นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้อากาศหนาวเย็น ประชาชนอาจป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากขึ้น โรคที่เป็นห่วงและมักพบมากขึ้นในฤดูหนาวคือโรคปอดบวม ซึ่งเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในรอบ 10 เดือนปี 2557 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 ตุลาคม ทั่วประเทศมีประชาชนป่วยเป็นโรคปอดบวม 159,574 ราย กลุ่มที่พบว่าป่วยสูงที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี 47,931 ราย คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้ป่วยทั้งหมด รองลงมาพบในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี 17,193 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 753 ราย พบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 59 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด อัตราป่วยสูงสุดพบที่ภาคเหนือ พบแสนละ 299 คน รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบแสนละ 293 คน
นายแพทย์ณรงค์กล่าวต่อไปว่า โรคปอดบวมที่พบขณะนี้ ส่วนใหญ่มักเกิดตามมาหลังจากป่วยเป็นไข้หวัด จึงขอแนะนำประชาชนทั่วไป หากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้นอนพักผ่อนให้มากๆ อาจกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล และเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากไข้ยังสูงเกิน 2 วัน ไอมาก มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบากหรือใช้แรงในการหายใจมาก น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองอ่อนๆ เป็นสีเขียว ขอให้สงสัยว่าอาจมีโรคปอดบวมแทรกซ้อน ต้องรีบพบแพทย์ ในกรณีที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้เด็กดื่มน้ำหรือนมบ่อยๆ นอนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาและให้กินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้จะลดลง และหายป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน หรือเด็กมีอาการซึมลง ไม่กินน้ำกินนม หรือมีไข้สูง ไอ หายใจผิดปกติ เช่น หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงฮื๊ดหรือเสียงหวีด หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายต่างๆ จะน้อยลง ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่งมีความพร้อมในการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โดยทั่วไป จะมีประชาชนป่วยเป็นไข้หวัดปีละประมาณ 20 ล้านราย เฉลี่ยประมาณ 2 ครั้งต่อคน โรคนี้โดยทั่วไปไม่รุนแรง ติดต่อกันง่ายจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อจะแพร่กระจายมากับน้ำมูก ละอองน้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยโดยตรง หรือติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย อาการเริ่มแรกมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ คัดจมูก ไอ จาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย อาการมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยหลังจากวันที่ 3 อาการจะเริ่มดีขึ้น ไข้จะลดลง แต่อาจมีอาการไอห่างๆ ต่อไปอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่หากไม่ดีขึ้นแสดงว่าเชื้อลุกลามลงไปที่ปอด และเกิดการอักเสบที่เนื้อปอด อาการรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเนื่องจากมักจะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว และในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งจะมีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ
นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า โรคปอดบวมมีวิธีการป้องกันได้ โดยรับประทานผักผลไม้สดเพื่อเพิ่มวิตามินซี ช่วยป้องกันโรค ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติ เมื่อร่างกายแข็งแรงจะไม่ป่วยเป็นไข้หวัดง่าย ให้กินร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อขจัดเชื้อโรคที่ติดมากับมือ ในกลุ่มของผู้สูงอายุ ขอให้ใส่เสื้อกันหนาวหรือใส่เสื้อผ้าหลายๆ ชั้น ใส่หมวกไหมพรมคลุมที่ศีรษะ พันผ้าพันคอ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เลือดไหลเวียนได้ดี ส่วนในเด็กเล็ก ขอให้ผู้ปกครองดูแลความอบอุ่น สวมเสื้อผ้าหนาๆ หรือเสื้อกันหนาว หลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีคนแออัดหรือมีควันไฟในบ้าน ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย ส่วนหญิงหลังคลอดขอแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะดีที่สุด เนื่องจากภูมิต้านทานโรคจากแม่จะส่งผ่านไปให้ลูกทางน้ำนม เด็กจะไม่เจ็บป่วยง่าย ทั้งไข้หวัดและโรคอุจจาระร่วง
อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีประชาชนบางส่วน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเป็นหวัด เข้าใจผิดว่าการออกกำลังกายหนักๆ จะช่วยให้อาการไข้หวัดหายเร็วขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง หรือเคยออกกำลังกายเป็นประจำ อาจทำให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้เชื้อลุกลามลงสู่ปอดได้ง่าย จากอาการเหนื่อยซึ่งต้องหายใจเข้าออกถี่และลึกขึ้น วิธีการที่ถูกต้องคือให้นอนพักผ่อนให้มาก เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ สร้างภูมิต้านทาน ประชาชนสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร 02- 590 3183 หรือ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง นายแพทย์โสภณกล่าว
นายแพทย์ณรงค์กล่าวต่อไปว่า โรคปอดบวมที่พบขณะนี้ ส่วนใหญ่มักเกิดตามมาหลังจากป่วยเป็นไข้หวัด จึงขอแนะนำประชาชนทั่วไป หากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้นอนพักผ่อนให้มากๆ อาจกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล และเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากไข้ยังสูงเกิน 2 วัน ไอมาก มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบากหรือใช้แรงในการหายใจมาก น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองอ่อนๆ เป็นสีเขียว ขอให้สงสัยว่าอาจมีโรคปอดบวมแทรกซ้อน ต้องรีบพบแพทย์ ในกรณีที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้เด็กดื่มน้ำหรือนมบ่อยๆ นอนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาและให้กินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้จะลดลง และหายป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน หรือเด็กมีอาการซึมลง ไม่กินน้ำกินนม หรือมีไข้สูง ไอ หายใจผิดปกติ เช่น หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงฮื๊ดหรือเสียงหวีด หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายต่างๆ จะน้อยลง ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่งมีความพร้อมในการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โดยทั่วไป จะมีประชาชนป่วยเป็นไข้หวัดปีละประมาณ 20 ล้านราย เฉลี่ยประมาณ 2 ครั้งต่อคน โรคนี้โดยทั่วไปไม่รุนแรง ติดต่อกันง่ายจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อจะแพร่กระจายมากับน้ำมูก ละอองน้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยโดยตรง หรือติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย อาการเริ่มแรกมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ คัดจมูก ไอ จาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย อาการมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยหลังจากวันที่ 3 อาการจะเริ่มดีขึ้น ไข้จะลดลง แต่อาจมีอาการไอห่างๆ ต่อไปอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่หากไม่ดีขึ้นแสดงว่าเชื้อลุกลามลงไปที่ปอด และเกิดการอักเสบที่เนื้อปอด อาการรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเนื่องจากมักจะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว และในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งจะมีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ
นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า โรคปอดบวมมีวิธีการป้องกันได้ โดยรับประทานผักผลไม้สดเพื่อเพิ่มวิตามินซี ช่วยป้องกันโรค ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติ เมื่อร่างกายแข็งแรงจะไม่ป่วยเป็นไข้หวัดง่าย ให้กินร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อขจัดเชื้อโรคที่ติดมากับมือ ในกลุ่มของผู้สูงอายุ ขอให้ใส่เสื้อกันหนาวหรือใส่เสื้อผ้าหลายๆ ชั้น ใส่หมวกไหมพรมคลุมที่ศีรษะ พันผ้าพันคอ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เลือดไหลเวียนได้ดี ส่วนในเด็กเล็ก ขอให้ผู้ปกครองดูแลความอบอุ่น สวมเสื้อผ้าหนาๆ หรือเสื้อกันหนาว หลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีคนแออัดหรือมีควันไฟในบ้าน ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย ส่วนหญิงหลังคลอดขอแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะดีที่สุด เนื่องจากภูมิต้านทานโรคจากแม่จะส่งผ่านไปให้ลูกทางน้ำนม เด็กจะไม่เจ็บป่วยง่าย ทั้งไข้หวัดและโรคอุจจาระร่วง
อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีประชาชนบางส่วน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเป็นหวัด เข้าใจผิดว่าการออกกำลังกายหนักๆ จะช่วยให้อาการไข้หวัดหายเร็วขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง หรือเคยออกกำลังกายเป็นประจำ อาจทำให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้เชื้อลุกลามลงสู่ปอดได้ง่าย จากอาการเหนื่อยซึ่งต้องหายใจเข้าออกถี่และลึกขึ้น วิธีการที่ถูกต้องคือให้นอนพักผ่อนให้มาก เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ สร้างภูมิต้านทาน ประชาชนสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร 02- 590 3183 หรือ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง นายแพทย์โสภณกล่าว