สธ.เผยสถิติป่วยปวดบวมแล้วกว่า 1.6 แสนราย ตายเกือบ 800 ราย พบมากในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คาดพุ่งถึง 2 แสนรายหลังสิ้นฤดูหนาว แนะดูแลสุขภาพ เผยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ป้องกันป่วยได้ดีกว่าเด็กกินนมผง 5 เท่า
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 12 พ.ย.ของทุกปี องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เป็นวันโรคปอดบวมโลก เพื่อรณรงค์ลดการป่วยและเสียชีวิต เพราะเป็นโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงเฉียบพลัน คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบสูงที่สุด มีรายงานเสียชีวิต 1.1 ล้านคนต่อปี ร้อยละ 99 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ส่วนประเทศไทย พบผู้ป่วยปอดบวมตลอดปี โดยปีนี้มีผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 2 พ.ย. พบผู้ป่วยแล้ว 164,955 ราย เสียชีวิต 772 ราย ขณะที่ในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคปอดบวม 159,150 ราย ที่น่าห่วงคือกำลังเข้าสู่ช่วงหน้าหนาว อากาศเย็นเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ประชาชนมีโอกาสป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากขึ้นซึ่งมีโรคปอดบวมเป็นภาวะแทรกซ้อน คาดว่าตลอดฤดูหนาวจนถึง ก.พ. 2558 ผู้ป่วยจะสูงขึ้นกว่า 2 แสนราย
นพ.ณรงค์กล่าวว่า กลุ่มผู้ป่วยและเสียชีวิตพบได้ทุกวัย แต่ที่ป่วยสูงสุด คือ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป พบประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปพบร้อยละ 74 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด จึงได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ เร่งรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักวิธีการป้องกันการเจ็บป่วย และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนหลังเจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า อาการเริ่มต้นของโรคปอดบวม ได้แก่ มีไข้ ไอจาม มีน้ำมูก เจ็บคอ หลังจากนั้นจะเริ่มหายใจเหนื่อยหอบ หายใจเร็วและลำบาก อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีการหนาวสั่น ซึม อาจมีอาเจียนร่วมด้วย กลุ่มเสี่ยงคือ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เด็กน้ำหนักตัวน้อย เด็กขาดสารอาหาร ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ หากป่วยอาการจะรุนแรง และกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป วิธีการป้องกันโรคคือ ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ฟอกสบู่บ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนหญิงหลังคลอดให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน เด็กจะได้รับภูมิต้านทานจากแม่ผ่านทางน้ำนม ช่วยป้องกันเด็กป่วยได้หลายโรค โดยเด็กที่กินนมแม่จะป่วยน้อยกว่าเด็กที่กินนมผง 2-7 เท่า ลดโอกาสป่วยปอดบวมและท้องเสีย 3-5 เท่าตัว ลดภูมิแพ้ 2-7 เท่าตัว และลำไส้อักเสบ 20 เท่า นอกจากนี้ ควรพาเด็กไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ที่ สธ.กำหนด เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับช่วงฤดูหนาวขอให้สวมเสื้อผ้าหนาๆ ให้ความอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ
“หากป่วยเป็นไข้หวัด ขอให้นอนพักผ่อนให้มาก รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย คาดหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่สู่คนอื่น หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน และมีไข้สูงขึ้น น้ำมูกเปลี่ยนสีจากปกติสีเหลืองใส เป็นสีเขียวข้น ไอเจ็บหน้าอกกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก ขอให้ผู้ปกครองสังเกตอาการ หากเด็กซึมลง ไม่กินน้ำ ไม่กินนม ไข้สูง ไอ หายใจลำบาก หายใจหอบเร็ว หรือหายใจจนซี่โครงบุ๋ม หรือมีเสียงดังวื้ด ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ขอให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว” อธิบดี คร.กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 12 พ.ย.ของทุกปี องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เป็นวันโรคปอดบวมโลก เพื่อรณรงค์ลดการป่วยและเสียชีวิต เพราะเป็นโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงเฉียบพลัน คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบสูงที่สุด มีรายงานเสียชีวิต 1.1 ล้านคนต่อปี ร้อยละ 99 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ส่วนประเทศไทย พบผู้ป่วยปอดบวมตลอดปี โดยปีนี้มีผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 2 พ.ย. พบผู้ป่วยแล้ว 164,955 ราย เสียชีวิต 772 ราย ขณะที่ในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคปอดบวม 159,150 ราย ที่น่าห่วงคือกำลังเข้าสู่ช่วงหน้าหนาว อากาศเย็นเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ประชาชนมีโอกาสป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากขึ้นซึ่งมีโรคปอดบวมเป็นภาวะแทรกซ้อน คาดว่าตลอดฤดูหนาวจนถึง ก.พ. 2558 ผู้ป่วยจะสูงขึ้นกว่า 2 แสนราย
นพ.ณรงค์กล่าวว่า กลุ่มผู้ป่วยและเสียชีวิตพบได้ทุกวัย แต่ที่ป่วยสูงสุด คือ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป พบประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปพบร้อยละ 74 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด จึงได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ เร่งรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักวิธีการป้องกันการเจ็บป่วย และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนหลังเจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า อาการเริ่มต้นของโรคปอดบวม ได้แก่ มีไข้ ไอจาม มีน้ำมูก เจ็บคอ หลังจากนั้นจะเริ่มหายใจเหนื่อยหอบ หายใจเร็วและลำบาก อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีการหนาวสั่น ซึม อาจมีอาเจียนร่วมด้วย กลุ่มเสี่ยงคือ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เด็กน้ำหนักตัวน้อย เด็กขาดสารอาหาร ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ หากป่วยอาการจะรุนแรง และกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป วิธีการป้องกันโรคคือ ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ฟอกสบู่บ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนหญิงหลังคลอดให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน เด็กจะได้รับภูมิต้านทานจากแม่ผ่านทางน้ำนม ช่วยป้องกันเด็กป่วยได้หลายโรค โดยเด็กที่กินนมแม่จะป่วยน้อยกว่าเด็กที่กินนมผง 2-7 เท่า ลดโอกาสป่วยปอดบวมและท้องเสีย 3-5 เท่าตัว ลดภูมิแพ้ 2-7 เท่าตัว และลำไส้อักเสบ 20 เท่า นอกจากนี้ ควรพาเด็กไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ที่ สธ.กำหนด เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับช่วงฤดูหนาวขอให้สวมเสื้อผ้าหนาๆ ให้ความอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ
“หากป่วยเป็นไข้หวัด ขอให้นอนพักผ่อนให้มาก รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย คาดหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่สู่คนอื่น หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน และมีไข้สูงขึ้น น้ำมูกเปลี่ยนสีจากปกติสีเหลืองใส เป็นสีเขียวข้น ไอเจ็บหน้าอกกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก ขอให้ผู้ปกครองสังเกตอาการ หากเด็กซึมลง ไม่กินน้ำ ไม่กินนม ไข้สูง ไอ หายใจลำบาก หายใจหอบเร็ว หรือหายใจจนซี่โครงบุ๋ม หรือมีเสียงดังวื้ด ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ขอให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว” อธิบดี คร.กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่