โจ๋กลับใจเปิดอกก้าวพลาด ติดพนัน ติดยา ทำพ่อแม่เสียใจ ฝากผู้ใหญ่ตระหนักปัญหา ชี้สภาพแวดล้อมเอื้อการจูงใจง่าย ขณะที่กลุ่มนักศึกษาจัดกิจกรรมวันเยาวชนแห่งชาติ ชูแคมเปญ“เยาวชนตื่นตัว สังคมอย่าเฉย” สะท้อนปัจจัยเสี่ยงทำร้ายเยาวชน แนะรัฐบาลใหม่ออกมาตรการปกป้อง วอนสังคมตื่นตัวไม่นิ่งเฉย
วันนี้(20 ก.ย.) เมื่อเวลา10.00 น. ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กลุ่มนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ในนามเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน เครือข่ายสื่อเด็กเปลี่ยนโลก เครือข่ายเยาวชนเกสรชุมชน กทม.และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนา จัดกิจกรรมเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี2557ภายใต้แคมเปญ“เยาวชนตื่นตัว สังคมอย่าเฉย”ทั้งนี้ในงานมีกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิจำลองสถานการณ์สะท้อนปัญหาเยาวชนต่อปัจจัยเสี่ยง กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องสังคมอย่านิ่งเฉย และนิทรรศการผลกระทบที่เกิดกับเยาวชน
นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมที่เยาวชนร่วมกันจัดขึ้นในวันนี้ เพื่อสะท้อนผ่านสังคมให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงที่กระทบกับเยาวชนและเป็นปัญหาสะสมมายาวนาน ได้แก่ ปัญหายาเสพติด พนัน สุรา และสื่อที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเราได้ร่วมกันคิดแคมเปญ“เยาวชนตื่นตัว สังคมอย่าเฉย”เพื่อตอกย้ำให้เยาวชนรู้เท่าทัน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ หากไกลจากปัจจัยเสี่ยง กล้าลุกขึ้นมาปกป้องตัวเองและเพื่อน ขณะเดียวกันภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด เร่งออกมาตรการเพื่อปกป้องเยาวชน และสุดท้ายสังคมต้องไม่นิ่งเฉย ช่วยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังหากมีเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่นกรณีรุ่นพี่รับน้องโหดเป็นเหตุให้เสียชีวิต หากมีการแจ้งระงับเหตุ เพื่อนนักศึกษาอาจไม่ต้องจบชีวิตแบบนั้น หรือแม้กระทั่งการขายเหล้าเบียร์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ก็ควรช่วยกันหยุดพฤติกรรมเหล่านี้
“เยาวชนเป็นเป้าหมายโดยตรงต่อปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งความรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ก่ออาชญากรรม อุบัติเหตุ พิการเจ็บตาย จึงอยากกระตุ้นเตือนให้สังคมตื่นตัวรับรู้ ไม่นิ่งเฉย ร่วมกันสอดส่องดูแล หาทางระงับเหตุก่อนสถานการณ์บานปลายสูญเสีย และเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติปีนี้ คงต้องฝากความหวังกับรัฐบาลใหม่ให้จริงจังแก้ปัญหาเพื่อเป็นของขวัญให้กับเยาวชน” นายธีรภัทร์ กล่าว
