ห่วง รพ. สังกัด สธ. คนไข้ล้น - แพทย์ทำงานหนัก ทำแพทย์คนไข้คุยกันน้อย ไม่มีเวลาอธิบายอาการป่วย แนวทางการรักษา รองเลขาฯแพทยสภาจี้แก้ปัญหา แนะใช้ระบบคิวแบบ รพ. กองทัพ โรงเรียนแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่รอได้ คำนวณภาระงาน และกระจายไป รพ. เครือข่าย
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า จำนวนคนไข้ที่ล้นหลาม ทำให้โรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในต่างจังหวัดต้องจัดบริการให้มีการนอนรักษาด้วยการใช้เตียงริมทางเดิน หรือหน้าลิฟต์ ส่งผลให้แพทย์ไม่เพียงพอต่อจำนวนคนไข้ ประกอบกับแพทย์มีชั่วโมงเวลาการทำงานมาก ทำให้เวลาออกตรวจก็มีเวลาพูดคุย อธิบายอาการป่วย แนวทางการรักษากับคนไข้แต่ละรายน้อยลง สธ.จึงต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขในเรื่องนี้โดยด่วน ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหามีหลายรูปแบบ เช่น คำนวณภาระงานในแต่ละพื้นที่แล้วจัดสรรการให้บริการที่เหมาะสม
พล.อ.ต.อิทธพร กล่าวว่า นิกจากนี้ อาจจัดบริการในระบบคิวสำหรับคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคหรืออาการที่สามารถรอได้ ส่วนการให้บริการในภาวะฉุกเฉินสามารถเข้าถึงได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้ลดเวลาที่คนไข้จะต้องมารอพบแพทย์ลงได้ แพทย์ก็จะมีเวลาในการพูดคุย อธิบายกับคนไข้แต่ละคนมากขึ้น เพราะมีจำนวนที่ชัดเจนว่าในแต่ละวันมีคนไข้ตามคิวที่นัดกี่คน หรืออาจกระจายการให้บริการโรคต่างๆ ออกไปยังหน่วยบริการอื่นในเครือข่าย เพื่อลดการกระจุดตัวในหน่วยบริการแห่งใดแห่งหนึ่ง
“หน่วยบริการสังกัดกองทัพ ตำรวจ หรือมหาวิทยาลัยที่เป็นโรงเรียนแพทย์ไม่ประสบปัญหามากเหมือน สธ. เพราะส่วนใหญ่ใช้ระบบคิว หรือนัดหมายล่วงหน้าและมีจำนวนที่แน่ชัดในการให้บริการแต่ละวัน แพทย์และคนไข้แต่ละคนจึงมีเวลาพูดคุยกันมาก แต่ส่วนโรงพยาบาลสังกัด สธ. อ้าแขนรับหมด ต้องแบกรับทุกอย่าง จะกำหนดจำนวนคนไข้ตามนัดหมาย อาจเป็นเรื่องยาก เพราะประชาชนในพื้นที่อาจไม่พอใจ แต่ต้องดำเนินการโดยเริ่มจากการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ ว่าการดำเนินการเหล่านี้จะส่งผลดีอย่างไร” รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า จำนวนคนไข้ที่ล้นหลาม ทำให้โรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในต่างจังหวัดต้องจัดบริการให้มีการนอนรักษาด้วยการใช้เตียงริมทางเดิน หรือหน้าลิฟต์ ส่งผลให้แพทย์ไม่เพียงพอต่อจำนวนคนไข้ ประกอบกับแพทย์มีชั่วโมงเวลาการทำงานมาก ทำให้เวลาออกตรวจก็มีเวลาพูดคุย อธิบายอาการป่วย แนวทางการรักษากับคนไข้แต่ละรายน้อยลง สธ.จึงต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขในเรื่องนี้โดยด่วน ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหามีหลายรูปแบบ เช่น คำนวณภาระงานในแต่ละพื้นที่แล้วจัดสรรการให้บริการที่เหมาะสม
พล.อ.ต.อิทธพร กล่าวว่า นิกจากนี้ อาจจัดบริการในระบบคิวสำหรับคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคหรืออาการที่สามารถรอได้ ส่วนการให้บริการในภาวะฉุกเฉินสามารถเข้าถึงได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้ลดเวลาที่คนไข้จะต้องมารอพบแพทย์ลงได้ แพทย์ก็จะมีเวลาในการพูดคุย อธิบายกับคนไข้แต่ละคนมากขึ้น เพราะมีจำนวนที่ชัดเจนว่าในแต่ละวันมีคนไข้ตามคิวที่นัดกี่คน หรืออาจกระจายการให้บริการโรคต่างๆ ออกไปยังหน่วยบริการอื่นในเครือข่าย เพื่อลดการกระจุดตัวในหน่วยบริการแห่งใดแห่งหนึ่ง
“หน่วยบริการสังกัดกองทัพ ตำรวจ หรือมหาวิทยาลัยที่เป็นโรงเรียนแพทย์ไม่ประสบปัญหามากเหมือน สธ. เพราะส่วนใหญ่ใช้ระบบคิว หรือนัดหมายล่วงหน้าและมีจำนวนที่แน่ชัดในการให้บริการแต่ละวัน แพทย์และคนไข้แต่ละคนจึงมีเวลาพูดคุยกันมาก แต่ส่วนโรงพยาบาลสังกัด สธ. อ้าแขนรับหมด ต้องแบกรับทุกอย่าง จะกำหนดจำนวนคนไข้ตามนัดหมาย อาจเป็นเรื่องยาก เพราะประชาชนในพื้นที่อาจไม่พอใจ แต่ต้องดำเนินการโดยเริ่มจากการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ ว่าการดำเนินการเหล่านี้จะส่งผลดีอย่างไร” รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่