กรมอนามัยเผยเด็กไทยอ้วนเพิ่มขึ้น ห่วง 4 เขตสุขภาพ พบตัวเมืองอ้วนกระฉูดถึง 20% ระดมทีมวิชาการทุกกรมปั้นเทรนเนอร์ลดน้ำหนัก “Smart Kids Coacher” จัดเข้าค่ายเด็กอ้วน ตั้งเป้าสำเร็จตามนโยบายรัฐบาลใน เม.ย. 58 คาดช่วยลดค่าใช้จ่ายรักษาสุขภาพเด็กอ้วน 5,500 ล้านบาทต่อปี
วันนี้ (24 พ.ย.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กทม. นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แผนบูรณาการกลุ่มเด็กวัยเรียนในเขตสุขภาพและนักจัดการลดน้ำหนักในเด็กวัยเรียน Smart Kids Coacher” ว่า ขณะนี้เด็กวัยเรียนมีแนวโน้มปัญหาภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า เด็กวัยเรียนมีภาวะอ้วนขึ้นจากร้อยละ 8.8 ในปี 2556 เพิ่มเป็นร้อยละ 9.5 ในปี 2557 โดยเขตสุขภาพที่พบปัญหาเด็กอ้วนมาก คือ เขตสุขภาพที่ 3, 4, 6 และ 12 โดยพบร้อยละ 11.3, 12.3, 12.4 และ 11.1 ตามลำดับ ส่วนใหญ่พบในเขตเมืองสูงถึงร้อยละ 20 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายไม่เหมาะสม ทั้งที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง รวมถึงการควบคุมอารมณ์เพื่อสกัดความอยากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า การลดภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กเรียนถือเป็นนโยบายการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนของรัฐบาล ซึ่งจะต้องบรรลุวัตถุประสงค์ภายใน 4 - 6 เดือน คือภายใน เม.ย. 2558 กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานหลักในการดูแลกลุ่มเด็กวัยเรียน จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน สธ. แบบบูรณาการทุกกรม ทั้งกรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการแก้ปัญหานี้ ทั้งส่วนกลางและศูนย์วิชาการของทุกกรมจึงต้องมาหารือกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยแบ่งการดำเนินงานเป็นสองส่วนคือ 1. การดำเนินงานขั้นพื้นฐานคือ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันเด็กอ้วนในทุกเขตสุขภาพ
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า และ 2. เขตสุขภาพที่มีปัญหาเด็กอ้วน ทั้ง 4 เขต จะต้องดำเนินการเพิ่มเติม โดยจะมีการจัดเข้าค่ายเด็กอ้วน ซึ่งจะเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเด็กโโยเฉพาะเรื่อง 3 อ. คือ อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย อย่างเรื่องอารมณ์ก็จะให้เด็กทำพันธสัญญาใจ เพื่อให้เด็กมุ่งมั่นที่จะลดอ้วนให้ได้ ซึ่งในส่วนนี้ทีมวิชาการกรมสุขภาพจิตก็จะเข้ามาช่วยดูแล เรื่องโภชนาการ ให้เด็กอ่านฉลากโภชนาการอย่างง่ายเป็น เช่น สีเขียวสามารถกินได้ สีเหลืองกินได้บ้าง สีแดง ไม่ควรกินเลย ซึ่งงานส่วนนี้ อย. ก็จะเข้ามาช่วยให้ความรู้ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ การขับเคลื่อนจะเน้นการมีส่วนร่วมทั้งแกนนำนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน เพราะจะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย ตั้งแต่หน้าโรงเรียนไปจนถึงบ้านก็ต้องมีการขายอาหารที่เหมาะสม
“ในการจัดการเข้าค่ายเด็กอ้วนนั้น ทุกกรมจะมาช่วยกันอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะ เพื่อสร้างนักจัดการลดน้ำหนักเด็กวัยเรียน Smart Kids Coacher ซึ่งจะเป็นเทรนเนอร์ลงไปในพื้นที่เขตสุขภาพที่มีปัญหาเด็กอ้วน ทำงานร่วมกับโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจจะมีเทคนิคในการจัดการเข้าค่ายที่แตกต่างกันออกไป โดยการจัดประชุมในครั้งนี้ก็เพื่ออบรมเหล่าเทรนเนอร์ให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะลงไปแก้ปัญหา ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากนี้ โดยอาจใช้เวลาจัดเข้าค่ายประมาณ 2 - 3 วัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะถือเป็นสิทธิประโยชน์ของรัฐบาล ทั้งนี้ คาดว่า จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของประเทศชาติได้ 5,500 ล้านบาทต่อปี” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 พ.