สธ. ชี้ความอ้วนเป็นแม่เหล็กดึงดูดโรค ระบุคนไทยอ้วนแล้ว 16 ล้านคน เป็นหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า มากสุดที่ กทม. แนะควบคุมน้ำหนัก โดยออกกำลังกายควบคู่ควบคุมอาหาร หลังพบคนไทยออกกำลังกายน้อยลง
วันนี้ (1 ส.ค.) ที่สนามกีฬากระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานจุดคบเพลิงเปิดการแข่งขันกีฬาสาธารณสุขสามัคคี ครั้งที่ 35 ประจำปี 2557 จัดระหว่างวันที่ 28 ก.ค. - 1 ส.ค. ว่า งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศยืนยันตรงกันว่า ความอ้วนเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเข้ามาหลายโรคพร้อมกัน โรคยอดฮิตได้แก่ ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพาตอัมพฤกษ์ โรคหัวใจ และยังเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็ง โดยกองทุนวิจัยมะเร็งโลก รายงานว่า สาเหตุของโรคมะเร็งร้อยละ 24 เกิดมาจากความอ้วน เช่น มะเร็งหลอดอาหาร ลำไส้ เต้านม มดลูก และไต และยังมีความเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากที่รุนแรง นอกจากนี้ ความอ้วนยังส่งผลระยะยาวต่อข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว สมรรถนะร่างกายจะไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุ และจะเป็นผู้สูงอายุที่ขาโก่งเมื่ออายุมากขึ้น เดินโยกเยกคล้ายนกเพนกวิน เข่ารับน้ำหนักตัวไม่ไหว เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ในปี 2558 ทั่วโลก จะมีคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถึง 2,300 ล้านคน ส่งผลให้แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังต่างๆ กว่า 2.8 ล้านคน รุนแรงกว่าโรคติดต่อหลายเท่าตัว สำหรับประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดปี 2556 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า มีคนอ้วนถึง 16 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26 ของคนไทยทั้งประเทศ หรือพบได้ 1 คนในทุก 4 คน โดยผู้หญิงอ้วนมีจำนวน 11.3 ล้านคน มากกว่าผู้ชาย 2 เท่าตัว โดยจังหวัดที่มีคนอ้วนลงพุงมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 45 รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ 38 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 29 ภาคเหนือร้อยละ 27 และภาคใต้ร้อยละ 26
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ สธ. ได้เร่งดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยสนับสนุนให้ประชาชนควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการกินอาหารที่มีไขมันต่ำ เส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ กากใยจะช่วยดูดซับไขมันและขับถ่ายออกทางอุจจาระ ไม่สะสมในร่างกาย ควบคู่กับการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน เป็นต้น ทั้งนี้ ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2554 พบว่า คนไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเพียง 15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26 ของประชากรวัยนี้ที่มีประมาณ 58 ล้านคน และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ ได้จัดอบรมพัฒนาทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพร่างกาย แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการออกกำลังกายและนำไปถ่ายทอดแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้หันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ส.ค.) ที่สนามกีฬากระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานจุดคบเพลิงเปิดการแข่งขันกีฬาสาธารณสุขสามัคคี ครั้งที่ 35 ประจำปี 2557 จัดระหว่างวันที่ 28 ก.ค. - 1 ส.ค. ว่า งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศยืนยันตรงกันว่า ความอ้วนเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเข้ามาหลายโรคพร้อมกัน โรคยอดฮิตได้แก่ ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพาตอัมพฤกษ์ โรคหัวใจ และยังเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็ง โดยกองทุนวิจัยมะเร็งโลก รายงานว่า สาเหตุของโรคมะเร็งร้อยละ 24 เกิดมาจากความอ้วน เช่น มะเร็งหลอดอาหาร ลำไส้ เต้านม มดลูก และไต และยังมีความเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากที่รุนแรง นอกจากนี้ ความอ้วนยังส่งผลระยะยาวต่อข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว สมรรถนะร่างกายจะไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุ และจะเป็นผู้สูงอายุที่ขาโก่งเมื่ออายุมากขึ้น เดินโยกเยกคล้ายนกเพนกวิน เข่ารับน้ำหนักตัวไม่ไหว เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ในปี 2558 ทั่วโลก จะมีคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถึง 2,300 ล้านคน ส่งผลให้แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังต่างๆ กว่า 2.8 ล้านคน รุนแรงกว่าโรคติดต่อหลายเท่าตัว สำหรับประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดปี 2556 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า มีคนอ้วนถึง 16 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26 ของคนไทยทั้งประเทศ หรือพบได้ 1 คนในทุก 4 คน โดยผู้หญิงอ้วนมีจำนวน 11.3 ล้านคน มากกว่าผู้ชาย 2 เท่าตัว โดยจังหวัดที่มีคนอ้วนลงพุงมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 45 รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ 38 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 29 ภาคเหนือร้อยละ 27 และภาคใต้ร้อยละ 26
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ สธ. ได้เร่งดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยสนับสนุนให้ประชาชนควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการกินอาหารที่มีไขมันต่ำ เส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ กากใยจะช่วยดูดซับไขมันและขับถ่ายออกทางอุจจาระ ไม่สะสมในร่างกาย ควบคู่กับการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน เป็นต้น ทั้งนี้ ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2554 พบว่า คนไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเพียง 15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26 ของประชากรวัยนี้ที่มีประมาณ 58 ล้านคน และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ ได้จัดอบรมพัฒนาทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพร่างกาย แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการออกกำลังกายและนำไปถ่ายทอดแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้หันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่