นายสุรนาถ แป้นประเสริฐ เยาวชนจากเครือข่ายเกสรชุมชน กทม. เปิดใจถึงชีวิตที่เคยก้าวพลาดเพราะสุราและยาเสพติดว่าช่วงที่เรียน ม.1 อายุ12 ปี เริ่มเกเรดื่มสุราสูบบุรี่และหนักขึ้นเรื่อยๆหันมาเสพยาและเป็นผู้ค้า ซึ่งพี่ชายอีก2คนก็ติดยาและค้ายาเช่นกัน เคยเสพมากสุด10เม็ดต่อวัน เมื่อพ่อแม่ทราบก็ทำทุกทางเพื่อให้ลูก3คนเลิก แม้จำเป็นต้องทุบตีและเอาโซ่ล่ามไม่ให้ออกไปไหนแต่ก็ไม่ได้ผล สุดท้ายถึงจุดๆหนึ่งเมื่อเราเห็นน้ำตาแม่ อีกทั้งพ่อก็ทำงานรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดจนชาวบ้านเหยียดหยามดูถูกครอบครัวภายหลังพ่อแม่เริ่มชักชวนออกไปช่วยทำกิจกรรมรณรงค์เพื่อสังคมมากขึ้น และซึมซับ จากผู้ช่วยพ่อก็กลายเป็นผู้ถ่ายทอดให้คนในชุมชนเด็กๆและเยาวชนได้รับรู้ไม่ตกเป็นธาตุยาเสพติด ซึ่งตนและพี่ชายอีก2คนก็เลิกเสพยาได้ในที่สุด
“จากบทเรียนชีวิตครั้งนี้อยากฝากเป็นอุทาหรณ์ให้เยาวชนย้อนมองตัวเองและคิดถึงความรู้สึกของคนในบ้านให้มากๆเราไม่ควรทำให้สังคมเดือดร้อน สิ่งไหนไม่ดีควรถอยหลังออกมาและฝากถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้ตระหนักยับยั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขต่างๆที่ทำลายเยาวชนเพราะอย่าลืมว่าทั้งแรงจูงใจและสภาพแวดล้อมทำให้เด็กเข้าไปอยู่ในจุดนั้นได้ง่ายมาก” นายสุรนาถ กล่าว
นายเอ (นามสมมุติ) อายุ 21 ปี เยาวชนชายจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก หนึ่งในเยาวชนที่ก้าวพลาดเพราะการพนัน กล่าวว่า ช่วงอายุ17ปี เคยทำเรื่องผิดพลาดที่สุดในชีวิตคือ ร่วมกับเพื่อนก่อคดีฆ่าชิงทรัพย์ จนถูกจับดำเนินคดีและคุมประพฤติ8ปี เนื่องจากช่วงนั้นติดการพนันและต้องการหาเงินมาเที่ยวเล่น เริ่มเล่นพนันตั้งแต่อายุ14ปี จากพนันบอลจนพัฒนามาเล่นในบ่อน ทั้งไฮโล ไพ่ ตู้ม้า สนุ๊ก เล่นทุกวันจนเกิดความเคยชิน ไม่สนใจเรียนหนังสือ ส่วนเงินที่สูญเสียเพราะการพนันรวมแล้วเกือบ1แสนบาท ซึ่งพ่อแม่ไม่เคยรับรู้ จนกระทั่งมาถูกจับดำเนินคดีในที่สุด
“แม่กับพ่อผิดหวังและเสียใจมาก เพราะอีกไม่กี่ปีผมก็จะเรียนจบอาชีวะแล้ว แต่สุดท้ายท่านก็ให้อภัยและไม่เคยซ้ำเติม อะไรที่ผ่านมาแล้วก็ให้ผ่านไป หลังจากนี้เมื่อพ้นโทษ ผมจะกลับไปเรียนตามที่ได้สัญญาไว้กับพ่อแม่ และอยากฝากถึงเยาวชนทุกคนให้คิดถึงอนาคต คิดถึงครอบครัว หรือเมื่อเราก้าวพลาดแล้วก็เริ่มต้นใหม่ในทางที่ถูกได้ อย่ายึดติดกับอดีตจนมาปั่นทอนการใช้ชีวิตของเรา” นายเอ กล่าว
ขณะที่นายวรวุฒ อมะรึก อายุ19ปี นักศึกษาชั้นปีที่2มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในนามเครือข่ายสื่อเด็กเปลี่ยนโลก กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าสื่อต่างๆ ทั้งอินเตอร์เน็ท โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ มีอิทธิพลกับเด็กและเยาวชนอย่างมาก หากไม่รู้เท่าทันก็ทำให้หมกมุ่นอยู่กับสื่อที่ไม่ปลอดภัย ไม่สร้างสรรค์จนกลายเป็นภัยร้ายใกล้ตัว เช่นเหตุการณ์ล่าสุดคือคนที่รู้จักคนหนึ่ง ต้องทิ้งการเรียนเพราะติดสื่อโซเซียล คุยเฟสบุ๊คกับคนที่ไม่รู้จัก พัฒนาความสัมพันธ์เป็นแฟน สุดท้ายจบอนาคตไม่เรียนต่อ นอกจากนี้ปัญหาเด็กติดเกมส์ สื่อลามกในมือถือ โฆษณาชวนเชื่อ หรือฉากตบตีในละคร พฤติกรรมเหล่านี้หากเด็กแยกแยะไม่ออกก็เกิดการซึมซับทำตาม หรือบ่มเพาะเมื่อโตขึ้นจะมีนิสัยก้าวร้าว
