สมศ. ชี้ สกอ. ต้องควบคุมคุณภาพอุดมศึกษาฯ หากปล่อยจนมีปัญหาคุณภาพ แล้วถูกบริษัทขึ้นบัญชีดำความซวยตกที่บัณฑิต ซึ่งไม่ควรปล่อยให้เป็นเหยื่อการศึกษา
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวถึงกรณีที่สถานประกอบการขึ้นบัญชีดำมหาวิทยาลัยบางแห่ง และไม่รับบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้เข้าทำงาน ว่า ตนทราบมานานแล้วว่ามีบริษัทใหญ่ๆ ขึ้นบัญชีดำมหาวิทยาลัยไว้ แต่ไม่ได้ประกาศเผยแพร่ชื่อมหาวิทยาลัยสู่สาธารณชน ซึ่งต้องเข้าใจว่าบริษัททุกแห่งก็ต้องการบัณฑิตที่เก่ง ดี และมีคุณภาพ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ต้องควบคุมคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งอย่างเข้มข้น เพราะหากปล่อยไว้เช่นนี้ผู้ที่โชคร้ายและได้รับผลกระทบก็ คือ บัณฑิต ซึ่งไม่รู้เลยว่าตนเองเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย หรือหลักสูตรที่มีคุณภาพหรือไม่ และเมื่อเรียนจบแล้วก็ยังไม่รู้ว่าสถานประกอบการจะรับเข้าทำงานหรือไม่
“สิ่งสำคัญที่สุดคือความรับผิดชอบของสถานศึกษา และความทุ่มเทของผู้บริหาร ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยต้องเร่งปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์ของ สกอ. เพราะขณะนี้บางหลักสูตรมีอาจารย์ไม่ครบ หรือคุณวุฒิอาจารย์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ อุปกรณ์การเรียนการสอนก็ไม่พร้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อผู้เรียนทั้งสิ้น ดังนั้น อย่าให้ผู้เรียนต้องตกเป็นเหยื่อทางการศึกษาอีกเลย หากทุกหลักสูตรปฏิบัติตามเกณฑ์ของ สกอ. คุณภาพก็ต้องเกิดอย่างแน่นอน ” ผอ.สมศ. กล่าว
ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่สถานประกอบการไม่รับบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยบางแห่ง แม้ว่าหลักสูตรจะผ่านการรับรองจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) แล้วนั้น ในเรื่องนี้คงต้องดูว่าสาเหตุที่สถานประกอบการไม่รับบัณฑิตจากคณะ หรือมหาวิทยาลัยแห่งนี้เพราะอะไร แต่ส่วนตัวมองว่ามหาวิทยาลัยเหล่านี้ในช่วงที่มาขอรับรองหลักสูตรก็ปฏิบัติตามเกณฑ์ของ สกอ. แต่หลังจากนั้นทางคณะหรือมหาวิทยาลัยอาจคงไม่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ของ สกอ. จึงทำให้หลักสูตรไม่ได้คุณภาพ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวถึงกรณีที่สถานประกอบการขึ้นบัญชีดำมหาวิทยาลัยบางแห่ง และไม่รับบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้เข้าทำงาน ว่า ตนทราบมานานแล้วว่ามีบริษัทใหญ่ๆ ขึ้นบัญชีดำมหาวิทยาลัยไว้ แต่ไม่ได้ประกาศเผยแพร่ชื่อมหาวิทยาลัยสู่สาธารณชน ซึ่งต้องเข้าใจว่าบริษัททุกแห่งก็ต้องการบัณฑิตที่เก่ง ดี และมีคุณภาพ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ต้องควบคุมคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งอย่างเข้มข้น เพราะหากปล่อยไว้เช่นนี้ผู้ที่โชคร้ายและได้รับผลกระทบก็ คือ บัณฑิต ซึ่งไม่รู้เลยว่าตนเองเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย หรือหลักสูตรที่มีคุณภาพหรือไม่ และเมื่อเรียนจบแล้วก็ยังไม่รู้ว่าสถานประกอบการจะรับเข้าทำงานหรือไม่
“สิ่งสำคัญที่สุดคือความรับผิดชอบของสถานศึกษา และความทุ่มเทของผู้บริหาร ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยต้องเร่งปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์ของ สกอ. เพราะขณะนี้บางหลักสูตรมีอาจารย์ไม่ครบ หรือคุณวุฒิอาจารย์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ อุปกรณ์การเรียนการสอนก็ไม่พร้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อผู้เรียนทั้งสิ้น ดังนั้น อย่าให้ผู้เรียนต้องตกเป็นเหยื่อทางการศึกษาอีกเลย หากทุกหลักสูตรปฏิบัติตามเกณฑ์ของ สกอ. คุณภาพก็ต้องเกิดอย่างแน่นอน ” ผอ.สมศ. กล่าว
ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่สถานประกอบการไม่รับบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยบางแห่ง แม้ว่าหลักสูตรจะผ่านการรับรองจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) แล้วนั้น ในเรื่องนี้คงต้องดูว่าสาเหตุที่สถานประกอบการไม่รับบัณฑิตจากคณะ หรือมหาวิทยาลัยแห่งนี้เพราะอะไร แต่ส่วนตัวมองว่ามหาวิทยาลัยเหล่านี้ในช่วงที่มาขอรับรองหลักสูตรก็ปฏิบัติตามเกณฑ์ของ สกอ. แต่หลังจากนั้นทางคณะหรือมหาวิทยาลัยอาจคงไม่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ของ สกอ. จึงทำให้หลักสูตรไม่ได้คุณภาพ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่