สพฐ. เปิดศูนย์บ่มเพาะด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ ปั้นศิลปินเตรียมส่งต่อสถาบันด้านดนตรี ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผุดโครงการส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถสูงมากทางด้านศิลปะ ดนตรี และ นาฏศิลป์ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการจัดงานมหกรรมศิลปหัตถกรรมของ สพฐ.ที่ผ่าน ๆ มาทำให้ค้นพบว่า มีเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านศิลปะ ดนตรี จำนวนมากสมควรต่อยอดให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถพิเศษของตัวเอง เพราะฉะนั้น สพฐ. จึงได้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะและพัฒนาอัจฉริยภาพนักเรียนด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์
“สพฐ.ได้คัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมมาจัดตั้งเป็นศูนย์บ่มเพาะ โดยเลือกร.ร.ศรีสงครามวิทยา ที่เรารู้จักกันในชื่อศูนย์ศิลป์สิริธร มีนายสังคม ทองมี ดูแล เป็นศูนย์บ่มเพาะด้านทัศนศิลป์ และให้โรงเรียนสังคีตวิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนเฉพาะทางอยู่แล้ว เป็นศูนย์บ่มเพาะด้านดนตรีทั้งไทย สากล และนาฏศิลป์ ศูนย์บ่มเพาะทั้ง 2 แห่งนี้ จะจัดกิจกรรมต่างๆ นำเด็กที่มีความสามารถพิเศษมาเข้าค่ายเพื่อพัฒนาความสามารถ อย่างไรก็ตาม เด็กที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์บ่มเพาะนั้น จะต้องผ่านการคัดกรองว่า เป็นเด็กที่มีอัจฉริยะด้านดังกล่าวจริงๆ” นายกมล กล่าว
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สพฐ. ได้ดึงผู้มีอัจฉริยะทางด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ ร่วมเป็นที่ปรึกษาของศูนย์บ่มเพาะด้วย อาทิเช่น ส.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษาด้านทัศนศิลป์ พ.ท.เสนะ หลวงสุนทร ศิลปินแห่งชาติ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นที่ปรึกษาด้านดนตรีไทย พล.ร.ต.วีระพันธ์ วอกลาง ศิลปินแห่งชาติ คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เป็นที่ปรึกษาด้านดนตรีสากล นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษาด้านนาฏศิลป์
สำหรับการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะให้เด็กกลุ่มนี้ จะทำแบบต่อเนื่องทุก 3 - 4 เดือน ก็จะให้เด็กมาเข้าค่าย พร้อมมีการติดตามพัฒนาการของเด็กด้วย หากประสบความสำเร็จอาจมีการขยายการดำเนินการสู่โรงเรียนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะเป็นเหมือนการเปิดตัวเด็กกลุ่มนี้สู่ความสนใจของสาธารณชน โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา อาจมีการจองตัวหรือให้ทุนการศึกษาต่อเด็กที่ สพฐ. เปิดศูนย์บ่อเพาะด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ ปั้นว่าที่ศิลปินเตรียมส่งต่อสถาบันด้านดนตรี ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สพฐ. อยู่ระหว่างการคัดเลือกเด็กด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผุดโครงการส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถสูงมากทางด้านศิลปะ ดนตรี และ นาฏศิลป์ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการจัดงานมหกรรมศิลปหัตถกรรมของ สพฐ.ที่ผ่าน ๆ มาทำให้ค้นพบว่า มีเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านศิลปะ ดนตรี จำนวนมากสมควรต่อยอดให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถพิเศษของตัวเอง เพราะฉะนั้น สพฐ. จึงได้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะและพัฒนาอัจฉริยภาพนักเรียนด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์
“สพฐ.ได้คัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมมาจัดตั้งเป็นศูนย์บ่มเพาะ โดยเลือกร.ร.ศรีสงครามวิทยา ที่เรารู้จักกันในชื่อศูนย์ศิลป์สิริธร มีนายสังคม ทองมี ดูแล เป็นศูนย์บ่มเพาะด้านทัศนศิลป์ และให้โรงเรียนสังคีตวิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนเฉพาะทางอยู่แล้ว เป็นศูนย์บ่มเพาะด้านดนตรีทั้งไทย สากล และนาฏศิลป์ ศูนย์บ่มเพาะทั้ง 2 แห่งนี้ จะจัดกิจกรรมต่างๆ นำเด็กที่มีความสามารถพิเศษมาเข้าค่ายเพื่อพัฒนาความสามารถ อย่างไรก็ตาม เด็กที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์บ่มเพาะนั้น จะต้องผ่านการคัดกรองว่า เป็นเด็กที่มีอัจฉริยะด้านดังกล่าวจริงๆ” นายกมล กล่าว
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สพฐ. ได้ดึงผู้มีอัจฉริยะทางด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ ร่วมเป็นที่ปรึกษาของศูนย์บ่มเพาะด้วย อาทิเช่น ส.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษาด้านทัศนศิลป์ พ.ท.เสนะ หลวงสุนทร ศิลปินแห่งชาติ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นที่ปรึกษาด้านดนตรีไทย พล.ร.ต.วีระพันธ์ วอกลาง ศิลปินแห่งชาติ คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เป็นที่ปรึกษาด้านดนตรีสากล นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นที่ปรึกษาด้านนาฏศิลป์
สำหรับการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะให้เด็กกลุ่มนี้ จะทำแบบต่อเนื่องทุก 3 - 4 เดือน ก็จะให้เด็กมาเข้าค่าย พร้อมมีการติดตามพัฒนาการของเด็กด้วย หากประสบความสำเร็จอาจมีการขยายการดำเนินการสู่โรงเรียนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะเป็นเหมือนการเปิดตัวเด็กกลุ่มนี้สู่ความสนใจของสาธารณชน โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา อาจมีการจองตัวหรือให้ทุนการศึกษาต่อเด็กที่ สพฐ. เปิดศูนย์บ่อเพาะด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ ปั้นว่าที่ศิลปินเตรียมส่งต่อสถาบันด้านดนตรี ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สพฐ. อยู่ระหว่างการคัดเลือกเด็กด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่