ย.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กทม. นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แผนบูรณาการกลุ่มเด็กวัยเรียนในเขตสุขภาพและนักจัดการลดน้ำหนักในเด็กวัยเรียน Smart Kids Coacher” ว่า ขณะนี้เด็กวัยเรียนมีแนวโน้มปัญหาภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า เด็กวัยเรียนมีภาวะอ้วนขึ้นจากร้อยละ 8.8 ในปี 2556 เพิ่มเป็นร้อยละ 9.5 ในปี 2557 โดยเขตสุขภาพที่พบปัญหาเด็กอ้วนมาก คือ เขตสุขภาพที่ 3, 4, 6 และ 12 โดยพบร้อยละ 11.3, 12.3, 12.4 และ 11.1 ตามลำดับ ส่วนใหญ่พบในเขตเมืองสูงถึงร้อยละ 20 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายไม่เหมาะสม ทั้งที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง รวมถึงการควบคุมอารมณ์เพื่อสกัดความอยากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า การลดภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กเรียนถือเป็นนโยบายการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนของรัฐบาล ซึ่งจะต้องบรรลุวัตถุประสงค์ภายใน 4 - 6 เดือน คือภายใน เม.ย. 2558 กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานหลักในการดูแลกลุ่มเด็กวัยเรียน จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน สธ. แบบบูรณาการทุกกรม ทั้งกรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการแก้ปัญหานี้ ทั้งส่วนกลางและศูนย์วิชาการของทุกกรมจึงต้องมาหารือกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยแบ่งการดำเนินงานเป็นสองส่วนคือ 1. การดำเนินงานขั้นพื้นฐานคือ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันเด็กอ้วนในทุกเขตสุขภาพ
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า และ 2. เขตสุขภาพที่มีปัญหาเด็กอ้วน ทั้ง 4 เขต จะต้องดำเนินการเพิ่มเติม โดยจะมีการจัดเข้าค่ายเด็กอ้วน ซึ่งจะเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเด็กโโยเฉพาะเรื่อง 3 อ. คือ อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย อย่างเรื่องอารมณ์ก็จะให้เด็กทำพันธสัญญาใจ เพื่อให้เด็กมุ่งมั่นที่จะลดอ้วนให้ได้ ซึ่งในส่วนนี้ทีมวิชาการกรมสุขภาพจิตก็จะเข้ามาช่วยดูแล เรื่องโภชนาการ ให้เด็กอ่านฉลากโภชนาการอย่างง่ายเป็น เช่น สีเขียวสามารถกินได้ สีเหลืองกินได้บ้าง สีแดง ไม่ควรกินเลย ซึ่งงานส่วนนี้ อย. ก็จะเข้ามาช่วยให้ความรู้ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ การขับเคลื่อนจะเน้นการมีส่วนร่วมทั้งแกนนำนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน เพราะจะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย ตั้งแต่หน้าโรงเรียนไปจนถึงบ้านก็ต้องมีการขายอาหารที่เหมาะสม
“ในการจัดการเข้าค่ายเด็กอ้วนนั้น ทุกกรมจะมาช่วยกันอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะ เพื่อสร้างนักจัดการลดน้ำหนักเด็กวัยเรียน Smart Kids Coacher ซึ่งจะเป็นเทรนเนอร์ลงไปในพื้นที่เขตสุขภาพที่มีปัญหาเด็กอ้วน ทำงานร่วมกับโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจจะมีเทคนิคในการจัดการเข้าค่ายที่แตกต่างกันออกไป โดยการจัดประชุมในครั้งนี้ก็เพื่ออบรมเหล่าเทรนเนอร์ให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะลงไปแก้ปัญหา ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากนี้ โดยอาจใช้เวลาจัดเข้าค่ายประมาณ 2 - 3 วัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะถือเป็นสิทธิประโยชน์ของรัฐบาล ทั้งนี้ คาดว่า จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของประเทศชาติได้ 5,500 ล้านบาทต่อปี” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่