ผลดำเนินงานกองทุนรักษา อปท.พบมีผู้มีสิทธิ์ 6.9 แสนราย ปี 57 ใช้จ่ายงบกว่า 3,700 ล้านบาท ต่ำกว่าที่วงเงินที่ตั้งไว้เกือบ 300 ล้านบาท ระบุจำนวนผู้สอบถามเรื่องการใช้สิทธิ์ลดน้อยลง จากเดือนแรกที่มีกว่า 2,000 ครั้ง ลดเหลือเดือนละ 200 ครั้งเท่านั้น
วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ที่มี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานบอร์ด สปสช. โดยมีวาระการรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า ผลการดำเนินงานกองทุนรักษาพยาบาล อปท. ซึ่งสปสช.ทำหน้าที่บริหารจัดการมาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2556 พบว่า มีผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนแล้ว 689,471 ราย จำนวนนี้ลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง 330,101 ราย ทั้งนี้ ในการดำเนินการปีแรก คือปีงบประมาณ 2557 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้ตั้งวงเงินสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล จำนวน 4,061 ล้านบาท มีการใช้จ่ายดังนี้ กรณีจ่ายตรง ผู้ป่วยนอก 1,407,132 ครั้ง เป็นเงิน 1,476,909,818.29 บาท ผู้ป่วยใน 70,754 ครั้ง เป็นเงิน 1,376,088,900.52 บาท รวมจ่ายตรง 1,477,886 ครั้ง เป็นเงิน 2,852,998,718.81 บาท กรณีใช้ใบเสร็จเบิก 283,556 ครั้ง เป็นเงิน 308,107,309.80 บาท กรณีฟอกเลือดล้างไต 100,721 ครั้ง เป็นเงิน 258,203,256.92 บาท รวมในปีงบประมาณ 2557 มีการใช้บริการทั้งหมด 1,862,163 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 3,742,976,723.46 บาท
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ส่วนปีงบประมาณ 2558 นั้น ในเดือนตุลาคม 2557 มีการใช้จ่ายดังนี้ กรณีจ่ายตรง ผู้ป่วยนอก 160,491 ครั้ง เป็นเงิน 171,411,636.06 บาท ผู้ป่วยใน 7,554 ครั้ง เป็นเงิน 152,088,212.37 บาท รวมจ่ายตรง 168,045 ครั้ง เป็นเงิน 323,499,848.43 บาท กรณีใช้ใบเสร็จเบิก 181 ครั้ง เป็นเงิน 167,589.50 บาท กรณีฟอกเลือดล้างไต 6,725 ครั้ง เป็นเงิน 16,173,145 บาท รวมมีการใช้บริการทั้งหมด 174,951 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 339,840,583 บาท
"สำหรับระบบการคุ้มครองสิทธิ์และรับเรื่องร้องเรียนนั้น สปสช.ใช้ระบบเดียวกับผู้มีสิทธิ์ในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยมีสายด่วนสปสช. 1330 คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยในช่วงแรกที่เริ่มให้บริการ คือเดือนตุลาคม 2556 จะมีผู้มีสิทธิ์กองทุนค่ารักษาอปท.โทรเข้ามาสอบถามจำนวนมาก อยู่ที่ประมาณ 2,000 ครั้งต่อเดือน แต่หลังจากนั้น เมื่อมีการชี้แจง การประชุมและทำความเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ ตัวเลขนี้ลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 200 ครั้ง" เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ที่มี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานบอร์ด สปสช. โดยมีวาระการรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า ผลการดำเนินงานกองทุนรักษาพยาบาล อปท. ซึ่งสปสช.ทำหน้าที่บริหารจัดการมาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2556 พบว่า มีผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนแล้ว 689,471 ราย จำนวนนี้ลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง 330,101 ราย ทั้งนี้ ในการดำเนินการปีแรก คือปีงบประมาณ 2557 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้ตั้งวงเงินสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล จำนวน 4,061 ล้านบาท มีการใช้จ่ายดังนี้ กรณีจ่ายตรง ผู้ป่วยนอก 1,407,132 ครั้ง เป็นเงิน 1,476,909,818.29 บาท ผู้ป่วยใน 70,754 ครั้ง เป็นเงิน 1,376,088,900.52 บาท รวมจ่ายตรง 1,477,886 ครั้ง เป็นเงิน 2,852,998,718.81 บาท กรณีใช้ใบเสร็จเบิก 283,556 ครั้ง เป็นเงิน 308,107,309.80 บาท กรณีฟอกเลือดล้างไต 100,721 ครั้ง เป็นเงิน 258,203,256.92 บาท รวมในปีงบประมาณ 2557 มีการใช้บริการทั้งหมด 1,862,163 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 3,742,976,723.46 บาท
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ส่วนปีงบประมาณ 2558 นั้น ในเดือนตุลาคม 2557 มีการใช้จ่ายดังนี้ กรณีจ่ายตรง ผู้ป่วยนอก 160,491 ครั้ง เป็นเงิน 171,411,636.06 บาท ผู้ป่วยใน 7,554 ครั้ง เป็นเงิน 152,088,212.37 บาท รวมจ่ายตรง 168,045 ครั้ง เป็นเงิน 323,499,848.43 บาท กรณีใช้ใบเสร็จเบิก 181 ครั้ง เป็นเงิน 167,589.50 บาท กรณีฟอกเลือดล้างไต 6,725 ครั้ง เป็นเงิน 16,173,145 บาท รวมมีการใช้บริการทั้งหมด 174,951 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 339,840,583 บาท
"สำหรับระบบการคุ้มครองสิทธิ์และรับเรื่องร้องเรียนนั้น สปสช.ใช้ระบบเดียวกับผู้มีสิทธิ์ในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยมีสายด่วนสปสช. 1330 คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยในช่วงแรกที่เริ่มให้บริการ คือเดือนตุลาคม 2556 จะมีผู้มีสิทธิ์กองทุนค่ารักษาอปท.โทรเข้ามาสอบถามจำนวนมาก อยู่ที่ประมาณ 2,000 ครั้งต่อเดือน แต่หลังจากนั้น เมื่อมีการชี้แจง การประชุมและทำความเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ ตัวเลขนี้ลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 200 ครั้ง" เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่