กกจ. หารือพม่ากำหนดขั้นตอนพิสูจน์สัญชาติพร้อมตั้งจุดทำพาสปอร์ตอำนวยความสะดวกให้แรงงาน
วันนี้ (6 ส.ค.) ที่โรงแรมสวิสโซเทล เลอคองคอร์ด กรุงเทพฯ นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.ชิษณุพงศ์ ยุกตะทัศน์ รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (รอง ผบช.สตม.) ร่วมกับ นายเมียว อ่อง อธิบดีกรมแรงงาน กระทรวงแรงงาน การจ้างงานและประกันสังคม สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งสหภาพเมียนมาร์ แถลงข่าวภายหลังร่วมประชุมหารือกันในเรื่อง การตรวจสอบสัญชาติแรงงานพม่าในประเทศไทย แรงงานในกิจการประมงและการดำเนินการกับแรงงานพม่าที่วาระการจ้างงานครบกำหนด 4 ปี รวมถึงแรงงานที่ทำงานบริเวณแนวชายแดนในลักษณะมาเช้าไปเย็นกลับ และตามฤดูกาล
นายสุเมธ กล่าวว่า ได้หารือในเรื่องการแก้ไขบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) ไทย กับพม่า โดยทั้งสองฝ่ายได้ตั้งตัวแทนขึ้นมาเพื่อหารือกันถึงเนื้อหาที่จะต้องปรับปรุง ซึ่งแรงงานสัญชาติพม่าที่มาขึ้นทะเบียนกับศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (วันสตอปเซอร์วิส) และได้รับบัตรประจำตัว (บัตรสมาร์ทการ์ด) ล่าสุด มีจำนวน 191,354 คน และผู้ติดตาม 11,862 คน รวม 203,216 คน ซึ่งแรงงานทั้งหมดต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ จัดทำหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ซึ่งทางพม่าจะส่งแบบฟอร์มให้แรงงานกรอกและนำกลับไปดำเนินการที่ประเทศตนเอง โดยทางการพม่ากำหนดว่าแรงงานต้องมีบัตรประชาชนจึงจะสามารถไปดำเนินการที่สถานทูตพม่า ประจำประเทศไทยได้ และศูนย์พิสูจน์สัญชาติตามแนวชายแดน 3 จุด คือ อ.เมียววดี อ.ท่าขี้เหล็ก อ.เกาะสอง โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 3 - 6 สัปดาห์
ส่วนกลุ่มที่ไม่มีบัตรประชาชนจะมีแบบฟอร์มเฉพาะ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นประชาชนของพม่าจริง โดยจะต้องไปทำบัตรประชาชนที่ภูมิลำเนา และจะมีการตรวจสอบประวัติก่อน จึงจะออกบัตรให้ เพื่อไปทำพาสปอร์ตและกลับมาขอใบอนุญาตทำงาน โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ทั้งนี้ ได้กำหนดระยะเวลา เพื่อประเมินผลการดำเนินการ หากไม่สามารถทำได้ทันตามกำหนดในเดือนตุลาคมจะมีการพิจารณาอีกครั้ง ส่วนเรื่องมาตรา 14 ที่ให้แรงงานต่างด้าวสามารถเดินทางมาทำงานตามฤดูกาล หรือเช้ามาเย็นกลับนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตั้งผู้แทนขึ้นเพื่อหารือร่วมกัน ว่าต้องการปรับปรุงอย่างไรให้เหมาะสม
นายเมียว อ่อง กล่าวว่า การเปิดจุดพิสูจน์สัญชาติของเมียนมาร์ทั้ง 3 แห่งตามจุดผ่านแดนถาวรพม่า - ไทย นั้นจะเปิดดำเนินการเฉพาะช่วงที่แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวเท่านั้น โดยแรงงานที่ขึ้นทะเบียนและมีบัตรประจำตัวแล้วต้องไปยื่นขอเอกสารจากสถานทูตเมียนมาร์ ประจำประเทศไทยเพื่อกลับไปทำพาสปอร์ต ซึ่งหากไม่มีบัตรประชาชนต้องไปแสดงตัวที่ภูมิลำเนา โดยเสียค่าธรรมเนียมไม่ถึง 100 บาท และสามารถดำเนินการได้ภายใน 1 วัน ส่วนการทำพาสปอร์ตนั้นสามารถทำได้ทั่วประเทศและจะดำเนินการให้เป็นกรณีพิเศษใช้เวลาจัดทำ 10 วัน มีค่าใช้จ่าย 25,000 จ๊าด หรือประมาณ 1,600 บาท
