เมื่อพิจารณาตามมาตรฐานสากล ประเทศออสเตรเลียนับว่ามีระบบบริการสุขภาพที่ดีและเข้มแข็งมาก แต่ล่าสุดประเทศนี้กลับต้องการยกเครื่องปฎิรูประบบสุขภาพของตนเสียใหม่ ฉะนั้น เพื่อชี้ชวนให้เกิดความคิดเห็นที่สดใหม่ต่อเรื่องนี้ เว็บไซต์ “เดอะ คอนเวอร์เซชั่น” จึงได้รวบรวมบทเรียนในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพจาก 5 ประเทศมานำเสนอ โดยจะบอกเล่าทั้งในด้านที่ดีและไม่ดี เพื่อช่วยดึงออสเตรเลียออกมาจากหลุมดำของการปฏิรูประบบสุขภาพ
ตอนที่ 1 - บทเรียนจากประเทศอังกฤษ
ตอนที่ 2 - บทเรียนจากประเทศเนเธอร์แลนด์
และต่อไปนี้ เป็น ตอนที่ 3 บทเรียนจากประเทศสิงคโปร์
www.hfocus.org : แม้จะเป็นประเทศที่มีประชากรเพียง 5.4 ล้านคน แต่ “สิงคโปร์” ก็เล็งเห็นอย่างชัดเจนว่าพวกเขาต้องการอะไรจากระบบสุขภาพบ้าง เริ่มจากในปี 1993 ที่รัฐบาลสิงคโปร์ได้เผยแพร่สมุดปกขาวเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพ ซึ่งแถลงการณ์ความยาว 60 หน้ากระดาษนี้ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงนโยบายแห่งชาติด้านสาธารณสุข รวมถึงวิสัยทัศน์และปรัชญานำทาง ตรงกันข้ามกับประเทศออสเตรเลียซึ่งไม่เคยมีแถลงการณ์ด้านสุขภาพใดๆ ที่แสดงความชัดเจนว่า รัฐและประชาชนในประเทศต้องการอะไรจากระบบสุขภาพบ้าง การดำเนินงานของออสเตรเลียนั้นมุ่งเน้นไปที่อายุคาดเฉลี่ยของประชากร ในขณะที่สิงคโปร์มุ่งเน้นไปที่อัตราตายของทารก
และก็เป็นไปอย่างที่ทุกคนคาดคิด ภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่วนใหญ่ไปตกอยู่กับกลุ่มคนที่กำลังจ่ายน้อย ในออสเตรเลียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพกว่าร้อยละ 68 มาจากการเงินงบประมาณส่วนกลาง ส่วนสิงคโปร์ใช้งบส่วนกลางเพียงร้อยละ 38 โดยส่วนที่เหลือประชาชนต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ระบบสาธารณสุขของสิงคโปร์มีวิธีดำเนินงานอย่างไร แล้วเราจะเรียนรู้อะไรจากมันได้บ้าง
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.hfocus.org
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)