สธ. เผยโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยกว่า 50,000 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เผย 4 สัญญาณอาการบ่งบอก แนะปรับพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง และอ้วน สกัดการเกิดโรคหัวใจ
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 29 ก.ย. ทุกปี สมาพันธ์หัวใจโลก กำหนดให้เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) โดยปัญหาโรคหัวใจเป็นสาเหตุการป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 1 ของโลก องค์การอนามัยโลกรายงานปีละประมาณ 17 ล้านคน หากไม่เร่งป้องกันแก้ไข คาดว่าในปี 2573 หรือในอีก 16 ปี จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 23 ล้านคน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักตลอด 24 ชั่วโมง ทำหน้าที่ในการส่งเลือดผ่านไปทางหลอดเลือดเพื่อไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย หากมีหลอดเลือดใดหลอดเลือดหนึ่ง มีปัญหาเชื่อมโยงกันคืออวัยวะปลายทางขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง และหัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดปัญหาหัวใจวาย และเสียชีวิต ส่วนใหญ่การป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้มักเป็นอย่างฉุกเฉิน ไม่รู้ตัวมาก่อน สำหรับสถานการณ์โรคหัวใจของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปี 2556 มีผู้เสียชีวิต 54,530 คน เฉลี่ยวันละ 150 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน อัตราการป่วยต่อประชากรทุก 1 แสนคน
“การแก้ไขปัญหา สธ. เน้นให้ทุกจังหวัดรณรงค์ปรับพฤติกรรมสุขภาพประชาชน ป้องกันการป่วย และจัดบริการรักษาพยาบาลผู้ที่ป่วยแล้ว โดยให้ทุกเขตสุขภาพตั้งศูนย์เชี่ยวชาญโรคหัวใจ สามารถให้การรักษาทั้งด้วยยา การผ่าตัด และขยายการให้ยาละลายลิ่มเลือดถึงโรงพยาบาลระดับอำเภอ เพื่อให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นอย่างทันท่วงที ก่อนส่งรักษาต่อโรงพยาบาลใหญ่ เป็นการลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย และมีบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยประชาชนทุกพื้นที่ สามารถโทรขอความช่วยเหลือได้ที่หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ผลวิจัยทั่วโลกยืนยันตรงกันว่าสาเหตุการป่วยโรคหัวใจเกือบ 100% มาจากโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และอ้วน ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน แคบ พฤติกรรมเสี่ยงคือ กินอาหารไม่สมดุล โดยเฉพาะรสหวาน มัน เค็ม กินผักผลไม้น้อย ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น ไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งผู้ป่วยจาก 4 โรคคาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งกินยาควบคุมอาการ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม งดดื่มเหล้า งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพบแพทย์ตามนัด เพื่อป้องกันโรคหัวใจและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก ไตวาย
“ประชาชนที่สุขภาพปกติขอให้เน้นการป้องกัน ทำได้ตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไปจนถึงสูงอายุ คือ ออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อย 30 นาที ชั่งน้ำหนักตัวทุกวันตอนเช้าก่อนกินอาหาร เพื่อประเมินน้ำหนักตัวเอง กินอาหารที่มีน้ำตาล เกลือ ไขมันต่ำ เพิ่มการกินผัก ผลไม้ให้ได้วันละครึ่งกิโลกรัม งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย ส่วนสัญญาณโรคหัวใจ ได้แก่ 1. เหนื่อย แน่นและเจ็บหน้าอก 2. นั่งพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น และเป็นมากขึ้น 3. ผู้ป่วยโรคหัวใจใช้ยาอมใต้ลิ้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น และ 4. มีอาการอื่นๆ ร่วม อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม หากมีอาการดังนี้ ขอให้รีบไปพบแพทย์” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 29 ก.ย. ทุกปี สมาพันธ์หัวใจโลก กำหนดให้เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) โดยปัญหาโรคหัวใจเป็นสาเหตุการป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 1 ของโลก องค์การอนามัยโลกรายงานปีละประมาณ 17 ล้านคน หากไม่เร่งป้องกันแก้ไข คาดว่าในปี 2573 หรือในอีก 16 ปี จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 23 ล้านคน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักตลอด 24 ชั่วโมง ทำหน้าที่ในการส่งเลือดผ่านไปทางหลอดเลือดเพื่อไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย หากมีหลอดเลือดใดหลอดเลือดหนึ่ง มีปัญหาเชื่อมโยงกันคืออวัยวะปลายทางขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง และหัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดปัญหาหัวใจวาย และเสียชีวิต ส่วนใหญ่การป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้มักเป็นอย่างฉุกเฉิน ไม่รู้ตัวมาก่อน สำหรับสถานการณ์โรคหัวใจของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปี 2556 มีผู้เสียชีวิต 54,530 คน เฉลี่ยวันละ 150 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน อัตราการป่วยต่อประชากรทุก 1 แสนคน
“การแก้ไขปัญหา สธ. เน้นให้ทุกจังหวัดรณรงค์ปรับพฤติกรรมสุขภาพประชาชน ป้องกันการป่วย และจัดบริการรักษาพยาบาลผู้ที่ป่วยแล้ว โดยให้ทุกเขตสุขภาพตั้งศูนย์เชี่ยวชาญโรคหัวใจ สามารถให้การรักษาทั้งด้วยยา การผ่าตัด และขยายการให้ยาละลายลิ่มเลือดถึงโรงพยาบาลระดับอำเภอ เพื่อให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นอย่างทันท่วงที ก่อนส่งรักษาต่อโรงพยาบาลใหญ่ เป็นการลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย และมีบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยประชาชนทุกพื้นที่ สามารถโทรขอความช่วยเหลือได้ที่หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ผลวิจัยทั่วโลกยืนยันตรงกันว่าสาเหตุการป่วยโรคหัวใจเกือบ 100% มาจากโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และอ้วน ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน แคบ พฤติกรรมเสี่ยงคือ กินอาหารไม่สมดุล โดยเฉพาะรสหวาน มัน เค็ม กินผักผลไม้น้อย ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น ไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งผู้ป่วยจาก 4 โรคคาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งกินยาควบคุมอาการ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม งดดื่มเหล้า งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพบแพทย์ตามนัด เพื่อป้องกันโรคหัวใจและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก ไตวาย
“ประชาชนที่สุขภาพปกติขอให้เน้นการป้องกัน ทำได้ตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไปจนถึงสูงอายุ คือ ออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อย 30 นาที ชั่งน้ำหนักตัวทุกวันตอนเช้าก่อนกินอาหาร เพื่อประเมินน้ำหนักตัวเอง กินอาหารที่มีน้ำตาล เกลือ ไขมันต่ำ เพิ่มการกินผัก ผลไม้ให้ได้วันละครึ่งกิโลกรัม งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย ส่วนสัญญาณโรคหัวใจ ได้แก่ 1. เหนื่อย แน่นและเจ็บหน้าอก 2. นั่งพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น และเป็นมากขึ้น 3. ผู้ป่วยโรคหัวใจใช้ยาอมใต้ลิ้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น และ 4. มีอาการอื่นๆ ร่วม อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม หากมีอาการดังนี้ ขอให้รีบไปพบแพทย์” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่