xs
xsm
sm
md
lg

ห่วงตัวแทนแรงงานพิจารณา กม.ประกันสังคมน้อย หวั่นถูกเมินข้อเรียกร้อง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คสรท. ห่วงตัวแทนแรงงานใน กมธ. พิจารณาร่าง กม. ประกันสังคม เป็นเสียงข้างน้อย หวั่นถูกเมินข้อเรียกร้องปัญหาแรงงาน วอนเปิดกว้างรับข้อเสนอ

วันนี้ (3 พ.ย.) น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับกระทรวงแรงงาน ว่า ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับกระทรวงแรงงานในวาระที่ 1 และตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ 18 คน โดยในจำนวนนี้เป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงานเพียง 2 คน แยกเป็นแรงงานในระบบ 1 คน ในสัดส่วนของผู้แทนองค์กรแรงงาน และแรงงานนอกระบบ 1 คน ในสัดส่วนของผู้แทนองค์กรเอกชน ขณะที่อีก 16คน เป็นผู้แทนหน่วยงานรัฐ และ สนช. ซึ่ง คสรท. เห็นว่า กมธ. วิสามัญฯในสัดส่วนของผู้ใช้แรงงานมีจำนวนน้อยเกินไป หากเทียบกับจำนวนผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีกว่า 12 ล้านคนและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับร่างกฎหมายฉบับนี้มากที่สุด ทั้งนี้ คสรท. ไม่ได้เรียกร้องให้ กมธ. วิสามัญฯในส่วนผู้แทนผู้ใช้แรงงาน แต่อยากให้คณะ กมธ. วิสามัญฯเปิดกว้าง และรับฟังความคิดเห็นและข้อเรียกร้องของแรงงานให้มากที่สุดเพื่อให้เนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯมีความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้แรงงาน

รองประธาน คสรท. กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ที่ คสรท. กังวลคือ การให้ รมว.แรงงาน มีอำนาจออกระเบียบสรรหาคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ซึ่งจะทำให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการบริหารกองทุน ขณะที่ข้อเสนอของ คสรท. ต้องการให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นองค์กรอิสระ ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งผู้ประกันตนมีส่วนร่วมบริหารโดยให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกตั้งกรรมการบอร์ด สปส. โดยตรงและใช้วิธีสรรหาประธานและเลขาธิการ สปส. รวมทั้งกรรมการชุดต่างๆ เพื่อให้ได้มืออาชีพมาดูแลกองทุน

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์ในหลายประเด็นที่ยังไม่มีการบรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม เช่น กรณีผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยจากการทำงานแต่ยังไม่ได้มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ชัดเจนก็ไม่สามารถใช้สิทธิกองทุนประกันสังคม หรือกองทุนเงินทดแทนได้ จึงต้องจ่ายค่ารักษาเอง กรณีผู้ประกันตนเจ็บป่วยเกินกว่า 6 เดือนไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้ ทำให้ต้องลาออกจากงานมาเข้ามาตรา 39 แทน หรือกรณีเกิดข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหากมีการสั่งหยุดงานยืดเยื้อถึง 6 เดือน จะทำให้แรงงานไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้ รวมทั้งไม่มีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ อยากให้กมธ. วิสามัญฯ พิจารณาอย่างรอบคอบ เป็นธรรม และเพิ่มประเด็นเหล่านี้เข้าไปในร่าง พ.ร.บประกันสังคม หลังจากนี้คสรท. และเครือข่ายแรงงานจะติดตามการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม อย่างใกล้ชิดและเปิดเวทีรับความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานด้วย

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

Loading

เครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น

View on Instagram




กำลังโหลดความคิดเห็น