ 1. นโยบายสำหรับนักเรียนไทยและคนไทย 2. นโยบายภาษาท้องถิ่น 3. นโยบายภาษาเพื่อเศรษฐกิจ ภาษาเพื่อนบ้าน และภาษาการงานอาชีพ 4. นโยบายภาษาสำหรับผู้เข้ามาแสวงหางานทำในประเทศไทย 5. นโยบายภาษาสำหรับผู้พิการทางสายตาและผู้พิการทางการได้ยิน และ 6. นโยบายภาษาสำหรับการแปล การล่าม และล่ามภาษามือ โดยหลังจากนี้จะมีการเสนอแผนยุทธศาสตร์ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วย
ด้าน ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ประธานอนุกรรมการนโยบายภาษาแห่งชาติ นโยบายภาษาไทยสำหรับนักเรียนและคนไทย รวมทั้งภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติในฐานะภาษาต่างประเทศ กล่าวว่า สถานการณ์ของภาษาไทยในปัจจุบัน คือ 1. การไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ผู้ทำหลักสูตรถือว่าความเปลี่ยนแปลงไม่ถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นทัศนคติเชิงลบต่อภาษา เพราะภาษาต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้โลกทัศน์ของผู้เรียนแตกต่างจากผู้จัดหลักสูตร 2. ผู้สอนภาษาไทยบางส่วนไม่มีความรู้ภาษาไทย ไม่รู้จักวิธีการสอนภาษาไทย 3. นักเรียนไทยไม่เรียนภาษาไทยอย่างจริงจัง เพื่อความรู้ แต่เป็นการเรียนเพื่อต้องการใบรับรอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 พ.ย.) รร.รามาการ์เด้นส์ ราชบัณฑิตยสถาน จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง นโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ภาษาแห่งชาติ นโยบายภาษาไทยสำหรับนักเรียนและคนไทย รวมทั้งภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติในฐานะภาษาต่างประเทศ และนโยบายภาษาเศรษฐกิจ ภาษาเพื่อนบ้าน และภาษาการงานอาชีพ โดยนางจิราพร บุนนาค ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายภาษาแห่งชาติ กล่าวว่า นโยบายภาษาแห่งชาติ ที่ทางราชบัณฑิตยสถานจัดทำขึ้นนั้น ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลปี 2553 และปี 2555 มาแล้ว การประชุมครั้งนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลให้มีการดำเนินการเป็นวาระชาติ เนื่องจากทางราชบัณฑิตฯเห็นว่าคนไทยในประเทศมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีภาษาแม่ เช่น ภาคใต้มีภาษายาวี ภาคเหนือมีภาษากะเหรี่ยง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการสื่อสารในการเรียนการสอนภาษาไทย ขณะที่ในส่วนของภาษาไทยกลางก็มีการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ตำราเรียนภาษาไทยไม่มีการปรับปรุงให้ทันกับยุคสมัย ส่งผลให้ผู้เรียนอ่านเขียนภาษาไทยไม่คล่อง นอกจากนี้ ในแผนยุทธศาสตร์ จะมีแนวทางในการส่งเสริมการพูดด้วยว่า พูดแบบไหนไม่ให้สร้างความเกลียดชังแก่กัน แต่ให้กลายเป็นรู้สึกดีแทน โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน
นางจิราพร กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวสะสมมานาน และที่ผ่านมายังไม่เคยมีการแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งบริหารกระทรวงศึกษาธิการที่ผ่านมาก็ไม่ยอมรับความจริงว่าไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม และพหุภาษา จึงไม่เห็นความสำคัญ ราชบัณฑิตฯ จึงต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ โดยจะแบ่งออกเป็น 6 แผนยุทธศาสตร์ คือ 1. นโยบายสำหรับนักเรียนไทยและคนไทย 2. นโยบายภาษาท้องถิ่น 3. นโยบายภาษาเพื่อเศรษฐกิจ ภาษาเพื่อนบ้าน และภาษาการงานอาชีพ 4. นโยบายภาษาสำหรับผู้เข้ามาแสวงหางานทำในประเทศไทย 5. นโยบายภาษาสำหรับผู้พิการทางสายตาและผู้พิการทางการได้ยิน และ 6. นโยบายภาษาสำหรับการแปล การล่าม และล่ามภาษามือ โดยหลังจากนี้จะมีการเสนอแผนยุทธศาสตร์ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วย
ด้าน ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ประธานอนุกรรมการนโยบายภาษาแห่งชาติ นโยบายภาษาไทยสำหรับนักเรียนและคนไทย รวมทั้งภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติในฐานะภาษาต่างประเทศ กล่าวว่า สถานการณ์ของภาษาไทยในปัจจุบัน คือ 1. การไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ผู้ทำหลักสูตรถือว่าความเปลี่ยนแปลงไม่ถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นทัศนคติเชิงลบต่อภาษา เพราะภาษาต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้โลกทัศน์ของผู้เรียนแตกต่างจากผู้จัดหลักสูตร 2. ผู้สอนภาษาไทยบางส่วนไม่มีความรู้ภาษาไทย ไม่รู้จักวิธีการสอนภาษาไทย 3. นักเรียนไทยไม่เรียนภาษาไทยอย่างจริงจัง เพื่อความรู้ แต่เป็นการเรียนเพื่อต้องการใบรับรอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น