พบสาวไทยวัยเจริญพันธุ์มีปัญหาเลือดจางถึง 4 ล้านคน หากตั้งครรภ์ส่งผลลูกเติบโตช้า ป่วยง่าย แถมโง่ เมื่อคลอดแล้วตกเลือดเสี่ยงตายสูงกว่าคนตั้งครรภ์ทั่วไป ส่วนเด็กชนบทพบภาวะเลือดจางมากกว่าเด็กในเมือง เร่งเดินหน้าให้กินยาเสริมธาตุเหล็กในทุกกลุ่มอายุ แนะตรวจครรภ์โดยไว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การอนามยโลกประกาศให้วันที่ 14 มิ.ย.ของทุกปี เป็นวันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day) ปีนี้มีคำขวัญว่า “บริจาคโลหิต พลิกวิกฤต ช่วยชีวิตแม่และลูก” เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิตอย่างเพียงพอและปลอดภัย ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะหญิงคลอดบุตร เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง หากตกเลือดจากการคลอดจะมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า โรคโลหิตจางเป็นภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ น้อย ส่งผลให้เจ็บป่วยง่าย เพราะภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนปกติ และยังมีผลถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจปี 2551-2552 พบหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-49 ปี มี 17 ล้านกว่าคน โดยร้อยละ 25 มีภาวะโลหิตจาง หรือประมาณ 4 ล้านกว่าคน ส่วนผลสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน-12 ปี เมื่อปี 2553-2555 พบว่า เด็กปฐมวัยของไทยอายุ 6 เดือน - 3 ปี ในเขตชนบทมีภาวะโลหิตจางร้อยละ 42 ส่วนในเขตเมืองพบร้อยละ 26
“สาเหตุของโรคโลหิตจางส่วนใหญ่กว่าร้อยละ50 เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง สธ. แก้ปัญหาโดยเน้นให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง เช่น จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ให้กินวันละ 1 เม็ดจนถึงหลังคลอดฟรี ขณะนี้ได้บรรจุเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้วมีบริการในสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ให้เด็กปฐมวัยอายุ 6 เดือนถึง 5 ปีกินยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และวัยเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป ให้กินยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ให้มีการเสริมธาตุเหล็กในซองเครื่องปรุงบะหมี่สำเร็จรูป และส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะเสี่ยงเกิดการคลอดก่อนกำหนด แท้งบุตร สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป และหากตกเลือดจากการคลอดอาจเสียชีวิตได้ ส่วนในเด็กหากขาดธาตุเหล็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 2 ขวบซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์สมองเจริญเติบโตมากที่สุด จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการของร่างกาย และสติปัญญา ทารกจะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ภูมิต้านทานโรคต่ำ ป่วยบ่อย เติบโตช้า เซื่องซึม เฉื่อยชา อ่อนเพลียง่าย เรียนหนังสือไม่ทันเพื่อน จึงขอแนะนำให้หญิงที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ขอให้รีบไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อลูกในครรภ์ เนื่องจากจะได้รับการตรวจว่ามีปัญหาโลหิตจางหรือไม่ สามารถแก้ไขและป้องกันไม่ให้มีผลกระทบถึงลูกได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งบุตรซึ่งจะสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ปกติ รวมทั้งยังเสี่ยงตกเลือดหลังคลอดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ทั้งนี้ ในการป้องกันโรคโลหิตจาง ขอแนะนำให้ประชาชนรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงที่มีในธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ เลือด เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว และธัญพืช และควรรับประทานผักและผลไม้สดที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งจะช่วยให้ธาตุเหล็กถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำชากาแฟพร้อมมื้ออาหาร และไม่ควรดื่มนมพร้อมกับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากนมจะขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก ทำให้ดูดซึมได้น้อยลง สำหรับโรงเรียนขอแนะนำครูให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กในตอนเช้า และให้รับประทานนมในตอนบ่าย เพื่อไม่ให้แคลเซียมในนมขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การอนามยโลกประกาศให้วันที่ 14 มิ.ย.ของทุกปี เป็นวันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day) ปีนี้มีคำขวัญว่า “บริจาคโลหิต พลิกวิกฤต ช่วยชีวิตแม่และลูก” เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิตอย่างเพียงพอและปลอดภัย ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะหญิงคลอดบุตร เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง หากตกเลือดจากการคลอดจะมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า โรคโลหิตจางเป็นภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ น้อย ส่งผลให้เจ็บป่วยง่าย เพราะภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนปกติ และยังมีผลถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจปี 2551-2552 พบหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-49 ปี มี 17 ล้านกว่าคน โดยร้อยละ 25 มีภาวะโลหิตจาง หรือประมาณ 4 ล้านกว่าคน ส่วนผลสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน-12 ปี เมื่อปี 2553-2555 พบว่า เด็กปฐมวัยของไทยอายุ 6 เดือน - 3 ปี ในเขตชนบทมีภาวะโลหิตจางร้อยละ 42 ส่วนในเขตเมืองพบร้อยละ 26
“สาเหตุของโรคโลหิตจางส่วนใหญ่กว่าร้อยละ50 เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง สธ. แก้ปัญหาโดยเน้นให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง เช่น จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ให้กินวันละ 1 เม็ดจนถึงหลังคลอดฟรี ขณะนี้ได้บรรจุเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้วมีบริการในสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ให้เด็กปฐมวัยอายุ 6 เดือนถึง 5 ปีกินยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และวัยเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป ให้กินยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ให้มีการเสริมธาตุเหล็กในซองเครื่องปรุงบะหมี่สำเร็จรูป และส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะเสี่ยงเกิดการคลอดก่อนกำหนด แท้งบุตร สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป และหากตกเลือดจากการคลอดอาจเสียชีวิตได้ ส่วนในเด็กหากขาดธาตุเหล็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 2 ขวบซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์สมองเจริญเติบโตมากที่สุด จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการของร่างกาย และสติปัญญา ทารกจะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ภูมิต้านทานโรคต่ำ ป่วยบ่อย เติบโตช้า เซื่องซึม เฉื่อยชา อ่อนเพลียง่าย เรียนหนังสือไม่ทันเพื่อน จึงขอแนะนำให้หญิงที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ขอให้รีบไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อลูกในครรภ์ เนื่องจากจะได้รับการตรวจว่ามีปัญหาโลหิตจางหรือไม่ สามารถแก้ไขและป้องกันไม่ให้มีผลกระทบถึงลูกได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งบุตรซึ่งจะสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ปกติ รวมทั้งยังเสี่ยงตกเลือดหลังคลอดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ทั้งนี้ ในการป้องกันโรคโลหิตจาง ขอแนะนำให้ประชาชนรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงที่มีในธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ เลือด เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว และธัญพืช และควรรับประทานผักและผลไม้สดที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งจะช่วยให้ธาตุเหล็กถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำชากาแฟพร้อมมื้ออาหาร และไม่ควรดื่มนมพร้อมกับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากนมจะขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก ทำให้ดูดซึมได้น้อยลง สำหรับโรงเรียนขอแนะนำครูให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กในตอนเช้า และให้รับประทานนมในตอนบ่าย เพื่อไม่ให้แคลเซียมในนมขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่