แพทย์ชี้วัยรุ่นแชตมือถือมากเสี่ยงคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม แนะไม่ควรใช้มือถือ-คอมพ์ในที่มืดและนานเกินไป
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การติดต่อสื่อสารปัจจุบันในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ซึ่งมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน เนื่องจากมีความทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว แต่การใช้งานที่มากเกินความจำเป็นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งหนึ่งในโรคที่อาจส่งกระทบต่อสุขภาพ คือ “คอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม” (Computer Vision Syndrome) หรือโรคซีวีเอส คนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น เกิน 2-3 ชั่วโมง มักจะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย อาการทางสายตาเหล่านี้เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป อาการเหล่านี้พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อาการในบางคนอาจเป็นเล็กๆ น้อยๆ ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ก็หายไป บางคนอาจต้องว่างเว้นการใช้เป็นวันก็หายไป บางรายอาจต้องใช้ยาระงับอาการ
“สาเหตุของโรคคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือนานๆ และไม่ค่อยกะพริบตา หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบจะลดลง ประกอบกับแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ทำให้ตาเมื่อยล้า ทั้งแสงจ้าและแสงสะท้อนมายังจอภาพอาจเกิดจากแสงสว่างไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้าหรือหลังจอภาพโดยตรง หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้เกิดแสงจ้าและแสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย ระยะทำงานที่ห่างจากจอภาพไม่เหมาะสม มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวไม่มากโดยการทำงานตามปกติไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ถ้ามาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์จะก่ออาการเมื่อยล้าตาได้ บางรายมีโรคตาบางอย่างประจำตัวอยู่ เช่น ต้อหินเรื้อรัง ม่านตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง ตลอดจนโรคทางกาย เช่น ไซนัสอักเสบ โรคหวัด ภูมิแพ้เรื้อรัง หรือ ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อต้องปรับสายตามากเวลาใช้คอมพิวเตอร์ จึงก่อให้เกิดอาการเมื่อยตาได้ง่าย การทำงานจ้องจอภาพนานเกินไป ย่อมเกิดอาการทางตาได้ง่ายจากการเกร็งกล้ามเนื้อตาตลอดเวลา” นพ.สุพรรณกล่าว
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการแก้ไขกันและป้องกันคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม หรือโรคซีวีเอส คือ ฝึกกะพริบตาบ่อยๆ ขณะทำงานหน้าจอ และหากแสบตามากอาจใช้น้ำตาเทียมช่วย ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ ควรปรับห้องและบริเวณทำงาน อย่าให้มีแสงสะท้อนจากหน้าต่าง หลอดไฟบริเวณเพดานห้อง ไม่ควรให้แสงสะท้อนเข้าตา และไม่หันจอภาพเข้าหน้าต่าง ควรใช้แผ่นกรองแสงวางหน้าจอหรือใส่แว่นกรองแสง จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ในระยะที่ตามองได้สบายๆ ปรับเก้าอี้นั่งให้พอเหมาะ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ใช้แว่นตา 2ชั้น จะต้องตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อจะได้ตรงกับเลนส์แว่นตาส่วนที่ใช้มองใกล้ ถ้าต้องใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ต่อเนื่อง ควรปรึกษาจักษุแพทย์ ใช้แว่นตาเฉพาะดูได้ทั้งระยะอ่านหนังสือ ระยะจอภาพ และระยะไกล เป็นกรณีพิเศษ หากมีสายตาผิดปกติหรือโรคตาบางอย่างอยู่ ควรแก้ไขและรักษาโรคตาที่เป็นอยู่ควบคู่ไปด้วย และหากงานในหน้าที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทุก 1-2 ชม. ควรมีการพักสายตา โดยละสายตาจากหน้าจอ แล้วมองออกไปไกลๆ หรือหลับตาสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การติดต่อสื่อสารปัจจุบันในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ซึ่งมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน เนื่องจากมีความทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว แต่การใช้งานที่มากเกินความจำเป็นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งหนึ่งในโรคที่อาจส่งกระทบต่อสุขภาพ คือ “คอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม” (Computer Vision Syndrome) หรือโรคซีวีเอส คนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น เกิน 2-3 ชั่วโมง มักจะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย อาการทางสายตาเหล่านี้เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป อาการเหล่านี้พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อาการในบางคนอาจเป็นเล็กๆ น้อยๆ ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ก็หายไป บางคนอาจต้องว่างเว้นการใช้เป็นวันก็หายไป บางรายอาจต้องใช้ยาระงับอาการ
“สาเหตุของโรคคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือนานๆ และไม่ค่อยกะพริบตา หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบจะลดลง ประกอบกับแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ทำให้ตาเมื่อยล้า ทั้งแสงจ้าและแสงสะท้อนมายังจอภาพอาจเกิดจากแสงสว่างไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้าหรือหลังจอภาพโดยตรง หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้เกิดแสงจ้าและแสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย ระยะทำงานที่ห่างจากจอภาพไม่เหมาะสม มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวไม่มากโดยการทำงานตามปกติไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ถ้ามาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์จะก่ออาการเมื่อยล้าตาได้ บางรายมีโรคตาบางอย่างประจำตัวอยู่ เช่น ต้อหินเรื้อรัง ม่านตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง ตลอดจนโรคทางกาย เช่น ไซนัสอักเสบ โรคหวัด ภูมิแพ้เรื้อรัง หรือ ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อต้องปรับสายตามากเวลาใช้คอมพิวเตอร์ จึงก่อให้เกิดอาการเมื่อยตาได้ง่าย การทำงานจ้องจอภาพนานเกินไป ย่อมเกิดอาการทางตาได้ง่ายจากการเกร็งกล้ามเนื้อตาตลอดเวลา” นพ.สุพรรณกล่าว
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการแก้ไขกันและป้องกันคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม หรือโรคซีวีเอส คือ ฝึกกะพริบตาบ่อยๆ ขณะทำงานหน้าจอ และหากแสบตามากอาจใช้น้ำตาเทียมช่วย ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ ควรปรับห้องและบริเวณทำงาน อย่าให้มีแสงสะท้อนจากหน้าต่าง หลอดไฟบริเวณเพดานห้อง ไม่ควรให้แสงสะท้อนเข้าตา และไม่หันจอภาพเข้าหน้าต่าง ควรใช้แผ่นกรองแสงวางหน้าจอหรือใส่แว่นกรองแสง จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ในระยะที่ตามองได้สบายๆ ปรับเก้าอี้นั่งให้พอเหมาะ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ใช้แว่นตา 2ชั้น จะต้องตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อจะได้ตรงกับเลนส์แว่นตาส่วนที่ใช้มองใกล้ ถ้าต้องใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ต่อเนื่อง ควรปรึกษาจักษุแพทย์ ใช้แว่นตาเฉพาะดูได้ทั้งระยะอ่านหนังสือ ระยะจอภาพ และระยะไกล เป็นกรณีพิเศษ หากมีสายตาผิดปกติหรือโรคตาบางอย่างอยู่ ควรแก้ไขและรักษาโรคตาที่เป็นอยู่ควบคู่ไปด้วย และหากงานในหน้าที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทุก 1-2 ชม. ควรมีการพักสายตา โดยละสายตาจากหน้าจอ แล้วมองออกไปไกลๆ หรือหลับตาสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่