xs
xsm
sm
md
lg

ป้องกันหรือบรรเทาได้ จากโรคเบาหวานสู่โรคไต (1)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
อ.นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์

โรคเบาหวาน มักจะมาพร้อมกับอาการหรือโรคแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะ “โรคไตวายเรื้อรัง”
เนื่องจาก 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาในการควบคุมน้ำตาลในเลือดจะเกิดโรคไตวายเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความดันเลือดสูง และบุคคลในครอบครัว มีประวัติเป็นโรคไตวายเรื้อรังร่วมด้วย
ภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงมานาน จะส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย ดังนี้
1. หลอดเลือดฝอยที่ไต น้ำตาลจะสะสมที่ผนังหลอดเลือดทำให้ หลอดเลือดตีบและอุดตันในที่สุด จึงพบการรั่วของโปรตีนออกมาในปัสสาวะ และทำลายไต ทำให้ความสามารถในการกรองเอาของเสียออกจากร่างกายลดลง
2. เส้นประสาทในร่างกาย จะเกิดการทำลายเส้นประสาทในร่างกาย ทำให้การสั่งงานระหว่างสมองและอวัยวะที่ควบคุมโดยเฉพาะ “กระเพาะปัสสาวะ” มีการทำงานลดลง ดังนั้น เวลากระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะเต็มจึงไม่รู้สึกปวด และความสามารถในการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะก็อาจจะลดลง ทำให้เกิดการคั่งของปัสสาวะจึงมีผลต่อความดันที่เพิ่มขึ้นในทางเดินปัสสาวะ และส่งผลต่อการทำลายไตในที่สุด
3. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ และลุกลามขึ้นมาตามทางเดินปัสสาวะจนทำลายเนื้อไต
จากหลักฐานทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาในการควบคุมน้ำตาลจะเริ่มเข้าสู่ “ภาวะไตถูกทำลาย” ในระยะ 5 ปีแรก จากนั้นอีกประมาณ 5 - 15 ปี จะเกิด “ภาวะความดันเลือดสูง” และ “การทำงานของไตลดลง” ต่อจากนั้นอีก 3 - 5 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะ “เข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย”
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยเบาหวานทุกรายจะต้องเกิดโรคไตวายเรื้อรัง เพราะแค่ดูแลและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ก็สามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงต่อการเกิดโรคไต ซึ่งอาจนำไปสู่ไตวายเรื้อรังได้
----



พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช

รอบรู้กับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้สนใจเข้าอบรม เรื่อง “รอบรู้กับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” เปิดอบรม 2 รุ่น รุ่นละ 100 คน รุ่นที่ 1 วันที่ 30 ต.ค. 57 รุ่นที่ 2 วันที่ 13 พ.ย. 57 ณ ห้องจุฬาภรณ์ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2 รพ.ศิริราช ค่าลงทะเบียน 500 บาท สมัคร/สอบถามได้ที่ โทร. 0 2419 7508 - 9 ต่อ 102

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่





กำลังโหลดความคิดเห็น