กสร. เผย พนักงานตรวจแรงงานไม่เพียงพอแบกภาระ 1 คนต่อ 1.3 พันสถานประกอบการ ทั้งไม่เพิ่มงบประมาณขณะที่ต้องดูแลต่างด้าวเพิ่ม
วันนี้ (1 ก.ย.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การคุ้มครองแรงงานในเรือประมงทะเล โดยมี นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดี กสร. เป็นประธานเปิดงาน พร้อมกล่าวบรรยายพิเศษถึงนโยบายการคุ้มครองแรงงานในเรือประมงทะเล ว่า กิจการประมงเป็นกิจการที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และถูกกล่าวหาว่ามีการบังคับใช้แรงงานอันเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยถูกระบุว่ามีการบังคับใช้แรงงาน สภาพการทำงานที่อันตราย ได้รับค่าจ้างน้อย เป็นต้น จากปัญหาที่ยืดเยื้อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาค้ามนุษย์ โดยให้ทุกภาคส่วนบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน กสร. ได้กำหนดนโยบายในการป้องกันและแก้ปัญหา โดยการกำหนดแนวทางการตรวจคุ้มครองแรงงานและสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนการบังคับใช้กฎหมายด้านการคุ้มครองแรงงานนั้นจะเริ่มต้นเมื่อตรวจพบสถานประกอบกิจการที่ดำเนินการไม่เป็นไปตามกฎหมาย พนักงานตรวจแรงงานจะมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตาม จากนั้นนำเรื่องส่งให้พนักงานสอบสวนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในความผิดฐานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
รองอธิบดี กสร. กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ การตรวจแรงงานมีความเข้มข้นมาก แต่ปัจจุบันต้องมองว่ามีการตรวจแรงงานได้เข้มข้นเพียงพอหรือไม่ มีการลงพื้นที่เพื่อตรวจแรงงาน อย่างจริงจังหรือไม่ ปัจจุบันโดยส่วนมากเป็นแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใครรู้ว่ามาจากไหน จึงมีการลือกันว่าเมื่อมีการทำร้ายร่างกาย และหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งไม่เป็นความจริงเพราะแรงงานในเรือมีเยอะมาก ไม่มีใครเป็นใหญ่ ใช้การปกครองแบบถ้อยที่ถ้อยอาศัยกันเพราะต้องออกไปทำงานบนเรือร่วมกันกว่า 2 ปี
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า ขณะที่งบประมาณการดูแลที่ไม่เพิ่มขึ้นและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีอย่างจำกัด ในการตรวจและคุ้มครองแรงงาน ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการมีการต่อว่า กสร. ทำงานล่าช้า จากแรงงานไทยและภาคส่วนต่างๆ เมื่อไทยถูกกล่าวหาว่ามีการค้ามนุษย์ ในขณะที่แรงงานที่ต้องดูแลเพิ่มขึ้นจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทย ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานตรวจแรงงาน 1 คน ต่อการตรวจสถานประกอบการจำนวนถึง 1,300 แห่ง แต่ตามมาตรฐานสากล และจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยรามคำแหงพบว่าพนักงานตรวจแรงงาน 1 คน จะต้องตรวจสถานประกอบการไม่เกิน 200 แห่ง ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ทั้งนี้เมื่อหน้าที่เพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ กสร. และพนักงานตรวจแรงงาน ควรปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด โดยการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยกำหนดแผนการทำงานที่ชัดเจนและปฏิบัติตามแผนอย่างเข้มงวด พร้อมเน้นการตรวจคุ้มครองแรงงานต่างด้าว เพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ก.ย.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การคุ้มครองแรงงานในเรือประมงทะเล โดยมี นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดี กสร. เป็นประธานเปิดงาน พร้อมกล่าวบรรยายพิเศษถึงนโยบายการคุ้มครองแรงงานในเรือประมงทะเล ว่า กิจการประมงเป็นกิจการที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และถูกกล่าวหาว่ามีการบังคับใช้แรงงานอันเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยถูกระบุว่ามีการบังคับใช้แรงงาน สภาพการทำงานที่อันตราย ได้รับค่าจ้างน้อย เป็นต้น จากปัญหาที่ยืดเยื้อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาค้ามนุษย์ โดยให้ทุกภาคส่วนบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน กสร. ได้กำหนดนโยบายในการป้องกันและแก้ปัญหา โดยการกำหนดแนวทางการตรวจคุ้มครองแรงงานและสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนการบังคับใช้กฎหมายด้านการคุ้มครองแรงงานนั้นจะเริ่มต้นเมื่อตรวจพบสถานประกอบกิจการที่ดำเนินการไม่เป็นไปตามกฎหมาย พนักงานตรวจแรงงานจะมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตาม จากนั้นนำเรื่องส่งให้พนักงานสอบสวนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในความผิดฐานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
รองอธิบดี กสร. กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ การตรวจแรงงานมีความเข้มข้นมาก แต่ปัจจุบันต้องมองว่ามีการตรวจแรงงานได้เข้มข้นเพียงพอหรือไม่ มีการลงพื้นที่เพื่อตรวจแรงงาน อย่างจริงจังหรือไม่ ปัจจุบันโดยส่วนมากเป็นแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใครรู้ว่ามาจากไหน จึงมีการลือกันว่าเมื่อมีการทำร้ายร่างกาย และหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งไม่เป็นความจริงเพราะแรงงานในเรือมีเยอะมาก ไม่มีใครเป็นใหญ่ ใช้การปกครองแบบถ้อยที่ถ้อยอาศัยกันเพราะต้องออกไปทำงานบนเรือร่วมกันกว่า 2 ปี
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า ขณะที่งบประมาณการดูแลที่ไม่เพิ่มขึ้นและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีอย่างจำกัด ในการตรวจและคุ้มครองแรงงาน ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการมีการต่อว่า กสร. ทำงานล่าช้า จากแรงงานไทยและภาคส่วนต่างๆ เมื่อไทยถูกกล่าวหาว่ามีการค้ามนุษย์ ในขณะที่แรงงานที่ต้องดูแลเพิ่มขึ้นจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทย ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานตรวจแรงงาน 1 คน ต่อการตรวจสถานประกอบการจำนวนถึง 1,300 แห่ง แต่ตามมาตรฐานสากล และจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยรามคำแหงพบว่าพนักงานตรวจแรงงาน 1 คน จะต้องตรวจสถานประกอบการไม่เกิน 200 แห่ง ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ทั้งนี้เมื่อหน้าที่เพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ กสร. และพนักงานตรวจแรงงาน ควรปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด โดยการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยกำหนดแผนการทำงานที่ชัดเจนและปฏิบัติตามแผนอย่างเข้มงวด พร้อมเน้นการตรวจคุ้มครองแรงงานต่างด้าว เพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่