“กรมวิทย์” เตรียมของบ 57 ล้านบาท สร้างห้องแล็บความปลอดภัยสูงสุด รองรับการตรวจเชื้ออันตรายและรุนแรง รวมถึงเชื้อ “อีโบลา” ได้ เผยเป็นระบบปิดทั้งหมด คุมทั้งระบบน้ำ อากาศ และคน ป้องกันแพร่กระจายเชื้อสู่ภายนอก คาดสร้างพื้นที่ใกล้ รพ.บำราศฯ
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีเพียงห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยในการตรวจวิเคราะห์เชื้อต่างๆ เพียงแค่ระดับ 3 โดยเป็นของกรมวิทยาศาสตร์ 3 แห่ง ส่วนกลุ่มโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปจะเป็นระดับ 2 และโรงพยาบาลชุมชนเป็นระดับ 1 ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของประเทศในการป้องกันเชื้อโรคอันตรายรุนแรง จึงต้องมีการสร้างห้องปฏิบัติการระดับ 4 ซึ่งขณะนี้ในเอเชียมีเพียงญี่ปุ่นประเทศเดียวที่มี แต่ก็ยังไม่เปิดใช้เนื่องจากประชาชนมีความกังวล ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการฯระดับ 4 จะมีความปลอดภัยสูงสุด สามารถตรวจเชื้อันตรายรุนแรงอย่างโรคอีโบลาได้ เนื่องจากโครงสร้างของห้องจะเป็นระบบปิดทั้งหมด
นพ.อภิชัยกล่าวอีกว่า อุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจประเทศไทยมีพร้อมหมดแล้ว ขาดแต่ห้องปฏิบัติการฯระดับ 4 เท่านั้น โดยการประชุมคณะกรรมการโรคอุบัติใหม่แห่งชาติในวันที่ 20 ส.ค. ซึ่งจะมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาสัย หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน โดยจะมีการเสนอของบประมาณในการดำเนินมาตรการควบคุมโรคอีโบลากว่า 100 ล้านบาทนั้น กรมวิทย์จะของบประมาณ 57 ล้านบาท เพื่อจัดสร้างห้องปฏิบัติการฯระดับ 4 ด้วย หาก คสช.อนุมัติคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างบริเวณพื้นที่ของรัฐระหว่าง รพ.บำราศนราดูร และ รพ.ศรีธัญญา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวประชาชนน่าจะมีความเข้าใจมากกว่าพื้นที่อื่น ไม่กลัวว่าจะมีการหลุดรอดของเชื้อออกมาง่ายๆ เพราะ รพ.บำราศฯ ก็เป็นสถานที่รักษาโรคติดเชื้ออันตรายอยู่แล้ว แต่ชาวบ้านก็สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่มีความกังวล จึงคดว่าไม่น่าจะมีปัญหา แต่คงต้องมีการทำประชาพิจารณ์ด้วย
“ พื้นที่ดังกล่าวค่อนข้างห่างจากพื้นที่ชุมชน แต่อยู่กล้โรงพยบาลถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม การที่ประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการฯระดับ 4 จะช่วยให้ประเทศไทยมีความมั่นคงและปลอดภัยด้านโรคติดเชื้อมากขึ้น เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าจะมีโรคติดเชื้ออันตรายและรุนแรงใหม่ๆ เข้ามาระบาดเมื่อไร การมีห้องปฏิบัติการฯที่สามารถตรวจวิเคราะห์เชื้อได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น” อธิบดีกรมวิทย์กล่าว และว่าห้องปฏิบัติการฯ จะเป็นแบบระบบปิดทั้งหมด คุมเข้มทั้งระบบน้ำ อากาศ และคน ไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ภายนอก นอกจากนี้จะทำความเข้าใจกับประชาชนด้วยว่า ห้องปฏิบัติการฯ เมื่อเพาะเชื้อแล้วจะไม่มีการเก็บเชื้อไว้เด็ดขาด แต่จะทำลายทั้งหมดหลังตรวจยืนยันได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีเพียงห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยในการตรวจวิเคราะห์เชื้อต่างๆ เพียงแค่ระดับ 3 โดยเป็นของกรมวิทยาศาสตร์ 3 แห่ง ส่วนกลุ่มโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปจะเป็นระดับ 2 และโรงพยาบาลชุมชนเป็นระดับ 1 ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของประเทศในการป้องกันเชื้อโรคอันตรายรุนแรง จึงต้องมีการสร้างห้องปฏิบัติการระดับ 4 ซึ่งขณะนี้ในเอเชียมีเพียงญี่ปุ่นประเทศเดียวที่มี แต่ก็ยังไม่เปิดใช้เนื่องจากประชาชนมีความกังวล ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการฯระดับ 4 จะมีความปลอดภัยสูงสุด สามารถตรวจเชื้อันตรายรุนแรงอย่างโรคอีโบลาได้ เนื่องจากโครงสร้างของห้องจะเป็นระบบปิดทั้งหมด
นพ.อภิชัยกล่าวอีกว่า อุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจประเทศไทยมีพร้อมหมดแล้ว ขาดแต่ห้องปฏิบัติการฯระดับ 4 เท่านั้น โดยการประชุมคณะกรรมการโรคอุบัติใหม่แห่งชาติในวันที่ 20 ส.ค. ซึ่งจะมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาสัย หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน โดยจะมีการเสนอของบประมาณในการดำเนินมาตรการควบคุมโรคอีโบลากว่า 100 ล้านบาทนั้น กรมวิทย์จะของบประมาณ 57 ล้านบาท เพื่อจัดสร้างห้องปฏิบัติการฯระดับ 4 ด้วย หาก คสช.อนุมัติคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างบริเวณพื้นที่ของรัฐระหว่าง รพ.บำราศนราดูร และ รพ.ศรีธัญญา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวประชาชนน่าจะมีความเข้าใจมากกว่าพื้นที่อื่น ไม่กลัวว่าจะมีการหลุดรอดของเชื้อออกมาง่ายๆ เพราะ รพ.บำราศฯ ก็เป็นสถานที่รักษาโรคติดเชื้ออันตรายอยู่แล้ว แต่ชาวบ้านก็สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่มีความกังวล จึงคดว่าไม่น่าจะมีปัญหา แต่คงต้องมีการทำประชาพิจารณ์ด้วย
“ พื้นที่ดังกล่าวค่อนข้างห่างจากพื้นที่ชุมชน แต่อยู่กล้โรงพยบาลถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม การที่ประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการฯระดับ 4 จะช่วยให้ประเทศไทยมีความมั่นคงและปลอดภัยด้านโรคติดเชื้อมากขึ้น เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าจะมีโรคติดเชื้ออันตรายและรุนแรงใหม่ๆ เข้ามาระบาดเมื่อไร การมีห้องปฏิบัติการฯที่สามารถตรวจวิเคราะห์เชื้อได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น” อธิบดีกรมวิทย์กล่าว และว่าห้องปฏิบัติการฯ จะเป็นแบบระบบปิดทั้งหมด คุมเข้มทั้งระบบน้ำ อากาศ และคน ไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ภายนอก นอกจากนี้จะทำความเข้าใจกับประชาชนด้วยว่า ห้องปฏิบัติการฯ เมื่อเพาะเชื้อแล้วจะไม่มีการเก็บเชื้อไว้เด็ดขาด แต่จะทำลายทั้งหมดหลังตรวจยืนยันได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่