สธ. เตรียมสรุปสถานการณ์และมาตรการ “อีโบลา” ต่อที่ปรึกษาฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. 16 ส.ค. ระบุเตรียมเร่งทำไกด์ไลน์สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ประชุมให้ความรู้ทีมสอบสวนโรค - แพทย์ 22 ส.ค.
วันนี้ (15 ส.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังประชุมติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้ออีโบลา ซึ่งมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการเตรียมสรุปสถานการณ์โรคติดเชื้ออีโบลาและมาตรการในการรับมือต่างๆ ทั้งการเฝ้าระวังด่าน การรักษา การตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) และการสื่อสาร เพื่อชี้แจงต่อที่ปรึกษาฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 16 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังเร่งทำไกด์ไลน์เพื่อทำการชี้แจงทำความเข้าใจแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้ออีโบลาด้วยใน 3 ส่วน คือ บุคลากรด้านการสอบสวนโรค โดย คร. จะประชุมวันที่ 22 ส.ค. นี้ เช่นเดียวกับบุคลากรด้านการแพทย์ โดยกรมการแพทย์จะประชุมในวันที่ 22 ส.ค. เช่นกัน และบุคลากรด้านแล็บที่มีหน้าที่ในการตรวจเชื้อ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่ยังไม่กำหนดวันที่ประชุมชัดเจน
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า สำหรับการตรวจวิเคราะห์เชื้ออีโบลาเบื้องต้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และแล็บของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ ว่าผู้ป่วยติดเชื้อีโบลาหรือไม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ส.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังประชุมติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้ออีโบลา ซึ่งมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการเตรียมสรุปสถานการณ์โรคติดเชื้ออีโบลาและมาตรการในการรับมือต่างๆ ทั้งการเฝ้าระวังด่าน การรักษา การตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) และการสื่อสาร เพื่อชี้แจงต่อที่ปรึกษาฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 16 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังเร่งทำไกด์ไลน์เพื่อทำการชี้แจงทำความเข้าใจแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้ออีโบลาด้วยใน 3 ส่วน คือ บุคลากรด้านการสอบสวนโรค โดย คร. จะประชุมวันที่ 22 ส.ค. นี้ เช่นเดียวกับบุคลากรด้านการแพทย์ โดยกรมการแพทย์จะประชุมในวันที่ 22 ส.ค. เช่นกัน และบุคลากรด้านแล็บที่มีหน้าที่ในการตรวจเชื้อ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่ยังไม่กำหนดวันที่ประชุมชัดเจน
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า สำหรับการตรวจวิเคราะห์เชื้ออีโบลาเบื้องต้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และแล็บของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ ว่าผู้ป่วยติดเชื้อีโบลาหรือไม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่