องค์กรเด็ก-สตรี-ครอบครัว ชง พม.ยกเครื่องใหม่ หลังเตรียมรื้อโครงสร้าง ชี้ควรทำงานเชิงรุก เท่าทันสถานการณ์ กระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น เน้นภาคประชาชนมีส่วนร่วม ย้ำเกิดความเท่าเทียม ลดเหลื่อมล้ำ หวัง “ครูหยุย” รับลูกชงต่อ สนช.
วันนี้ (10 พ.ย.) ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ มีการจัดงานเสวนา “ปฏิรูป (ปรับโครงสร้าง) พม.เพื่อใคร” จัดโดยเครือข่ายทำงานด้านเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว โดยมีนายวัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เดินทางมาร่วมรับฟังความคิดเห็นและรับข้อเสนอจากเครือข่ายฯ เพื่อนำไปเสนอ สนช.ต่อไป
น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า จากที่ได้ประชุมร่วมกับเครือข่ายฯ เรื่องที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับที่... ขึ้นเพื่อจัดระบบและโครงสร้างการทำงานภายในขึ้นใหม่นั้น โดยจะรวมงานด้านนโยบาย ด้านวิชาการและด้านการปฏิบัติตามกลุ่มเป้าหมายเข้าด้วยกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น แต่หากพิจารณาถึงความซับซ้อนของปัญหาทางสังคม ความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ รวมถึงภาคีอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การปรับปรุงโครงสร้างของ พม.ครั้งนี้น่าจะเป็นโอกาสสำคัญนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ
น.ส.เข็มพรกล่าวอีกว่า จากการหารือครั้งนี้จึงเห็นตรงกันและขอเสนอต่อ สนช.ที่กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ต่อไปนี้ 1. การปรับโครงสร้างจะต้องมองงานด้านสังคมสงเคราะห์ให้เป็นงานเชิงรุก เพื่อให้เท่าทันสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่ยังมีความซับซ้อนในสังคม 2. กรมเด็กเยาวชนและครอบครัวต้องเป็นกรมที่อยู่รวมกันไม่ควรแยกส่วน 3. ต้องมองงานด้านสตรีในมิติที่หลากหลาย รวมถึงความหลากหลายทางเพศต่างๆ ต้องนำเข้ามาหารือเพื่อพัฒนาต่อไป 4. ควรกระจายอำนาจลงสู่จังหวัด เพื่อให้การทำงานเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและชุมชน รวมถึงเพิ่มบทบาทของสำนักงานในระดับ พมจ.เพื่อบูรณาการงานร่วมกัน และเชื่อมโยงงานต่างๆ ทั้งในระดับจังหวัดระดับชุมชน 5. ควรสร้างการมีส่วนร่วม การประสานงานเพื่อให้เครือข่าย ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม เข้ามาร่วมทำงานมากกว่าที่หน่วยราชการจะเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตัวเอง โดยมองกลุ่มเป้าหมายให้เป็นคนที่มีศักยภาพ สามารถเข้าร่วมแก้ไขพัฒนาทั้งตนเองและพัฒนาสังคมได้ และ 6. มีงานวิจัยที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาร่วมพัฒนาระบบสร้างระบบกลไกให้มีความเท่าทันสถานการณ์
“จริงๆ การปรับโครงสร้างในครั้งนี้ไม่ควรรีบร้อน แต่ควรมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย รวมถึงการออกแบบที่ต้องเน้นเชิงยุทธศาสตร์กระจายให้ท้องถิ่นต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทและเสนอปัญหา เนื่องจากการทำงานของพม.ยังเป็นการตั้งรับ ไม่เท่าทันสถานการณ์ที่เป็นอยู่ อีกทั้งปัญหายังมีความซับซ้อน หลากหลายมิติ และหวังว่า รมว.พม.คนปัจจุบันที่เข้ามาทำงานตรงนี้ จะเน้นแนวทางพัฒนาสังคมเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ และอยากเห็น พม.สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จับต้องได้และมีประสิทธิภาพสร้างความเท่าเทียม เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งหัวใจหลักคือประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่ประโยชน์ของราชการ หรือใครคนใดคนหนึ่ง” น.ส.เข็มพรกล่าว
ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ รองประธานมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า โดยหลักการต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักและการปรับครั้งนี้ต้องทำให้งานเดินหน้าซึ่งปัจจุบันกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะทำงานหนักที่สุด และการปรับโครงสร้างงานด้านส่งเสริมพัฒนากับงานด้านคุ้มครองช่วยเหลือเข้าด้วยกันก็ยิ่งทำให้ระบบการดูแลเกิดการกระจายทั่วถึงเพิ่มขึ้น แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หน่วยบริการจากเดิมที่เคยอยู่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะยกรวมไปไว้ทุกกรม ทุกสำนัก ของพม.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานระดับจังหวัด หากแยกแบบนี้จะทำให้งานแผนกสังคมและสวัสดิการกลายเป็นงานที่แยกส่วน ขึ้นอยู่กับกรม
