สธ.ฟุ้งภาคเหนือจัดบริการเลิศ ช่วยผ่าตัดผู้ป่วยได้รวดเร็วในพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน ไม่ต้องส่งต่อโรงพยาบาลใหญ่ ระบุดึงแอปพลิเคชัน “ไลน์” ช่วยขอคำปรึกษา ลดปัญหาการเดินทางข้ามภูเขาและค่าใช้จ่ายประชาชน
วันนี้ (20 ก.ค.) ที่ จ.เชียงใหม่ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ดอยอินทนนท์ รพ.จอมทอง และ รพ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ว่าจากการตรวจเยี่ยมการจัดบริการสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งรับผิดชอบประชากร 1.6 ล้านกว่าคน มีโรงพยาบาลเครือข่ายบริการ 24 แห่ง พบว่ามีความก้าวหน้ามาก มีคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการของจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีที่สุด ใกล้บ้าน มาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด โดยมีผลงานพัฒนาที่โดดเด่น เช่น สาขาอุบัติเหตุ ได้จัดทำช่องทางด่วนส่งผู้บาดเจ็บที่ศีรษะจากโรงพยาบาลชุมชน เพื่อรักษาที่ รพ.นครพิงค์ ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว ในปี 2556 ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดสมอง 859 ราย เพิ่มจากปี 2554 ที่ผ่าตัดได้ 124 ราย และในปี 2555 ผ่าตัดได้ 691 ราย
นพ.วชิระกล่าวอีกว่า สำหรับสาขาศัลยกรรมกระดูก มีการพัฒนาทั้งศักยภาพบุคลากร ระบบส่งต่อและเครือข่าย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพเดียวกัน ประกอบด้วย รพ.นครพิงค์ ลำปาง ลำพูน ศรีสังวาลย์ ได้ใช้แอปพลิเคชันไลน์ เพื่อให้คำปรึกษาการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกแก่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง เดินทางลำบาก บางครั้งผู้ป่วยไปรับบริการช่วงกลางคืน ไม่สามารถส่งต่อได้ทันที เพื่อดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นให้ปลอดภัยก่อน โดยมีแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษาตลอดเวลา ปัจจุบันมีสมาชิก 131 คน เริ่มดำเนินการเมื่อ มี.ค. 2556 ผลการดำเนินรอบ 1 ปี มีผู้ป่วยโรคทางกระดูกที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนภายใต้การปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านทางไลน์รวม 186 ราย ในจำนวนนี้รักษาที่โรงพยาบาลชุมชนไม่ต้องส่งรักษาต่อ 105 ราย คิดเป็นร้อยละ 56 ผู้ป่วยได้รับการรักษารวดเร็วและมาตรฐานเดียวกับรักษากับแพทย์เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลใหญ่ ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจมาก เนื่องจากใกล้บ้าน ลดค่าใช้จ่ายเดินทางไปรักษาที่จังหวัด
“สำหรับสาขาศัลยกรรม ได้พัฒนาโรงพยาบาลชุมชน 6 แห่ง ให้สามารถผ่าตัดไส้ติ่งได้ ลดความแออัดใน รพ.นครพิงค์ลงได้เกือบร้อยละ 50 จากเดิมผ่าตัดปีละ 2,000 กว่าราย ลดลงเหลือ 1,000 กว่ารายในปี 2556 สาขาทารกแรกเกิด ได้เพิ่มเตียงไอซียูเด็กไปยังโรงพยาบาลชุมชน 7 แห่งในจังหวัด จากเดิมมี 30 เตียง เพิ่มได้เป็น 40 เตียงในปี 2557 เพื่อให้การดูแลรักษาเด็กทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต เช่นคลอดก่อนกำหนด ได้ปีละ 500 กว่าราย ลดการเสียชีวิตและไม่ต้องส่งไปรักษาที่จังหวัดข้างเคียง” รองปลัด สธ.กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 ก.ค.) ที่ จ.เชียงใหม่ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ดอยอินทนนท์ รพ.จอมทอง และ รพ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ว่าจากการตรวจเยี่ยมการจัดบริการสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งรับผิดชอบประชากร 1.6 ล้านกว่าคน มีโรงพยาบาลเครือข่ายบริการ 24 แห่ง พบว่ามีความก้าวหน้ามาก มีคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการของจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีที่สุด ใกล้บ้าน มาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด โดยมีผลงานพัฒนาที่โดดเด่น เช่น สาขาอุบัติเหตุ ได้จัดทำช่องทางด่วนส่งผู้บาดเจ็บที่ศีรษะจากโรงพยาบาลชุมชน เพื่อรักษาที่ รพ.นครพิงค์ ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว ในปี 2556 ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดสมอง 859 ราย เพิ่มจากปี 2554 ที่ผ่าตัดได้ 124 ราย และในปี 2555 ผ่าตัดได้ 691 ราย
นพ.วชิระกล่าวอีกว่า สำหรับสาขาศัลยกรรมกระดูก มีการพัฒนาทั้งศักยภาพบุคลากร ระบบส่งต่อและเครือข่าย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพเดียวกัน ประกอบด้วย รพ.นครพิงค์ ลำปาง ลำพูน ศรีสังวาลย์ ได้ใช้แอปพลิเคชันไลน์ เพื่อให้คำปรึกษาการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกแก่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง เดินทางลำบาก บางครั้งผู้ป่วยไปรับบริการช่วงกลางคืน ไม่สามารถส่งต่อได้ทันที เพื่อดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นให้ปลอดภัยก่อน โดยมีแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษาตลอดเวลา ปัจจุบันมีสมาชิก 131 คน เริ่มดำเนินการเมื่อ มี.ค. 2556 ผลการดำเนินรอบ 1 ปี มีผู้ป่วยโรคทางกระดูกที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนภายใต้การปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านทางไลน์รวม 186 ราย ในจำนวนนี้รักษาที่โรงพยาบาลชุมชนไม่ต้องส่งรักษาต่อ 105 ราย คิดเป็นร้อยละ 56 ผู้ป่วยได้รับการรักษารวดเร็วและมาตรฐานเดียวกับรักษากับแพทย์เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลใหญ่ ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจมาก เนื่องจากใกล้บ้าน ลดค่าใช้จ่ายเดินทางไปรักษาที่จังหวัด
“สำหรับสาขาศัลยกรรม ได้พัฒนาโรงพยาบาลชุมชน 6 แห่ง ให้สามารถผ่าตัดไส้ติ่งได้ ลดความแออัดใน รพ.นครพิงค์ลงได้เกือบร้อยละ 50 จากเดิมผ่าตัดปีละ 2,000 กว่าราย ลดลงเหลือ 1,000 กว่ารายในปี 2556 สาขาทารกแรกเกิด ได้เพิ่มเตียงไอซียูเด็กไปยังโรงพยาบาลชุมชน 7 แห่งในจังหวัด จากเดิมมี 30 เตียง เพิ่มได้เป็น 40 เตียงในปี 2557 เพื่อให้การดูแลรักษาเด็กทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต เช่นคลอดก่อนกำหนด ได้ปีละ 500 กว่าราย ลดการเสียชีวิตและไม่ต้องส่งไปรักษาที่จังหวัดข้างเคียง” รองปลัด สธ.กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่