“ก่อนหน้านี้ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยติดสื่อโซเชียลมาก่อน โชคดีที่ได้เข้ามาทำกิจกรรมรณรงค์กับเครือข่ายสื่อเด็กเปลี่ยนโลกจึงทำให้เกิดการรับรู้และแยกแยะได้แต่สิ่งที่น่าห่วงคือเด็กและเยาวชนน้อยคนที่จะมีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันดังนั้นภาครัฐหรือกระทรวงศึกษาธิการ ควรแฝงความรู้เรื่องโทษเพื่อให้เด็กเยาวชนรู้ถึงพิษภัยของสื่อร้ายเหล่านี้ และรัฐบาลควรผลักดัน กฎหมายกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อให้มีผลบังคับใช้ นำมาเป็นเครื่องมือปกป้องเด็กและเยาวชนจากสื่อร้ายโดยเร็ว” นายวรวุฒ กล่าว
ด้าน นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า สังคมไทยควรยกเครื่องครั้งใหญ่ในประเด็นเด็กและเยาวชน เพราะข่าวร้ายรายวันที่เกิดขึ้นมีเด็กและเยาวชนเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆทั้งอบายมุข เหล้า พนัน ยาเสพติด ปัญหาท้องไม่พร้อม รวมถึงภาวะติดสื่อ ตกเป็นเหยื่อของสื่อร้าย สื่อไม่สร้างสรรค์ และใช้สื่อไปในทางเสื่อมมากขึ้น ขณะที่ปัญหาทั้งหมดกลายเป็นหลุมดำมีเพียงคนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ หรือเรียกว่าเป็นผลประโยชน์ที่ไปกดทับการบังคับใช้กฎหมาย กดทับความเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือความตื่นตัวของคนในสังคมที่ต้องลุกขึ้นมาปกป้องเด็ก อย่างไรก็ตามการส่งเสียงของเยาวชนครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่ผู้ใหญ่ควรรับฟัง ผู้ใหญ่ต้องไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นเด็กและเยาวชนอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงอันตราย เพราะหลายกรณีหากมีการเอาใจใส่ จะช่วยระงับเหตุไว้ได้ทันหรือเหตุการณ์ต่างๆจะไม่บานปลายจนเกิดความสูญเสีย รวมไปถึงระดับนโยบาย การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานราชการ ตำรวจ ประชาชนทั่วไปต้องร่วมเฝ้าระวังด้วย
“กิจกรรมวันเยาวชนแห่งชาติที่จัดขึ้นในวันนี้ เพื่อสื่อถึงการเปล่งเสียงของเยาวชนผ่านการทำกิจกรรม ซึ่งเสียงของเขาคือหน้าที่ คือความรับผิด คือเรี่ยวแรงที่ผู้ใหญ่ทุกกลไกลของสังคมต้องรับฟัง และตอบสนองก่อนที่ทุกอย่างจะแปรรูปเป็นความสูญเสีย ทั้งนี้การป้องกันย่อมให้ผลงดงาม อย่าปล่อยให้ความสูญเสียเกิดขึ้นกับเยาวชนที่เป็นอนาคตของสังคมเพราะความเพิกเฉย เพราะผลประโยชน์ ของเม็ดเงินมันปิดปาก อย่าให้ลูกหลายของเราตกลงไปในหลุมดำของชีวิต ทั้งที่มีทางเลือกดีๆอีกมากมายให้เขาได้เลือก” นางทิชา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้(20 ก.