“พม.ควรใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างงานบริการไปอยู่ในพื้นที่จังหวัดให้มากขึ้น และมีขอบเขตความรับผิดชอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ และต้องสมดุลกับท้องถิ่น ขณะเดียวกันโครงสร้างของพมจ.ต้องมีความเข้มแข็งขึ้น ทำงานแบบบูรณาการ สนับสนุนบทบาทของท้องถิ่นและเอ็นจีโอให้มีส่วนในการพัฒนา เพราะในหลายประเทศพิสูจน์แล้วว่ารูปแบบนี้จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้” นพ.ยงยุทธกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 พ.ย.) ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ มีการจัดงานเสวนา “ปฏิรูป (ปรับโครงสร้าง) พม.เพื่อใคร” จัดโดยเครือข่ายทำงานด้านเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว โดยมีนายวัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เดินทางมาร่วมรับฟังความคิดเห็นและรับข้อเสนอจากเครือข่ายฯ เพื่อนำไปเสนอ สนช.ต่อไป
น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า จากที่ได้ประชุมร่วมกับเครือข่ายฯ เรื่องที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับที่... ขึ้นเพื่อจัดระบบและโครงสร้างการทำงานภายในขึ้นใหม่นั้น โดยจะรวมงานด้านนโยบาย ด้านวิชาการและด้านการปฏิบัติตามกลุ่มเป้าหมายเข้าด้วยกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น แต่หากพิจารณาถึงความซับซ้อนของปัญหาทางสังคม ความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ รวมถึงภาคีอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การปรับปรุงโครงสร้างของ พม.ครั้งนี้น่าจะเป็นโอกาสสำคัญนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ
น.ส.เข็มพรกล่าวอีกว่า จากการหารือครั้งนี้จึงเห็นตรงกันและขอเสนอต่อ สนช.ที่กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ต่อไปนี้ 1. การปรับโครงสร้างจะต้องมองงานด้านสังคมสงเคราะห์ให้เป็นงานเชิงรุก เพื่อให้เท่าทันสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่ยังมีความซับซ้อนในสังคม 2. กรมเด็กเยาวชนและครอบครัวต้องเป็นกรมที่อยู่รวมกันไม่ควรแยกส่วน 3. ต้องมองงานด้านสตรีในมิติที่หลากหลาย รวมถึงความหลากหลายทางเพศต่างๆ ต้องนำเข้ามาหารือเพื่อพัฒนาต่อไป 4. ควรกระจายอำนาจลงสู่จังหวัด เพื่อให้การทำงานเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและชุมชน รวมถึงเพิ่มบทบาทของสำนักงานในระดับ พมจ.เพื่อบูรณาการงานร่วมกัน และเชื่อมโยงงานต่างๆ ทั้งในระดับจังหวัดระดับชุมชน 5. ควรสร้างการมีส่วนร่วม การประสานงานเพื่อให้เครือข่าย ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม เข้ามาร่วมทำงานมากกว่าที่หน่วยราชการจะเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตัวเอง โดยมองกลุ่มเป้าหมายให้เป็นคนที่มีศักยภาพ สามารถเข้าร่วมแก้ไขพัฒนาทั้งตนเองและพัฒนาสังคมได้ และ 6. มีงานวิจัยที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาร่วมพัฒนาระบบสร้างระบบกลไกให้มีความเท่าทันสถานการณ์
“จริงๆ การปรับโครงสร้างในครั้งนี้ไม่ควรรีบร้อน แต่ควรมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย รวมถึงการออกแบบที่ต้องเน้นเชิงยุทธศาสตร์กระจายให้ท้องถิ่นต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทและเสนอปัญหา เนื่องจากการทำงานของพม.ยังเป็นการตั้งรับ ไม่เท่าทันสถานการณ์ที่เป็นอยู่ อีกทั้งปัญหายังมีความซับซ้อน หลากหลายมิติ และหวังว่า รมว.พม.คนปัจจุบันที่เข้ามาทำงานตรงนี้ จะเน้นแนวทางพัฒนาสังคมเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ และอยากเห็น พม.สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จับต้องได้และมีประสิทธิภาพสร้างความเท่าเทียม เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งหัวใจหลักคือประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่ประโยชน์ของราชการ หรือใครคนใดคนหนึ่ง” น.ส.เข็มพรกล่าว
ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ รองประธานมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า โดยหลักการต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักและการปรับครั้งนี้ต้องทำให้งานเดินหน้าซึ่งปัจจุบันกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะทำงานหนักที่สุด และการปรับโครงสร้างงานด้านส่งเสริมพัฒนากับงานด้านคุ้มครองช่วยเหลือเข้าด้วยกันก็ยิ่งทำให้ระบบการดูแลเกิดการกระจายทั่วถึงเพิ่มขึ้น แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หน่วยบริการจากเดิมที่เคยอยู่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะยกรวมไปไว้ทุกกรม ทุกสำนัก ของพม.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานระดับจังหวัด หากแยกแบบนี้จะทำให้งานแผนกสังคมและสวัสดิการกลายเป็นงานที่แยกส่วน ขึ้นอยู่กับกรม
“พม.ควรใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างงานบริการไปอยู่ในพื้นที่จังหวัดให้มากขึ้น และมีขอบเขตความรับผิดชอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ และต้องสมดุลกับท้องถิ่น ขณะเดียวกันโครงสร้างของพมจ.ต้องมีความเข้มแข็งขึ้น ทำงานแบบบูรณาการ สนับสนุนบทบาทของท้องถิ่นและเอ็นจีโอให้มีส่วนในการพัฒนา เพราะในหลายประเทศพิสูจน์แล้วว่ารูปแบบนี้จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้” นพ.ยงยุทธกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่