คสช. เคาะตั้ง “เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” ได้คณะทำงานครบแล้ว 20 คน เตรียมเปิดเวทีรับฟังความเห็นครั้งแรก 12 ก.ย. ก่อนนำเข้าสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้ คาดเป็นรูปธรรมปี 2558
วันนี้ (2 ก.ย.) นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติการจัดตั้งเขตสุขภาพประชาชนแล้ว เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นได้คณะทำงานครบ 20 คน ซึ่งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขภาพเป็นหลัก โดยมี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธานคณะทำงาน ทั้งนี้ การตั้งเขตสุขภาพประชาชนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างเขตจังหวัด 5 ประเด็นหลัก คือ 1. ร่วมประสานของการทำงานของแต่ละองค์กร 2. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานเสริมกัน 3. ร่วมกำหนดทิศทางการทำงานสู่เป้าหมายเดียวกัน 4. ร่วมบูรณาการทำงานในพื้นที่เดียวกัน และ 5. การบริหารทรัพยากรทั้งคน และอุปกรณ์ งบประมาณ และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนงานให้เป็นรูปธรรม
นพ.อำพล กล่าวว่า การทำงานจะเป็นการบูรณาการภารกิจของทุกหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ด้านสุขภาพในพื้นที่เดียวกันเข้าด้วยกัน โดยมาร่วมคิดด้วยกัน กำหนดทิศทางและทำงานไปทางเดียวกัน หนุนเสริมกัน ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่ใช้อำนาจเหนือกัน โดยอาจมีหน่วยเลขานุการร่วมทำหน้าที่บริหารจัดการ อาจมีการใช้กระบวนการพัฒนานโยบายแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือเชื่อมการทำงานร่วมกัน โดยในวันที่ 12 ก.ย. นี้ จะมีการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะถือโอกาสนำเรื่องการตั้งเขตสุขภาพประชาชนไปเป็นวาระในการทำประชาพิจารณ์ร่วมด้วย ก่อนสรุปเป็นร่างข้อเสนอสุดท้าย เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประจำปี ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 24 - 26 ธ.ค. นี้ คาดว่า ในปี 2558 จะมีกลไกเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่เป็นรูปธรรมสามารถลงมือทำงานได้ทันที
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (2 ก.ย.) นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติการจัดตั้งเขตสุขภาพประชาชนแล้ว เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นได้คณะทำงานครบ 20 คน ซึ่งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขภาพเป็นหลัก โดยมี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธานคณะทำงาน ทั้งนี้ การตั้งเขตสุขภาพประชาชนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างเขตจังหวัด 5 ประเด็นหลัก คือ 1. ร่วมประสานของการทำงานของแต่ละองค์กร 2. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานเสริมกัน 3. ร่วมกำหนดทิศทางการทำงานสู่เป้าหมายเดียวกัน 4. ร่วมบูรณาการทำงานในพื้นที่เดียวกัน และ 5. การบริหารทรัพยากรทั้งคน และอุปกรณ์ งบประมาณ และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนงานให้เป็นรูปธรรม
นพ.อำพล กล่าวว่า การทำงานจะเป็นการบูรณาการภารกิจของทุกหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ด้านสุขภาพในพื้นที่เดียวกันเข้าด้วยกัน โดยมาร่วมคิดด้วยกัน กำหนดทิศทางและทำงานไปทางเดียวกัน หนุนเสริมกัน ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่ใช้อำนาจเหนือกัน โดยอาจมีหน่วยเลขานุการร่วมทำหน้าที่บริหารจัดการ อาจมีการใช้กระบวนการพัฒนานโยบายแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือเชื่อมการทำงานร่วมกัน โดยในวันที่ 12 ก.ย. นี้ จะมีการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะถือโอกาสนำเรื่องการตั้งเขตสุขภาพประชาชนไปเป็นวาระในการทำประชาพิจารณ์ร่วมด้วย ก่อนสรุปเป็นร่างข้อเสนอสุดท้าย เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประจำปี ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 24 - 26 ธ.ค. นี้ คาดว่า ในปี 2558 จะมีกลไกเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่เป็นรูปธรรมสามารถลงมือทำงานได้ทันที
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่