ย.) เมื่อเวลา10.00 น. ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กลุ่มนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ในนามเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน เครือข่ายสื่อเด็กเปลี่ยนโลก เครือข่ายเยาวชนเกสรชุมชน กทม.และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนา จัดกิจกรรมเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี2557ภายใต้แคมเปญ“เยาวชนตื่นตัว สังคมอย่าเฉย”ทั้งนี้ในงานมีกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิจำลองสถานการณ์สะท้อนปัญหาเยาวชนต่อปัจจัยเสี่ยง กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องสังคมอย่านิ่งเฉย และนิทรรศการผลกระทบที่เกิดกับเยาวชน
นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมที่เยาวชนร่วมกันจัดขึ้นในวันนี้ เพื่อสะท้อนผ่านสังคมให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงที่กระทบกับเยาวชนและเป็นปัญหาสะสมมายาวนาน ได้แก่ ปัญหายาเสพติด พนัน สุรา และสื่อที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเราได้ร่วมกันคิดแคมเปญ“เยาวชนตื่นตัว สังคมอย่าเฉย”เพื่อตอกย้ำให้เยาวชนรู้เท่าทัน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ หากไกลจากปัจจัยเสี่ยง กล้าลุกขึ้นมาปกป้องตัวเองและเพื่อน ขณะเดียวกันภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด เร่งออกมาตรการเพื่อปกป้องเยาวชน และสุดท้ายสังคมต้องไม่นิ่งเฉย ช่วยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังหากมีเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่นกรณีรุ่นพี่รับน้องโหดเป็นเหตุให้เสียชีวิต หากมีการแจ้งระงับเหตุ เพื่อนนักศึกษาอาจไม่ต้องจบชีวิตแบบนั้น หรือแม้กระทั่งการขายเหล้าเบียร์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ก็ควรช่วยกันหยุดพฤติกรรมเหล่านี้
“เยาวชนเป็นเป้าหมายโดยตรงต่อปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งความรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ก่ออาชญากรรม อุบัติเหตุ พิการเจ็บตาย จึงอยากกระตุ้นเตือนให้สังคมตื่นตัวรับรู้ ไม่นิ่งเฉย ร่วมกันสอดส่องดูแล หาทางระงับเหตุก่อนสถานการณ์บานปลายสูญเสีย และเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติปีนี้ คงต้องฝากความหวังกับรัฐบาลใหม่ให้จริงจังแก้ปัญหาเพื่อเป็นของขวัญให้กับเยาวชน” นายธีรภัทร์ กล่าว
