สธ.กำชับโรงพยาบาลภาคใต้ 81 แห่งเสี่ยงน้ำท่วม เร่งป้องกันโรงพยาบาล จัดแผนป้องกันและแผนจัดบริการประชาชน ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ติดบ้าน พร้อมเซรุ่มแก้พิษงู เผยส่งยาช่วยน้ำท่วม 20,000 ชุดสำรองที่นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานีแล้ว
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้กำชับให้สถานพยาบาลในพื้นที่ภาตใต้ทุกแห่ง จัดแผนป้องกันน้ำท่วมโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาล 81 แห่งที่เสี่ยงน้ำท่วม เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ในที่ลุ่มและริมแม่น้ำ ขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมแผนป้องกันสถานบริการ และจัดบริการประชาชนในภาวะฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลหากมีน้ำท่วมสถานพยาบาล หรือท่วมเส้นทางประชาชนเดินทางเข้าออกลำบาก รวมทั้งวางแผนเส้นทางการส่งต่อผู้ป่วยทั้งในและนอกพื้นที่ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสถานบริการถูกน้ำท่วม ขณะเดียวกัน ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) จัดทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปเยี่ยมบ้านที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด เพื่อให้การดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง หากอยู่ในภาวะที่ไม่ปลอดภัยให้ย้ายออกมาจากพื้นที่เป็นการชั่วคราว รวมทั้งให้ทุกจังหวัดจัดยาสามัญประจำบ้านพร้อมแจกจ่ายประชาชนที่ประสบภัย ซึ่งขณะนี้มีทุกจังหวัดแล้ว ทั้งนี้ยังได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านเพิ่มเติมอีก 20,000 ชุดไปสำรองไว้ที่สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ได้ให้โรงพยาบาลประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กรณีอพยพประชาชน เพื่อจัดหน่วยแพทย์ดูแลสุขภาพและสุขาภิบาลน้ำ อาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคติดต่อ สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้เตรียมขนย้ายข้าวของ อุปกรณ์ไฟฟ้าไว้ที่สูง ยกระดับปลั๊กไฟฟ้าสูงจากพื้นที่คิดว่าจะถูกน้ำท่วมประมาณ 1 เมตร สำรองน้ำสะอาด อาหาร อาหารกระป๋องยาที่จำเป็นต่างๆ เช่น ยาลดไข้ ยาหยอดตา ยาใส่แผล ผงน้ำตาลเกลือแร่ และยาประจำตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และอุปกรณ์ที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉิน เช่น อุปกรณ์สื่อสารพร้อมแบตเตอรี่ ไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ ถุงขยะ หรือถุงพลาสติกให้เพียงพอ สามารถช่วยตนเองได้ 5-7 วัน จัดบ้านเรือนให้สะอาด เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหนีน้ำมาอาศัย โดย สธ.ได้ให้ทุกโรงพยาบาลสำรองเซรุ่มแก้พิษงูที่พบบ่อยในพื้นที่ไว้พร้อมแล้ว ประชาชนสามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือหากเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ที่หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
“สำหรับโรงพยาบาลที่เคยมีปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา เช่น ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ได้กั้นกระสอบทรายรอบๆ โรงพยาบาล สำรองอาหารและน้ำสำหรับผู้ป่วย พร้อมออกซิเจน เตรียมเครื่องสูบน้ำ เครื่องปั่นไฟ ไว้พร้อมแล้ว” ปลัด สธ.กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้กำชับให้สถานพยาบาลในพื้นที่ภาตใต้ทุกแห่ง จัดแผนป้องกันน้ำท่วมโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาล 81 แห่งที่เสี่ยงน้ำท่วม เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ในที่ลุ่มและริมแม่น้ำ ขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมแผนป้องกันสถานบริการ และจัดบริการประชาชนในภาวะฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลหากมีน้ำท่วมสถานพยาบาล หรือท่วมเส้นทางประชาชนเดินทางเข้าออกลำบาก รวมทั้งวางแผนเส้นทางการส่งต่อผู้ป่วยทั้งในและนอกพื้นที่ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสถานบริการถูกน้ำท่วม ขณะเดียวกัน ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) จัดทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปเยี่ยมบ้านที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด เพื่อให้การดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง หากอยู่ในภาวะที่ไม่ปลอดภัยให้ย้ายออกมาจากพื้นที่เป็นการชั่วคราว รวมทั้งให้ทุกจังหวัดจัดยาสามัญประจำบ้านพร้อมแจกจ่ายประชาชนที่ประสบภัย ซึ่งขณะนี้มีทุกจังหวัดแล้ว ทั้งนี้ยังได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านเพิ่มเติมอีก 20,000 ชุดไปสำรองไว้ที่สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ได้ให้โรงพยาบาลประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กรณีอพยพประชาชน เพื่อจัดหน่วยแพทย์ดูแลสุขภาพและสุขาภิบาลน้ำ อาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคติดต่อ สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้เตรียมขนย้ายข้าวของ อุปกรณ์ไฟฟ้าไว้ที่สูง ยกระดับปลั๊กไฟฟ้าสูงจากพื้นที่คิดว่าจะถูกน้ำท่วมประมาณ 1 เมตร สำรองน้ำสะอาด อาหาร อาหารกระป๋องยาที่จำเป็นต่างๆ เช่น ยาลดไข้ ยาหยอดตา ยาใส่แผล ผงน้ำตาลเกลือแร่ และยาประจำตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และอุปกรณ์ที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉิน เช่น อุปกรณ์สื่อสารพร้อมแบตเตอรี่ ไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ ถุงขยะ หรือถุงพลาสติกให้เพียงพอ สามารถช่วยตนเองได้ 5-7 วัน จัดบ้านเรือนให้สะอาด เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหนีน้ำมาอาศัย โดย สธ.ได้ให้ทุกโรงพยาบาลสำรองเซรุ่มแก้พิษงูที่พบบ่อยในพื้นที่ไว้พร้อมแล้ว ประชาชนสามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือหากเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ที่หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
“สำหรับโรงพยาบาลที่เคยมีปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา เช่น ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ได้กั้นกระสอบทรายรอบๆ โรงพยาบาล สำรองอาหารและน้ำสำหรับผู้ป่วย พร้อมออกซิเจน เตรียมเครื่องสูบน้ำ เครื่องปั่นไฟ ไว้พร้อมแล้ว” ปลัด สธ.กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่