สกศ. เตรียมเสนอแผนปฏิรูป ชงตั้งบอร์ดคุมการศึกษาทั้งระบบ มีอำนาจเหนือ ศธ. เผยความเห็นส่วนใหญ่ต้องการปฏิรูป 3 ส่วนหลักทั้ง นโยบายจัดการศึกษา คุณภาพครู-นร. และคุณภาพหลักสูตร
วันนี้ (11 พ.ย.) รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มอบหมายให้ สกศ. เป็นเจ้าภาพดูแล การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยให้ตั้งทีมงานซึ่งรวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาศึกษาการปฏิรูปการศึกษาในภาพรวม ให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างระบบการจัดการศึกษา บุคลากร ระบบการบริหารจัดการองค์กร รวมถึงไปวางแผนว่าศธ.จะปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางใดนั้น ที่ผ่านมาตนได้เดินสายสอบถามความคิดเห็น จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประมวลผลจากประเด็นปัญหาการศึกษาที่สกศ. มีข้อมูลอยู่แล้ว เท่าที่ดูพบว่าส่วนใหญ่อยากให้เร่งแก้ปัญหา และเดินหน้าปฏิรูปการศึกษาใน 3 ส่วนหลัก ๆ คือ นโยบายการจัดการศึกษา, คุณภาพครูคุณภาพเด็กและคุณภาพหลักสูตรการเรียนการสอน
“จากการรวบรวมความคิดเห็นส่วนใหญ่ ระบุว่า นโยบายการจัดการศึกษา ควรมีคณะกรรมการหรือบอดร์ ที่มีอำนาจดูแลการจัดศึกษาภาพรวมที่ครอบคลุมทั้งประเทศ นอกเหนือจาก ศธ. เพราะมีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หน่วยงานภาคเอกชน รวมถึงกระทรวงอื่น ๆ ที่มีการจัดการศึกษาแยกออกไป โดยคณะกรรมการหรือบอร์ดนโยบายการศึกษา ชุดนี้จะทำหน้าที่บริหารนโยบาย มองภาพรวมการจัดการศึกษา รวมถึงวางแผนการจัดการเรียนการสอน และการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งระบบ รวมทั้ง อยากให้มีการปฏิรูปหลักสูตรการผลิตครู ที่สามารถผลิตครูมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 คือ เก่ง ดี และมีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง ส่วนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะต้องมุ่งเน้น จัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพของเด็ก สอนให้เด็กคิด วิเคราะห์เป็น และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต ส่วนหลักสูตรในระดับมหาวิทยาลัย ต้องสอนให้นักศึกษาที่จะจบออกมาเตรียมพร้อมที่จะรับกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม รวมถึงพร้อมที่จะทำงานในระบบได้อย่างเต็มที่”รศ.ดร.พินิติ กล่าว
เลขาธิการ สกศ. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เร็ว ๆ นี้สกศ. จะสรุปประเด็นข้อเสนอทั้งหมดและเสนอให้ที่ประชุมองค์กรหลักของศธ. พิจารณา หากที่ประชุมหากชอบก็คงต้องร่วมกันกำหนดรายละเอียด เพราะบางเรื่องสามารถดำเนินการได้ทันที แต่บางเรื่อง คงต้องทำเป็นแผนพัฒนาการศึกษาชาติระยะยาวต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 พ.ย.) รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มอบหมายให้ สกศ. เป็นเจ้าภาพดูแล การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยให้ตั้งทีมงานซึ่งรวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาศึกษาการปฏิรูปการศึกษาในภาพรวม ให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างระบบการจัดการศึกษา บุคลากร ระบบการบริหารจัดการองค์กร รวมถึงไปวางแผนว่าศธ.จะปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางใดนั้น ที่ผ่านมาตนได้เดินสายสอบถามความคิดเห็น จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประมวลผลจากประเด็นปัญหาการศึกษาที่สกศ. มีข้อมูลอยู่แล้ว เท่าที่ดูพบว่าส่วนใหญ่อยากให้เร่งแก้ปัญหา และเดินหน้าปฏิรูปการศึกษาใน 3 ส่วนหลัก ๆ คือ นโยบายการจัดการศึกษา, คุณภาพครูคุณภาพเด็กและคุณภาพหลักสูตรการเรียนการสอน
“จากการรวบรวมความคิดเห็นส่วนใหญ่ ระบุว่า นโยบายการจัดการศึกษา ควรมีคณะกรรมการหรือบอดร์ ที่มีอำนาจดูแลการจัดศึกษาภาพรวมที่ครอบคลุมทั้งประเทศ นอกเหนือจาก ศธ. เพราะมีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หน่วยงานภาคเอกชน รวมถึงกระทรวงอื่น ๆ ที่มีการจัดการศึกษาแยกออกไป โดยคณะกรรมการหรือบอร์ดนโยบายการศึกษา ชุดนี้จะทำหน้าที่บริหารนโยบาย มองภาพรวมการจัดการศึกษา รวมถึงวางแผนการจัดการเรียนการสอน และการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งระบบ รวมทั้ง อยากให้มีการปฏิรูปหลักสูตรการผลิตครู ที่สามารถผลิตครูมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 คือ เก่ง ดี และมีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง ส่วนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะต้องมุ่งเน้น จัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพของเด็ก สอนให้เด็กคิด วิเคราะห์เป็น และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต ส่วนหลักสูตรในระดับมหาวิทยาลัย ต้องสอนให้นักศึกษาที่จะจบออกมาเตรียมพร้อมที่จะรับกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม รวมถึงพร้อมที่จะทำงานในระบบได้อย่างเต็มที่”รศ.ดร.พินิติ กล่าว
เลขาธิการ สกศ. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เร็ว ๆ นี้สกศ. จะสรุปประเด็นข้อเสนอทั้งหมดและเสนอให้ที่ประชุมองค์กรหลักของศธ. พิจารณา หากที่ประชุมหากชอบก็คงต้องร่วมกันกำหนดรายละเอียด เพราะบางเรื่องสามารถดำเนินการได้ทันที แต่บางเรื่อง คงต้องทำเป็นแผนพัฒนาการศึกษาชาติระยะยาวต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น