นายสุรนาถ แป้นประเสริฐ เยาวชนจากเครือข่ายเกสรชุมชน กทม. เปิดใจถึงชีวิตที่เคยก้าวพลาดเพราะสุราและยาเสพติดว่าช่วงที่เรียน ม.1 อายุ12 ปี เริ่มเกเรดื่มสุราสูบบุรี่และหนักขึ้นเรื่อยๆหันมาเสพยาและเป็นผู้ค้า ซึ่งพี่ชายอีก2คนก็ติดยาและค้ายาเช่นกัน เคยเสพมากสุด10เม็ดต่อวัน เมื่อพ่อแม่ทราบก็ทำทุกทางเพื่อให้ลูก3คนเลิก แม้จำเป็นต้องทุบตีและเอาโซ่ล่ามไม่ให้ออกไปไหนแต่ก็ไม่ได้ผล สุดท้ายถึงจุดๆหนึ่งเมื่อเราเห็นน้ำตาแม่ อีกทั้งพ่อก็ทำงานรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดจนชาวบ้านเหยียดหยามดูถูกครอบครัวภายหลังพ่อแม่เริ่มชักชวนออกไปช่วยทำกิจกรรมรณรงค์เพื่อสังคมมากขึ้น และซึมซับ จากผู้ช่วยพ่อก็กลายเป็นผู้ถ่ายทอดให้คนในชุมชนเด็กๆและเยาวชนได้รับรู้ไม่ตกเป็นธาตุยาเสพติด ซึ่งตนและพี่ชายอีก2คนก็เลิกเสพยาได้ในที่สุด
“จากบทเรียนชีวิตครั้งนี้อยากฝากเป็นอุทาหรณ์ให้เยาวชนย้อนมองตัวเองและคิดถึงความรู้สึกของคนในบ้านให้มากๆเราไม่ควรทำให้สังคมเดือดร้อน สิ่งไหนไม่ดีควรถอยหลังออกมาและฝากถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้ตระหนักยับยั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขต่างๆที่ทำลายเยาวชนเพราะอย่าลืมว่าทั้งแรงจูงใจและสภาพแวดล้อมทำให้เด็กเข้าไปอยู่ในจุดนั้นได้ง่ายมาก” นายสุรนาถ กล่าว
นายเอ (นามสมมุติ) อายุ 21 ปี เยาวชนชายจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก หนึ่งในเยาวชนที่ก้าวพลาดเพราะการพนัน กล่าวว่า ช่วงอายุ17ปี เคยทำเรื่องผิดพลาดที่สุดในชีวิตคือ ร่วมกับเพื่อนก่อคดีฆ่าชิงทรัพย์ จนถูกจับดำเนินคดีและคุมประพฤติ8ปี เนื่องจากช่วงนั้นติดการพนันและต้องการหาเงินมาเที่ยวเล่น เริ่มเล่นพนันตั้งแต่อายุ14ปี จากพนันบอลจนพัฒนามาเล่นในบ่อน ทั้งไฮโล ไพ่ ตู้ม้า สนุ๊ก เล่นทุกวันจนเกิดความเคยชิน ไม่สนใจเรียนหนังสือ ส่วนเงินที่สูญเสียเพราะการพนันรวมแล้วเกือบ1แสนบาท ซึ่งพ่อแม่ไม่เคยรับรู้ จนกระทั่งมาถูกจับดำเนินคดีในที่สุด
“แม่กับพ่อผิดหวังและเสียใจมาก เพราะอีกไม่กี่ปีผมก็จะเรียนจบอาชีวะแล้ว แต่สุดท้ายท่านก็ให้อภัยและไม่เคยซ้ำเติม อะไรที่ผ่านมาแล้วก็ให้ผ่านไป หลังจากนี้เมื่อพ้นโทษ ผมจะกลับไปเรียนตามที่ได้สัญญาไว้กับพ่อแม่ และอยากฝากถึงเยาวชนทุกคนให้คิดถึงอนาคต คิดถึงครอบครัว หรือเมื่อเราก้าวพลาดแล้วก็เริ่มต้นใหม่ในทางที่ถูกได้ อย่ายึดติดกับอดีตจนมาปั่นทอนการใช้ชีวิตของเรา” นายเอ กล่าว
ขณะที่นายวรวุฒ อมะรึก อายุ19ปี นักศึกษาชั้นปีที่2มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในนามเครือข่ายสื่อเด็กเปลี่ยนโลก กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าสื่อต่างๆ ทั้งอินเตอร์เน็ท โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ มีอิทธิพลกับเด็กและเยาวชนอย่างมาก หากไม่รู้เท่าทันก็ทำให้หมกมุ่นอยู่กับสื่อที่ไม่ปลอดภัย ไม่สร้างสรรค์จนกลายเป็นภัยร้ายใกล้ตัว เช่นเหตุการณ์ล่าสุดคือคนที่รู้จักคนหนึ่ง ต้องทิ้งการเรียนเพราะติดสื่อโซเซียล คุยเฟสบุ๊คกับคนที่ไม่รู้จัก พัฒนาความสัมพันธ์เป็นแฟน สุดท้ายจบอนาคตไม่เรียนต่อ นอกจากนี้ปัญหาเด็กติดเกมส์ สื่อลามกในมือถือ โฆษณาชวนเชื่อ หรือฉากตบตีในละคร พฤติกรรมเหล่านี้หากเด็กแยกแยะไม่ออกก็เกิดการซึมซับทำตาม หรือบ่มเพาะเมื่อโตขึ้นจะมีนิสัยก้าวร้าว
