สธ. เตรียมผลักดัน “เมนูชูสุขภาพสากล” เน้นลดเค็ม มัน เพิ่มมากขึ้น เป็นเมนูประจำในสถานศึกษา โรงพยาบาล ภัตตาคาร ร้านอาหาร ภาคอุตสาหกรรม รองรับการเข้าสู่เออีซี ขายแนวคิดอาหารใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และการขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ตามมา เช่น โรคอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ทั้งคนไทยและคนอเมริกันต่างก็ประสบปัญหาดังกล่าว อย่างคนอเมริกันบริโภคเนื้อสัตว์เกินความจำเป็น ทำให้สุขภาพเสื่อมและเกิดโรคกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จนคนอเมริกัน 3 ใน 4 เสียชีวิตเป็นประจำทุกปี ส่วนคนไทยนิยมกินเค็มเกินจากอาหารที่ใส่เครื่องปรุงรส ได้รับโซเดียมสูงกว่าที่ควรได้รับ 2 เท่า โครงการเมนูชูสุขภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดี เลือกกินอาหารถูกหลักโภชนาการ เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีการกำหนดมาตรฐานที่ดีต่อสุขภาพ 4 ด้าน ได้แก่ 1. เป็นอาหารที่ปรุงประกอบด้วยอย่างน้อย 4 หมู่ ถ้ากินผลไม้ด้วยจะได้ครบทั้ง 5 หมู่ 2. มีปริมาณไขมัน ไม่เกินร้อยละ 25-30 ของการกระจายตัวของพลังงานในอาหารทั้งหมด 3. ปรุงด้วยอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษปนเปื้อน และ 4. รสไม่หวานและเค็มจัด
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมฯ ร่วมกับสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย และสมาคมอนามัยแห่งประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข(CDC-USA) จัดทำหนังสือ “เมนูสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน” (Healthy Menu Low Salt & Low Fat) ฉบับ 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน แนะนำ 10 เมนูยอดนิยมในแต่ละภาค ที่มีโอกาสได้รับเกลือและไขมันมากเกิน โดยดัดแปลงให้เป็นเมนูสุขภาพมีการปรับลดปริมาณส่วนผสมของไขมันและโซเดียมลงร้อยละ 20-73 แต่ยังคงรสชาติของสูตรและความอร่อยไว้เหมือนเดิม
นพ.พรเทพ กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ โดยรัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เน้นเมนูอาหารที่ช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ เช่น บริโภคอาหารจากพืชผักผลไม้ ธัญพืชให้มากขึ้น ลดเนื้อลง เน้นอาหารสด ใหม่ ลดการใช้เครื่องปรุง เช่น เกลือ เนย ลด หวาน มัน เค็ม ซึ่งขณะนี้เชฟอาร์มสตรอง เชฟแถวหน้าของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเชฟที่ปรุงอาหารเมนูชูสุขภาพประจำทำเนียบขาวได้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อมาแลกเปลี่ยนการปรุงอาหารเมนูชูสุขภาพลดหวาน ลดมัน ลดเค็มด้วย
“เชฟอาร์มสตรองได้สาธิตการปรุงอาหารเมนูสุขภาพคือ สะตูไก่ เฟสติวัล แบบลดเค็มลดมัน โดยผสมผสานการใส่เครื่องเทศสดไทย ทั้งโหระพา กระเทียม หอมหัวใหญ่ พริกสด ฯลฯ เน้นผักสมุนไพรเป็นส่วนประกอบมากขึ้น ใช้เนื้อไก่ลดลง ลดการใช้เครื่องปรุงที่เป็นเกลือ เนย ถือเป็นเมนูชูสุขภาพสากลตำรับไทยเมนูแรกที่ได้รับการพัฒนาสูตรขึ้นมาใหม่ โดยเชฟมืออาชีพระดับโลก โดยกรมฯจะผลักดันการพัฒนาเมนูชูสุขภาพสากลให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ภาคีเครือข่ายผู้ประกอบการอาหาร ผู้ปรุงอาหารในสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ภัตตาคาร ร้านอาหารและภาคอุตสาหกรรมได้นำไปใช้เป็นเมนูประจำในการปรุง ประกอบอาหาร รองรับการเข้าสู่ AEC