มีเดียมอนิเตอร์สำรวจแฟนเพจเฟซบุ๊ก บ.น้ำเมา พบใช้โฆษณาเกลื่อน ส่งเสริมพฤติกรรมการดื่ม สร้างปฏิสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ โชว์ภาพสินค้า ชี้ผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่องการใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารการตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยกลยุทธ์ส่งเสริมพฤติกรรมการดื่ม สร้างปฏิสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ ซึ่งถือว่าเป็นการเลี่ยงและกระทำผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยทำการศึกษา 3 ช่วง คือ เม.ย. ก.ค. และ ก.ย. 2557 เดือนละ 1 สัปดาห์ คือ วันที่ 11 - 17 ศึกษาผ่านเฟซบุ๊กเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 10 แบรนด์ โดยเลือกจากแบรนด์ที่มียอดใช้จ่ายโฆษณาในปี 2556 จำนวน 100 ล้านบาทขึ้นไป เป็นเพจเฟซบุ๊กภาษาไทยที่มีสมาชิก 30,000 คนขึ้นไป และมีการเคลื่อนไหวในช่วงที่ศึกษา ซึ่งในช่วงที่ศึกษาจะตรงกับเทศกาลสงกรานต์ อาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ซึ่งมีการรณรงค์ให้ประชาชนไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผศ.ดร.เอื้อจิต กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11 - 17 เม.ย. มีการโพสต์ข้อความเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดื่ม สร้างปฏิสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ มากที่สุด 194 ข้อความ รองลงมาเป็นช่วงวันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 จำนวน 155 ข้อความ ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงวันปกติทั่วไป 150 ข้อความ แต่เมื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสาร พบว่า มีมากกว่า 1 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่พบมากที่สุด คือ การส่งเสริมพฤติกรรมการดื่ม 226 ข้อความ รองลงมาคือ การสร้างปฏิสัมพันธ์ 210 ข้อความ และสร้างภาพลักษณ์ 206 ข้อความ
“จากการสำรวจยังพบภาพสินค้า/บรรจุภัณฑ์ ภาพตราสินค้าตราสัญลักษณ์บริษัท โดยข้อความสถานะแต่ละข้อความอาจมีการปรากฏภาพดังกล่าวมากกว่า 1 ลักษณะ โดยไม่นับภาพโปรไฟล์ที่ปรากฏ โดยรวมพบว่า ร้อยละ 70 ของข้อความที่ศึกษาอาจเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย 3 ลักษณะ คือ การโฆษณาชักจูงให้ดื่ม การปรากฏภาพสินค้า/บรรจุภัณฑ์ และการปรากฏภาพตราสัญลักษณ์สินค้า/บริษัท โดยไม่มีคำเตือน ส่วนอีกร้อยละ 30 แม้ไม่ชัดเจนว่าอาจเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย แต่จำเป็นต้องมีการตีความ ซึ่งในอนาคตจำเป็นปรับแก้กฎหมายให้เคร่งครัดในการกำกับดูแลการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ผอ.มีเดียมอนิเตอร์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่องการใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารการตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยกลยุทธ์ส่งเสริมพฤติกรรมการดื่ม สร้างปฏิสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ ซึ่งถือว่าเป็นการเลี่ยงและกระทำผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยทำการศึกษา 3 ช่วง คือ เม.ย. ก.ค. และ ก.ย. 2557 เดือนละ 1 สัปดาห์ คือ วันที่ 11 - 17 ศึกษาผ่านเฟซบุ๊กเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 10 แบรนด์ โดยเลือกจากแบรนด์ที่มียอดใช้จ่ายโฆษณาในปี 2556 จำนวน 100 ล้านบาทขึ้นไป เป็นเพจเฟซบุ๊กภาษาไทยที่มีสมาชิก 30,000 คนขึ้นไป และมีการเคลื่อนไหวในช่วงที่ศึกษา ซึ่งในช่วงที่ศึกษาจะตรงกับเทศกาลสงกรานต์ อาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ซึ่งมีการรณรงค์ให้ประชาชนไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผศ.ดร.เอื้อจิต กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11 - 17 เม.ย. มีการโพสต์ข้อความเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดื่ม สร้างปฏิสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ มากที่สุด 194 ข้อความ รองลงมาเป็นช่วงวันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 จำนวน 155 ข้อความ ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงวันปกติทั่วไป 150 ข้อความ แต่เมื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสาร พบว่า มีมากกว่า 1 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่พบมากที่สุด คือ การส่งเสริมพฤติกรรมการดื่ม 226 ข้อความ รองลงมาคือ การสร้างปฏิสัมพันธ์ 210 ข้อความ และสร้างภาพลักษณ์ 206 ข้อความ
“จากการสำรวจยังพบภาพสินค้า/บรรจุภัณฑ์ ภาพตราสินค้าตราสัญลักษณ์บริษัท โดยข้อความสถานะแต่ละข้อความอาจมีการปรากฏภาพดังกล่าวมากกว่า 1 ลักษณะ โดยไม่นับภาพโปรไฟล์ที่ปรากฏ โดยรวมพบว่า ร้อยละ 70 ของข้อความที่ศึกษาอาจเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย 3 ลักษณะ คือ การโฆษณาชักจูงให้ดื่ม การปรากฏภาพสินค้า/บรรจุภัณฑ์ และการปรากฏภาพตราสัญลักษณ์สินค้า/บริษัท โดยไม่มีคำเตือน ส่วนอีกร้อยละ 30 แม้ไม่ชัดเจนว่าอาจเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย แต่จำเป็นต้องมีการตีความ ซึ่งในอนาคตจำเป็นปรับแก้กฎหมายให้เคร่งครัดในการกำกับดูแลการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ผอ.มีเดียมอนิเตอร์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่