เตรียมปัดฝุ่นการเรียนอาชีวะ “ชัยพฤกษ์” สั่งทีมที่ปรึกษาทำแผนปฏิรูปการอาชีวศึกษาระยะ 10 ปี วางแนวทางไว้ 20 ประเด็น ระบุให้เร่งสรุปภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ เพื่อนำไปถกแต่ละประเด็นกับ “ณรงค์” ต้นเดือน ธ.ค.นี้ และเสนอฟันธงโครงสร้างใหม่ สอศ. แยกเป็นกระทรวงหรือไม่
วันนี้ (10 พ.ย.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เตรียมจัดทำแผนปฏิรูปการอาชีวศึกษาระยะ 10 ปี เป็นการดำเนินการต่อยอดจากการปฏิรูปโครงสร้างอาชีวศึกษาตามนโยบายของ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ที่สั่งการให้ สอศ.ไปศึกษาว่า อาชีวศึกษาควรแยกออกไปจากกระทรวงศึกษาธิการหรือไป เพราะฉะนั้น สอศ.จึงตัดสินใจทำแผนปฏิรูปการอาชีวศึกษาไปพร้อมๆ กับแผนปฏิรูปโครงสร้าง ทั้งนี้ ได้มอบให้ที่ปรึกษา สอศ.ทั้ง 14 คน ซึ่งมาจากอดีตผู้บริหาร สอศ. อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย นักกฎหมาย ไปศึกษาและวางแนวคิดการปฏิรูปอาชีวศึกษาในแต่ละด้าน เบื้องต้นตั้งธงไว้ 20 ประเด็น อาทิ การปรับภาพลักษณ์/ค่านิยมอาชีวศึกษา การแก้ปัญหานักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี การบริหารงบประมาณค่าอุปกรณ์การเรียน/รายหัว การเพิ่มจำนวนผู้เรียน การลดจำนวนนักเรียนออกกลางคัน การผลิตและพัฒนาครู หลักสูตรกระบวนการเรียนการสอน/การบริหารวิชาการ/ประกันคุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ รวมถึงประเด็น การปฏิรูปโครงสร้างอาชีวศึกษา
“ได้กำหนดให้แต่ละทีมและทำข้อมูลให้เสร็จและรายงานกลับมาภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ และให้จัดทำข้อมูลเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเป็นแผนเฉพาะหน้าที่จะดำเนินการภายใน 1 ปี และระยะที่ 2 เป็นแผนปฏิรูประยะ 10 ปี จากนั้นช่วงต้นเดือนธันวาคม 2557 สอศ.จะนำประเด็นต่างๆ เหล่านี้เสนอ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาเมื่อได้แนวทางที่แน่ชัดจะได้จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ รายละเอียดต่างๆ นำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ อีกครั้งเพื่อนำเสนอไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รวมถึงผู้เกี่ยวข้องต่อไป “ นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า ส่วนคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างอาชีวศึกษานั้น เบื้องต้นวางโครงสร้างใหม่เป็น 2 แบบ คือ แยกเป็นกระทรวงใหม่ และอยู่ใน ศธ.เหมือนเดิมแต่ปรับโครงสร้างให้มีหน่วยงานระดับกรม ซึ่งคร่าว ๆ จะประกอบหน่วยหน่วยงานระดับกรม ดังนี้ สำนักงานการอาชีวศึกษาเอกชน สำนักงานการอาชีวศึกษาชุมชน สำนักงานการอาชีวศึกษานอกระบบ สำนักงานส่งเสริมอาชีวศึกษาทวิภาคี สำนักงานพัฒนามาตรฐานและวิจัยอาชีวศึกษา และสำนักอำนวยการ ซึ่งเร็วๆ นี้จะนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ ตัดสินใจ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 พ.ย.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เตรียมจัดทำแผนปฏิรูปการอาชีวศึกษาระยะ 10 ปี เป็นการดำเนินการต่อยอดจากการปฏิรูปโครงสร้างอาชีวศึกษาตามนโยบายของ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ที่สั่งการให้ สอศ.ไปศึกษาว่า อาชีวศึกษาควรแยกออกไปจากกระทรวงศึกษาธิการหรือไป เพราะฉะนั้น สอศ.จึงตัดสินใจทำแผนปฏิรูปการอาชีวศึกษาไปพร้อมๆ กับแผนปฏิรูปโครงสร้าง ทั้งนี้ ได้มอบให้ที่ปรึกษา สอศ.ทั้ง 14 คน ซึ่งมาจากอดีตผู้บริหาร สอศ. อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย นักกฎหมาย ไปศึกษาและวางแนวคิดการปฏิรูปอาชีวศึกษาในแต่ละด้าน เบื้องต้นตั้งธงไว้ 20 ประเด็น อาทิ การปรับภาพลักษณ์/ค่านิยมอาชีวศึกษา การแก้ปัญหานักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี การบริหารงบประมาณค่าอุปกรณ์การเรียน/รายหัว การเพิ่มจำนวนผู้เรียน การลดจำนวนนักเรียนออกกลางคัน การผลิตและพัฒนาครู หลักสูตรกระบวนการเรียนการสอน/การบริหารวิชาการ/ประกันคุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ รวมถึงประเด็น การปฏิรูปโครงสร้างอาชีวศึกษา
“ได้กำหนดให้แต่ละทีมและทำข้อมูลให้เสร็จและรายงานกลับมาภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ และให้จัดทำข้อมูลเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเป็นแผนเฉพาะหน้าที่จะดำเนินการภายใน 1 ปี และระยะที่ 2 เป็นแผนปฏิรูประยะ 10 ปี จากนั้นช่วงต้นเดือนธันวาคม 2557 สอศ.จะนำประเด็นต่างๆ เหล่านี้เสนอ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาเมื่อได้แนวทางที่แน่ชัดจะได้จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ รายละเอียดต่างๆ นำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ อีกครั้งเพื่อนำเสนอไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รวมถึงผู้เกี่ยวข้องต่อไป “ นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า ส่วนคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างอาชีวศึกษานั้น เบื้องต้นวางโครงสร้างใหม่เป็น 2 แบบ คือ แยกเป็นกระทรวงใหม่ และอยู่ใน ศธ.เหมือนเดิมแต่ปรับโครงสร้างให้มีหน่วยงานระดับกรม ซึ่งคร่าว ๆ จะประกอบหน่วยหน่วยงานระดับกรม ดังนี้ สำนักงานการอาชีวศึกษาเอกชน สำนักงานการอาชีวศึกษาชุมชน สำนักงานการอาชีวศึกษานอกระบบ สำนักงานส่งเสริมอาชีวศึกษาทวิภาคี สำนักงานพัฒนามาตรฐานและวิจัยอาชีวศึกษา และสำนักอำนวยการ ซึ่งเร็วๆ นี้จะนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ ตัดสินใจ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่