นายเมียว อ่อง กล่าวว่า แรงงานพม่าที่ครบกำหนด 4 ปี ต้องออกจากไทย แต่นายจ้างไม่ต้องการหาแรงงานใหม่และลูกจ้างไม่ต้องการกลับไป จึงต้องพูดคุยหาข้อสรุปร่วมกัน โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มมีอายุพาสปอร์ตต่ำกว่า 2 ปี 2. กลุ่มมีอายุพาสปอร์ตมากกว่า 2 ปี โดยเห็นชอบร่วมกันว่ากลุ่ม 2 ต่ออายุได้ที่ศูนย์ 3 จุด อ.เมียววดี อ.ท่าขี้เหล็ก อ.เกาะสอง โดยไม่ต้องออกไป ส่วนกลุ่มที่ 1 แยกเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 2 กลุ่ม คือ 1. พาสปอร์ตชั่วคราวหมดอายุ ไม่มีหลักฐาน ต้องให้นายจ้างต้องยื่นเรื่องที่ กกจ. เพื่อส่งให้สถานทูต เมื่อตอบกลับมานายจ้างต้องพาแรงงานไปดำเนินการตามแนวชายแดนใช้เวลาทำพาสปอร์ตประมาณ 10 วัน 2. มีหลักฐาน บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งกลุ่มนี้ไปยื่นเรื่องที่สถานทูตพม่า เพื่อต่อวีซ่าโดยไม่ต้องกลับใช้เวลาดำเนินการ 1 วัน
พล.ต.ต.ชิษณุพงศ์ กล่าวว่า ทางการไทยได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมขาเข้าและขาออกนอกประเทศให้แก่แรงงานพม่าที่มีบัตรประจำตัวสำหรับแรงงานและเอกสารจากสถานทูตพม่าที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปทำบัตรประชาชนและพาสปอร์ตเพื่อดูแลให้มีค่าใช้จ่ายน้อยในการดำเนินการน้อยที่สุด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ส.ค.) ที่โรงแรมสวิสโซเทล เลอคองคอร์ด กรุงเทพฯ นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.ชิษณุพงศ์ ยุกตะทัศน์ รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (รอง ผบช.สตม.) ร่วมกับ นายเมียว อ่อง อธิบดีกรมแรงงาน กระทรวงแรงงาน การจ้างงานและประกันสังคม สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งสหภาพเมียนมาร์ แถลงข่าวภายหลังร่วมประชุมหารือกันในเรื่อง การตรวจสอบสัญชาติแรงงานพม่าในประเทศไทย แรงงานในกิจการประมงและการดำเนินการกับแรงงานพม่าที่วาระการจ้างงานครบกำหนด 4 ปี รวมถึงแรงงานที่ทำงานบริเวณแนวชายแดนในลักษณะมาเช้าไปเย็นกลับ และตามฤดูกาล
นายสุเมธ กล่าวว่า ได้หารือในเรื่องการแก้ไขบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) ไทย กับพม่า โดยทั้งสองฝ่ายได้ตั้งตัวแทนขึ้นมาเพื่อหารือกันถึงเนื้อหาที่จะต้องปรับปรุง ซึ่งแรงงานสัญชาติพม่าที่มาขึ้นทะเบียนกับศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (วันสตอปเซอร์วิส) และได้รับบัตรประจำตัว (บัตรสมาร์ทการ์ด) ล่าสุด มีจำนวน 191,354 คน และผู้ติดตาม 11,862 คน รวม 203,216 คน ซึ่งแรงงานทั้งหมดต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ จัดทำหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ซึ่งทางพม่าจะส่งแบบฟอร์มให้แรงงานกรอกและนำกลับไปดำเนินการที่ประเทศตนเอง โดยทางการพม่ากำหนดว่าแรงงานต้องมีบัตรประชาชนจึงจะสามารถไปดำเนินการที่สถานทูตพม่า ประจำประเทศไทยได้ และศูนย์พิสูจน์สัญชาติตามแนวชายแดน 3 จุด คือ อ.เมียววดี อ.ท่าขี้เหล็ก อ.เกาะสอง โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 3 - 6 สัปดาห์