“ก่อนหน้านี้ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยติดสื่อโซเชียลมาก่อน โชคดีที่ได้เข้ามาทำกิจกรรมรณรงค์กับเครือข่ายสื่อเด็กเปลี่ยนโลกจึงทำให้เกิดการรับรู้และแยกแยะได้แต่สิ่งที่น่าห่วงคือเด็กและเยาวชนน้อยคนที่จะมีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันดังนั้นภาครัฐหรือกระทรวงศึกษาธิการ ควรแฝงความรู้เรื่องโทษเพื่อให้เด็กเยาวชนรู้ถึงพิษภัยของสื่อร้ายเหล่านี้ และรัฐบาลควรผลักดัน กฎหมายกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อให้มีผลบังคับใช้ นำมาเป็นเครื่องมือปกป้องเด็กและเยาวชนจากสื่อร้ายโดยเร็ว” นายวรวุฒ กล่าว
ด้าน นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า สังคมไทยควรยกเครื่องครั้งใหญ่ในประเด็นเด็กและเยาวชน เพราะข่าวร้ายรายวันที่เกิดขึ้นมีเด็กและเยาวชนเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆทั้งอบายมุข เหล้า พนัน ยาเสพติด ปัญหาท้องไม่พร้อม รวมถึงภาวะติดสื่อ ตกเป็นเหยื่อของสื่อร้าย สื่อไม่สร้างสรรค์ และใช้สื่อไปในทางเสื่อมมากขึ้น ขณะที่ปัญหาทั้งหมดกลายเป็นหลุมดำมีเพียงคนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ หรือเรียกว่าเป็นผลประโยชน์ที่ไปกดทับการบังคับใช้กฎหมาย กดทับความเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือความตื่นตัวของคนในสังคมที่ต้องลุกขึ้นมาปกป้องเด็ก อย่างไรก็ตามการส่งเสียงของเยาวชนครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่ผู้ใหญ่ควรรับฟัง ผู้ใหญ่ต้องไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นเด็กและเยาวชนอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงอันตราย เพราะหลายกรณีหากมีการเอาใจใส่ จะช่วยระงับเหตุไว้ได้ทันหรือเหตุการณ์ต่างๆจะไม่บานปลายจนเกิดความสูญเสีย รวมไปถึงระดับนโยบาย การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานราชการ ตำรวจ ประชาชนทั่วไปต้องร่วมเฝ้าระวังด้วย
“กิจกรรมวันเยาวชนแห่งชาติที่จัดขึ้นในวันนี้ เพื่อสื่อถึงการเปล่งเสียงของเยาวชนผ่านการทำกิจกรรม ซึ่งเสียงของเขาคือหน้าที่ คือความรับผิด คือเรี่ยวแรงที่ผู้ใหญ่ทุกกลไกลของสังคมต้องรับฟัง และตอบสนองก่อนที่ทุกอย่างจะแปรรูปเป็นความสูญเสีย ทั้งนี้การป้องกันย่อมให้ผลงดงาม อย่าปล่อยให้ความสูญเสียเกิดขึ้นกับเยาวชนที่เป็นอนาคตของสังคมเพราะความเพิกเฉย เพราะผลประโยชน์ ของเม็ดเงินมันปิดปาก อย่าให้ลูกหลายของเราตกลงไปในหลุมดำของชีวิต ทั้งที่มีทางเลือกดีๆอีกมากมายให้เขาได้เลือก” นางทิชา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่