ชมรมสหวิชาชีพฯชี้จัดสรรตำแหน่งบรรจุข้าราชการ สธ. ไม่เป็นธรรม ระบุกระจายกำลังไป รพ.สต. น้อย ทั้งที่เป็นด่านหน้าที่ สธ. พยายามทำงานเชิงรุก ชี้หลักเกณฑ์เงื่อนไข FTE ไม่เหมาะ จ่อร้องศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว
นายวัฒนะชัย นามตะ ประธานชมรมสหวิชาชีพกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบอัตราการบรรจุข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2557 รวม 9,074 อัตรา แบ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว 7,547 อัตรา และนักเรียนทุนที่สำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2557 จำนวน 1,527 อัตรา โดยจะจัดสรรตามวิชาชีพและกระจายตามพื้นที่ภายใน 1 เดือน ว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ คสช. เห็นชอบอัตรากำลังดังกล่าว แต่ปัญหาคือการจัดสรรมีความไม่เป็นธรรมในสายงาน อย่างลูกจ้างชั่วคราวที่จะบรรจุเป็นข้าราชการ 7,547 ตำแหน่ง จัดสรรให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) จำนวน 2,289 อัตรา โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จำนวน 3,126 อัตรา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 2,036 อัตรา และอื่นๆ จำนวน 87 อัตรา จะเห็นว่าอัตรากำลังที่ไปยัง รพ.สต. น้อย ทั้งที่ สธ. พยายามเน้นทำงานเชิงรุก ส่งเสริมป้องกันโรค ซึ่ง รพ.สต. เป็นโรงพยาบาลอันดันต้นๆ ที่จะเข้าถึงประชาชน แต่กลับให้ความสำคัญน้อย
“เท่าที่ทราบวิชาชีพพยาบาลใน รพ.สต. แทบไม่มีการจัดสรร เพราะจากหลักเกณฑ์เงื่อนไขของ สธ. ที่เรียกว่า FTE ซึ่งตัวชี้วัดบางอย่างใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะการพิจารณาจากค่าปริมาณงาน เช่น พยาบาลจะกระจายลงพื้นที่ไหนจะพิจารณาจากค่างาน คือ ดูแลผู้ป่วยแห่งละ 300 คน ซึ่งค่านี้ไม่มีความเป็นธรรม เพราะ รพ.สต. ด้วยภาระงานไม่ได้ดูแลคนขนาดนี้ และเน้นทำงานลงพื้นที่เป็นหลัก จึงอยากให้มีการพิจารณารอบด้าน ซึ่งในวันที่ 25 ก.ค. สธ. จะมีการประชุมเรื่องกระจายตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งหากไม่ได้รับความเป็นธรรม เครือข่ายจะมีการหารือว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไร มีแนวโน้มว่าอาจต้องร้องศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ใช้เกณฑ์จัดสรรตาม สธ. จนกว่าทุกอย่างจะเป็นธรรม” นายวัฒนะชัย กล่าวและว่า จริงๆ ควรใช้เงื่อนไขเดิม คือ พิจารณาจากปีที่จบการศึกษา ไล่กันไปตามอายุ หากเกรงว่าจะไม่มีคุณภาพก็จัดให้มีการสอบเพื่อพิจารณาว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาในเรื่องการจัดสรรตำแหน่งในปี 2556 ก็ทำเช่นนี้ ซึ่งไม่มีปัญหา แต่ปีนี้กลับเปลี่ยนแปลง จึงเกิดปัญหาขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายวัฒนะชัย นามตะ ประธานชมรมสหวิชาชีพกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบอัตราการบรรจุข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2557 รวม 9,074 อัตรา แบ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว 7,547 อัตรา และนักเรียนทุนที่สำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2557 จำนวน 1,527 อัตรา โดยจะจัดสรรตามวิชาชีพและกระจายตามพื้นที่ภายใน 1 เดือน ว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ คสช. เห็นชอบอัตรากำลังดังกล่าว แต่ปัญหาคือการจัดสรรมีความไม่เป็นธรรมในสายงาน อย่างลูกจ้างชั่วคราวที่จะบรรจุเป็นข้าราชการ 7,547 ตำแหน่ง จัดสรรให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) จำนวน 2,289 อัตรา โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จำนวน 3,126 อัตรา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 2,036 อัตรา และอื่นๆ จำนวน 87 อัตรา จะเห็นว่าอัตรากำลังที่ไปยัง รพ.สต. น้อย ทั้งที่ สธ. พยายามเน้นทำงานเชิงรุก ส่งเสริมป้องกันโรค ซึ่ง รพ.สต. เป็นโรงพยาบาลอันดันต้นๆ ที่จะเข้าถึงประชาชน แต่กลับให้ความสำคัญน้อย
“เท่าที่ทราบวิชาชีพพยาบาลใน รพ.สต. แทบไม่มีการจัดสรร เพราะจากหลักเกณฑ์เงื่อนไขของ สธ. ที่เรียกว่า FTE ซึ่งตัวชี้วัดบางอย่างใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะการพิจารณาจากค่าปริมาณงาน เช่น พยาบาลจะกระจายลงพื้นที่ไหนจะพิจารณาจากค่างาน คือ ดูแลผู้ป่วยแห่งละ 300 คน ซึ่งค่านี้ไม่มีความเป็นธรรม เพราะ รพ.สต. ด้วยภาระงานไม่ได้ดูแลคนขนาดนี้ และเน้นทำงานลงพื้นที่เป็นหลัก จึงอยากให้มีการพิจารณารอบด้าน ซึ่งในวันที่ 25 ก.ค. สธ. จะมีการประชุมเรื่องกระจายตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งหากไม่ได้รับความเป็นธรรม เครือข่ายจะมีการหารือว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไร มีแนวโน้มว่าอาจต้องร้องศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ใช้เกณฑ์จัดสรรตาม สธ. จนกว่าทุกอย่างจะเป็นธรรม” นายวัฒนะชัย กล่าวและว่า จริงๆ ควรใช้เงื่อนไขเดิม คือ พิจารณาจากปีที่จบการศึกษา ไล่กันไปตามอายุ หากเกรงว่าจะไม่มีคุณภาพก็จัดให้มีการสอบเพื่อพิจารณาว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาในเรื่องการจัดสรรตำแหน่งในปี 2556 ก็ทำเช่นนี้ ซึ่งไม่มีปัญหา แต่ปีนี้กลับเปลี่ยนแปลง จึงเกิดปัญหาขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่