ส่วนกลุ่มที่ไม่มีบัตรประชาชนจะมีแบบฟอร์มเฉพาะ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นประชาชนของพม่าจริง โดยจะต้องไปทำบัตรประชาชนที่ภูมิลำเนา และจะมีการตรวจสอบประวัติก่อน จึงจะออกบัตรให้ เพื่อไปทำพาสปอร์ตและกลับมาขอใบอนุญาตทำงาน โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ทั้งนี้ ได้กำหนดระยะเวลา เพื่อประเมินผลการดำเนินการ หากไม่สามารถทำได้ทันตามกำหนดในเดือนตุลาคมจะมีการพิจารณาอีกครั้ง ส่วนเรื่องมาตรา 14 ที่ให้แรงงานต่างด้าวสามารถเดินทางมาทำงานตามฤดูกาล หรือเช้ามาเย็นกลับนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตั้งผู้แทนขึ้นเพื่อหารือร่วมกัน ว่าต้องการปรับปรุงอย่างไรให้เหมาะสม
นายเมียว อ่อง กล่าวว่า การเปิดจุดพิสูจน์สัญชาติของเมียนมาร์ทั้ง 3 แห่งตามจุดผ่านแดนถาวรพม่า - ไทย นั้นจะเปิดดำเนินการเฉพาะช่วงที่แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวเท่านั้น โดยแรงงานที่ขึ้นทะเบียนและมีบัตรประจำตัวแล้วต้องไปยื่นขอเอกสารจากสถานทูตเมียนมาร์ ประจำประเทศไทยเพื่อกลับไปทำพาสปอร์ต ซึ่งหากไม่มีบัตรประชาชนต้องไปแสดงตัวที่ภูมิลำเนา โดยเสียค่าธรรมเนียมไม่ถึง 100 บาท และสามารถดำเนินการได้ภายใน 1 วัน ส่วนการทำพาสปอร์ตนั้นสามารถทำได้ทั่วประเทศและจะดำเนินการให้เป็นกรณีพิเศษใช้เวลาจัดทำ 10 วัน มีค่าใช้จ่าย 25,000 จ๊าด หรือประมาณ 1,600 บาท
นายเมียว อ่อง กล่าวว่า แรงงานพม่าที่ครบกำหนด 4 ปี ต้องออกจากไทย แต่นายจ้างไม่ต้องการหาแรงงานใหม่และลูกจ้างไม่ต้องการกลับไป จึงต้องพูดคุยหาข้อสรุปร่วมกัน โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มมีอายุพาสปอร์ตต่ำกว่า 2 ปี 2. กลุ่มมีอายุพาสปอร์ตมากกว่า 2 ปี โดยเห็นชอบร่วมกันว่ากลุ่ม 2 ต่ออายุได้ที่ศูนย์ 3 จุด อ.เมียววดี อ.ท่าขี้เหล็ก อ.เกาะสอง โดยไม่ต้องออกไป ส่วนกลุ่มที่ 1 แยกเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 2 กลุ่ม คือ 1. พาสปอร์ตชั่วคราวหมดอายุ ไม่มีหลักฐาน ต้องให้นายจ้างต้องยื่นเรื่องที่ กกจ. เพื่อส่งให้สถานทูต เมื่อตอบกลับมานายจ้างต้องพาแรงงานไปดำเนินการตามแนวชายแดนใช้เวลาทำพาสปอร์ตประมาณ 10 วัน 2. มีหลักฐาน บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งกลุ่มนี้ไปยื่นเรื่องที่สถานทูตพม่า เพื่อต่อวีซ่าโดยไม่ต้องกลับใช้เวลาดำเนินการ 1 วัน
พล.ต.ต.ชิษณุพงศ์ กล่าวว่า ทางการไทยได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมขาเข้าและขาออกนอกประเทศให้แก่แรงงานพม่าที่มีบัตรประจำตัวสำหรับแรงงานและเอกสารจากสถานทูตพม่าที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปทำบัตรประชาชนและพาสปอร์ตเพื่อดูแลให้มีค่าใช้จ่ายน้อยในการดำเนินการน้อยที่สุด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่