ด้วยการสร้างจุดขายเรื่องการใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภค” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และการขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ตามมา เช่น โรคอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ทั้งคนไทยและคนอเมริกันต่างก็ประสบปัญหาดังกล่าว อย่างคนอเมริกันบริโภคเนื้อสัตว์เกินความจำเป็น ทำให้สุขภาพเสื่อมและเกิดโรคกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จนคนอเมริกัน 3 ใน 4 เสียชีวิตเป็นประจำทุกปี ส่วนคนไทยนิยมกินเค็มเกินจากอาหารที่ใส่เครื่องปรุงรส ได้รับโซเดียมสูงกว่าที่ควรได้รับ 2 เท่า โครงการเมนูชูสุขภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดี เลือกกินอาหารถูกหลักโภชนาการ เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีการกำหนดมาตรฐานที่ดีต่อสุขภาพ 4 ด้าน ได้แก่ 1. เป็นอาหารที่ปรุงประกอบด้วยอย่างน้อย 4 หมู่ ถ้ากินผลไม้ด้วยจะได้ครบทั้ง 5 หมู่ 2. มีปริมาณไขมัน ไม่เกินร้อยละ 25-30 ของการกระจายตัวของพลังงานในอาหารทั้งหมด 3. ปรุงด้วยอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษปนเปื้อน และ 4. รสไม่หวานและเค็มจัด
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมฯ ร่วมกับสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย และสมาคมอนามัยแห่งประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข(CDC-USA) จัดทำหนังสือ “เมนูสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน” (Healthy Menu Low Salt & Low Fat) ฉบับ 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน แนะนำ 10 เมนูยอดนิยมในแต่ละภาค ที่มีโอกาสได้รับเกลือและไขมันมากเกิน โดยดัดแปลงให้เป็นเมนูสุขภาพมีการปรับลดปริมาณส่วนผสมของไขมันและโซเดียมลงร้อยละ 20-73 แต่ยังคงรสชาติของสูตรและความอร่อยไว้เหมือนเดิม
นพ.พรเทพ กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ โดยรัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เน้นเมนูอาหารที่ช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ เช่น บริโภคอาหารจากพืชผักผลไม้ ธัญพืชให้มากขึ้น ลดเนื้อลง เน้นอาหารสด ใหม่ ลดการใช้เครื่องปรุง เช่น เกลือ เนย ลด หวาน มัน เค็ม ซึ่งขณะนี้เชฟอาร์มสตรอง เชฟแถวหน้าของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเชฟที่ปรุงอาหารเมนูชูสุขภาพประจำทำเนียบขาวได้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อมาแลกเปลี่ยนการปรุงอาหารเมนูชูสุขภาพลดหวาน ลดมัน ลดเค็มด้วย
“เชฟอาร์มสตรองได้สาธิตการปรุงอาหารเมนูสุขภาพคือ สะตูไก่ เฟสติวัล แบบลดเค็มลดมัน โดยผสมผสานการใส่เครื่องเทศสดไทย ทั้งโหระพา กระเทียม หอมหัวใหญ่ พริกสด ฯลฯ เน้นผักสมุนไพรเป็นส่วนประกอบมากขึ้น ใช้เนื้อไก่ลดลง ลดการใช้เครื่องปรุงที่เป็นเกลือ เนย ถือเป็นเมนูชูสุขภาพสากลตำรับไทยเมนูแรกที่ได้รับการพัฒนาสูตรขึ้นมาใหม่ โดยเชฟมืออาชีพระดับโลก โดยกรมฯจะผลักดันการพัฒนาเมนูชูสุขภาพสากลให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ภาคีเครือข่ายผู้ประกอบการอาหาร ผู้ปรุงอาหารในสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ภัตตาคาร ร้านอาหารและภาคอุตสาหกรรมได้นำไปใช้เป็นเมนูประจำในการปรุง ประกอบอาหาร รองรับการเข้าสู่ AEC ด้วยการสร้างจุดขายเรื่องการใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภค” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น